ยินดีต้อนรับสู่ www.thaiaquatic.com จำหน่ายตู้ปลา ทั้งปลีกและส่ง

สวัสดีทุกๆท่าน ที่แวะเข้ามาเยี่ยมชม เว็บไซต์ของเรานะครับ ก่อนอื่นต้องขอออกตัวเลยว่า เราเป็นผู้ผลิตตู้ปลาเจ้าแรก ในประเทศไทย ที่ได้มีการผลิตตู้ปลารูปทรงอื่นๆ นอกจากทรงสี่เหลี่ยมธรรมดา เช่น ตู้ปลาทรง 5 เหลี่ยม ตู้ปลาทรง 6 เหลี่ยม หรือกระทั่ง ตู้ปลาเสริมฮวงจุ้ย ตู้ปลา 8 เหลี่ยม ซึ่งแนวคิดในการใช้ตู้ปลาเสริมฮวงจุ้ยนั้น สามารถติดตามได้ใน link ของเรื่อง ตู้ปลากับฮวงจุ้ยครับ

ตู้ปลาทรง 8 เปลี่ยม

ตู้ปลาทรง 8 เหลี่ยม

เรารับออกแบบ สั่งทำ ตู้ปลาทุกชนิด และยังบริการติดตั้งและจัดส่ง รวมถึงบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาสวยงาม ประเภทต่างๆ การเลือกซื้อตู้ปลา รวมจนถึงการติดตั้งระบบหมุนเวียนน้ำภายในตู้ เพื่อให้ปลาสวยงาม สมบูรณ์และแข็งแรง

จากประสบการณ์กว่า 30 ปี ทำให้คุณมั่นใจได้เลยว่า เราจะสามารถดูแลและให้คำปรึกษาในเรื่อง ตู้ปลา หรือตลอดจนการเลี้ยงปลา่สวยงามได้เป็นอย่างดี ซึ่งใน เว็บไซต์ของเรา ได้รวบรวมบทความส่วนหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ และรักในปลาสวยงามไม่มากก็น้อย

ติืดต่อ สั่งซื้อสินค้าหรือสอบถามรายละเอียดต่างๆ ที่เบอร์ 084-4511845  ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์ (ตานิด)

การตลาดปลาสวยงาม

การตลาดปลาสวยงาม
ทรง ศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์

การตลาด  หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ทั้งลักษณะและวิธีการ ที่มีผลทำให้ผลผลิตเคลื่อนย้ายจากมือเกษตรกรไปยังผู้บริโภค
ลัดดา  พิศาลบุตร  (2547 :426)  ได้กล่าวถึง การเคลื่อนย้ายหรือเคลื่อนที่ของสินค้าจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง  หรือจากตลาดหนึ่งไปยังอีกตลาดหนึ่ง ทางด้านการเกษตร เรียกว่า วิธีการตลาด (Marketting channel)    และเนื่องจากสินค้าเกษตรส่วนใหญ่จะผลิตโดยเกษตรกรรายย่อย  ซึ่งอยู่ห่างไกลจากแหล่งผู้บริโภคหรือพูดอีกนัยหนึ่ง  การผลิตและการบริโภคของสินค้าเกษตร โดยทั่วไปจะเกิดขึ้น  ต่างสถานที่  ต่างเวลา และต่างบุคคล  ฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเก็บรวบรวมสินค้าเกษตร ณ แหล่งหรือระดับการผลิตแล้วส่งไปตามวิถีการตลาด ซึ่งสินค้านั้นอาจจะมีการแปรรูปหรือไม่นั้นก็ย่อมขึ้นอยู่กับ ลักษณะทางกายภาพของสินค้าเกษตรนั้น
ในวิถีการตลาด ของปลาสวยงามนั้น จากเกษตรกรผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่จะถูกนำเข้าสู่ตลาดในระดับ ต่างๆ เพื่อทำการซื้อขายระหว่างเกษตรกรและคนกลาง  คนกลางในตลาดปลาสวยงามในที่นี้นั้น  หมายถึง พ่อค้าขายส่ง  ผู้รวบรวมปลา (รังปลา)  และพ่อค้าขายปลีก  ซึ่ง บุคคลเหล่านี้ จะอยู่ระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค

1.  ตลาดปลาสวยงาม ในประเทศ
ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์  (2549 : http://home.kku.ac.th/pracha/Introduction.htm) ได้เขียนไว้ว่าปลาสวยงาม  มีการนิยมเลี้ยงกันอย่างมาก  ในปัจจุบัน เราสามารถพบเห็นร้านจำหน่ายปลาสวยงาม ทั้งที่อยู่อยู่ในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด  ตามความหนาแน่นและความเจริญ ของประชากรในแต่ละพื้นที่จะมีเพียงจังหวัดละ 1 ร้าน โดยอยู่ในอำเภอเมืองของแต่ละจังหวัด ยกเว้นจังหวัดใหญ่ๆที่มีประชากรมากอาจมี 3 – 10 ร้าน เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดชลบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดอุดรธานี โดยที่ร้านขายปลาสวยงามเหล่านี้มักจะไม่ได้ดำเนินการเพาะเลี้ยงลูกปลาขึ้น เอง แต่ดำเนินกิจการคล้ายกับร้านค้ารายย่อย คือรับซื้อสินค้าจากร้านขายส่ง ผู้ผลิต หรือเกษตรกรมาขายต่ออีกทีหนึ่ง
ใน อดีต ร้านขายส่งปลาสวยงามนั้นมีศูนย์กลางอยู่ที่  ตลาดซันเดย์พลาซ่าและตลาดนัดสวนจตุจักร  ปัจจุบันตลาดซันเดย์พลาซ่าถูกรื้อถอนเพื่อสร้างเป็นศูนย์การค้าแห่งใหม่ และตลาดขายปลาในตลาดนัดจตุจักรร้านขายปลาก็เหลือน้อยแทบจะไม่มีให้เห็น อย่างไรก็ตามได้มีตลาดขายส่งปลาสวยงามเกิดขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น ตลาดจตุจักร 2 มีนบุรี ตลาดสนามหลวง 2 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี โดยเฉพาะในขณะนี้บริเวณใกล้เคียงสวนจตุจักร หรือตรงข้ามสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ ด้านพิพิธภัณฑ์เด็ก  ก็มีการแยกตัวของตลาดปลาสวยงามเกิดขึ้นอีกหลายตลาด ทั้งขายส่งและขายปลีกโดยเฉพาะ ในเช้าของ  ทุกวันพฤหัสจนถึงเช้าวันศุกร์  ในบริเวณตลาดศรีสมรัตน์ (ตลาด ที่  การรถไฟแห่งประเทศไทย  จัดหาให้ผู้ค้าบางส่วนที่ถูกรื้อถอนจากตลาดซันเดย์)  ตลาดจตุจักรพลาซ่า ด้านติดกับตลาดศรีสมรัตน์  และบริเวณ ลานด้านข้าง ตลาดเจ.เจ.มอลล์    บริเวณเหล่านี้มีร้านค้าปลาสวยงามเปิดขายประจำอยู่หลายร้าน และในวันดังกล่าวจะมี ผู้ค้าหรือเกษตรกรที่เพาะเลี้ยงนำปลาสวยงามชนิดต่างๆ  จากแหล่งต่างๆเข้ามาวางขายในลักษณะ การขายส่ง เป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ค้าปลีกปลาสวยงามที่เปิดร้านอยู่ในแหล่งต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัดจะเดินทางมาหาซื้อปลาจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล  (2546 : http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=111)  ได้กล่าวถึงตลาดขายส่งไว้ดังนี้  เกษตรกรจะนำปลามาจากฟาร์มโดยตรง หรืออาจจะมีผู้รวบรวมมาจากเกษตรกรนำปลามาขาย ปลาที่นำมาขายเป็นปลาที่มีอายุ 2-3 เดือนหรือขนาด 2 นิ้วขึ้นไป ผู้ขายปลีกปลาสวยงามจากทั่วประเทศมาซื้อปลาไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่งรวมถึงบุคคล ทั่วไปที่นิยมเลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรก นอกจากนั้นมีชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง ประมาณการขายส่งปลาสวยงามประมาณ 150,000-200,000 ตัวต่อสัปดาห์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี

2.   ตลาดปลาสวยงาม  ต่างประเทศ
ธุรกิจการส่งออกปลาสวยงามต่างกับการส่งออกสินค้าอื่น (อมรรัตน์  เสริมวัฒนากุล  2544  อ้างถึงใน ยุพินท์ วิวัฒนชัยเศรษฐ์  2548 : http://www.nicaonline.com/articles/ site/ view_article.asp?idarticle=136) กล่าวว่า ไม่มีข้อมูลการส่งออกปลาแต่ละชนิดไม่มี ข้อมูลไปอยู่กรมศุลกากร ปลานับเป็นน้ำหนักไม่นับเป็นตัว ยอดซื้อขายปลาทั่วโลก 8,000 ล้านบาท ไม่รวมอุปกรณ์ ถ้ารวม 2,600 ล้านดอลล่าร์ ธุรกิจนี้ยังมีช่องว่างขยายได้  (90-95 เปอร์เซ็นต์ เป็นปลาน้ำจืด เช่น ปลาทอง ปลาหางนกยูง ปลากัด ฯลฯ มีปลาทะเลเพียง 5 เปอร์เซ็นต์)  ซึ่งประเทศไทยกำหนดไม่ให้ส่งออก และนำเข้าสำหรับประเทศฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สามารถส่งออกปลาทะเลสวยงามได้ ในส่วนที่มีการซื้อขายคือ แถบลุ่มแม่น้ำอะเมซอนโคลัมเบีย ฟลอริดาและสิงคโปร์มีจำนวน 120 ราย
จากการสำรวจผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามในประเทศไทย เมื่อเดือนตุลาคม 2543 มี 1,500 ราย ผลผลิตปลาสวยงามกว่า 20 ชนิดส่งไปแถบอเมริกา เช่น ปลาหางนกยูง นำเข้าจากประเทศไทย 400,000 ตัว กลุ่มประเทศที่ผลิตปลาหางนกยูง ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย ศรีลังกา ปลาที่ส่งออกต้องมีคุณภาพดี และราคาไม่สูง เพราะต้องแข่งขันกับประเทศคู่ค้าและความเสียหายปลายทาง
เกี่ยวกับตลาดส่งอออกของไทย  (ไมตรี ดวงสวัสดิ์  2544  อ้างถึงใน ยุพินท์ วิวัฒนชัยเศรษฐ์  2548 : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=136 ) ได้กล่าวไว้ ดังนี้   “ตลาดยังมีลู่ทางทำอย่างไรจะเจาะตลาดได้ก็คือการผลิตให้ได้ตรงตามความต้อง การของตลาด ทั้งปริมาณ คุณภาพ สุขอนามัย ก็จะทำให้การส่งออกมั่นคงและมีความก้าวหน้า เกษตรกรไทยมีความสามารถด้านการเพาะเลี้ยง แต่ยังขาดประสบการณ์ ด้านการค้าขาย ซึ่งทางรัฐบาลและกรมประมงพยายามผลักดันให้ธุรกิจปลาสวยงามก้าวไปสู่ตลาดโลก ได้ ขอให้มีการรวมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ทั้งยังสามารถสร้างพลังการผลิต การประกันคุณภาพความร่วมมือและการสนับสนุนจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นผู้นำส่ง ออกปลาสวยงามในภูมิภาคเอเชียต่อไป”

ตลาดปลาสวยงามในต่างประเทศ (วันเพ็ญ มีนกาญจน์   2546 อ้างถึงใน  ยุพินท์ วิวัฒนชัยเศรษฐ์  2547 : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=117) ได้กล่าวถึงไว้ดังนี้  ผลการสำรวจการส่งออกปลาสวยงามทั่วโลกขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชา ชาติ ปี 2541 มีมูลค่า 1,836 ล้านบาท  มูลค่าการส่งออกของไทยจากกรมศุลกากร 200 – 300 ล้านบาท ซึ่งความจริงประเทศไทยส่งออกปลาสวยงามมากกว่าพันล้านบาทนอกจากนี้มีข้อมูล INFOFISH ปี พ.ศ. 2545  การส่งออกปลาสวยงามทั่วโลกมีมูลค่า 37,539 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้ความจริงมากกว่าประเทศที่นำเข้าปลาสวยงามจากไทย ได้แก่ อเมริกา สิงคโปร์  ฮ่องกง ซึ่งไม่ต้องใช้ใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ แต่ประเทศในสหภาพยุโรป ต้องใช้ ใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ปี 2545 กรมประมงได้ออกใบอนุญาตประมาณ 17,000 ฉบับ ปลาที่ส่ง ออก มากโดยมาขอใบรับรองสุขภาพปี 2545 ตามลำดับดังนี้ (ข้อมูลจากสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ)
อันดับ 1  ปลาปอมปาดัวร์ คนไทยผลิตได้คุณภาพดีสามารถสร้างชื่อเสียง
อันดับ 2  ปลากัด (สำหรับปี 2543 – 2544 ปลากัดส่งออกมากเป็นอันดับ 1)
อันดับ 3  ปลาทอง เกษตรกรไทยผลิตได้คุณภาพซึ่งจะมีผู้ซื้อเดินทางไปที่ฟาร์มฯ จังหวัดราชบุรี โดยมีจีนเป็นคู่แข่ง ส่วนญี่ปุ่นเป็นผู้ผลิตที่มีคุณภาพ
อันดับ 4  ปลาคาร์พ ปัจจุบันมีการส่งออกมากเนื่องจากอินโดนีเซียมีปัญหาโรคระบาด
อันดับ 5  ปลาหางไหม้ เดิมเป็นปลาพื้นเมืองของไทย ปัจจุบันไม่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ พ่อแม่พันธุ์ที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงในปัจจุบันเป็นปลาของอินโดนีเซีย
อันดับ 6  ปลาหางนกยูง มีความหลากหลายมากกรมประมงได้ส่งเสริมและแจกจ่ายพันธุ์ปลาหางนกยูง เมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมาแล้ว นอกจากนี้ผู้ผลิต     ผู้ส่งออกมีการนำเข้าปลาหางนกยูงจากญี่ปุ่น และอเมริกา เพื่อดำเนินการพัฒนาสายพันธุ์
อันดับ 7  ปลาน้ำผึ้ง เป็นปลาแม่น้ำของไทย มีการเพาะขยายพันธุ์มากที่จังหวัดราชบุรี เนื่องจากเป็นปลาซึ่งตลาดต่างประเทศต้องการ
อันดับ 8  ปลาหมอสี เป็นปลาที่มีสายพันธุ์ดั้งเดิมจากแอฟริกาและอเมริกาใต้ เกษตรไทยนำเข้าพ่อแม่พันธุ์มาเพาะพันธุ์   ซึ่งผลผลิตยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด เนื่องจากเกษตรกรหลายรายปรับเปลี่ยนไปเพราะปลาข้ามสายพันธุ์ (Crossbreed)  สำหรับผู้ที่เริ่มต้นควรเพาะพันธุ์ปลาสายพันธุ์ดั้งเดิมเนื่องจากสามารถขาย ต่างประเทศได้
อันดับ 9  ปลาทรงเครื่อง เป็นปลาที่ประเทศไทยเพาะได้ประเทศเดียว
อันดับ 10  ปลาซักเกอร์ คล้ายปลาเทศบาล
การสำรวจผู้ส่งออก ปลาสวยงามทุกตัวมีคุณค่าการเพาะพันธุ์ปลาจำหน่ายผลกำไรอยู่ที่จำนวนโดยรวม ของการผลิตอัตราการรอด อย่าเทียบราคาจตุจักร ไม่ยึดติดกับราคาในประเทศ ถ้าใครเพาะพันธุ์ปลาสวยงามได้ต้องการหาตลาดให้ติดต่อมาที่ สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ จะประสานผู้ส่งออกให้ ทั้งนี้ต้องมีจำนวนปลาเพียงพอ มีปลาสม่ำเสมอ มีพันธุ์ปลาสำรองและปลามีคุณภาพตามความพึงพอใจของลูกค้า
ในขณะนี้ ประเทศไทยส่งออกปลาสวยงามไปอเมริกามากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง เนื่องจากเกษตรกรไทยมีความสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ทั้งชนิดและปริมาณ ซึ่งแต่ก่อนนั้น สิงคโปร์เป็นผู้นำ คนอเมริกันนิยมเลี้ยงปลาสวยงามเป็นอันดับ 3 ของประเภทสัตว์เลี้ยง อันดับ 1 สุนัข อันดับ 2 แมว
สหภาพยุโรปเป็นตลาดปลาสวยงามขนาดใหญ่ (40% ของตลาดโลก) ประเทศที่นำเข้าสูง 3 อันดับแรก ได้แก่ เยอรมัน อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งข้อมูล OFI Journal รายงานการนำเข้าปลาสวยงามไปยังสหภาพยุโรปนั้น สิงคโปร์มีส่วนแบ่งการตลาด 32% ไทย  2% ทั้งนี้ตลาดอเมริกา ไทย ประสบความสำเร็จแล้ว ในอนาคตอันใกล้นี้ต้องหาส่วนแบ่งตลาดยุโรปโดยจัดทำมาตรฐานฟาร์มเพาะสหภาพ ยุโรปเข้มงวดเกี่ยวกับคุณภาพสุขอนามัยฟาร์ม น้ำมีคุณภาพดี สุขภาพปลาสมบูรณ์และปลอดโรค
การส่งปลาสวยงามไป สหภาพยุโรปปลาทุกตัวทุกครั้งต้องขอใบรับรองสุขภาพสัตว์น้ำ ปี 2545 การส่งออกไปยังฝรั่งเศสมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก 11.6 ล้านบาท เป็น 25.1 ล้านบาท เยอรมัน 1.8 ล้านบาท เป็น 4.7 ล้านบาท ในปี 2545 และเป็น 9.3 ล้านบาท ในปี 2546 ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2546 มีปริมาณสูงขึ้น เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน หากภาครัฐและเอกชนร่วมกันก็จะส่งผลให้มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น
แนวโน้มตลาดและความเป็นไปได้  (วันเพ็ญ มีนกาญจน์ 2546   อ้างถึงใน  ยุพินท์ วิวัฒนชัยเศรษฐ์  2547 : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=117)  ได้กล่าวถึง กรมประมงได้ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งออกปลาสวยงาม โดยได้ร่าง นโยบายพัฒนาประมงแห่งชาติ และบรรจุปลาสวยงามเป็นสินค้าหลักภายใต้นโยบายการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยกำหนดให้มีการพัฒนาการเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำเพื่อการส่งออกซึ่ง แต่เดิมกรมประมงให้ความสำคัญกับปลาบริโภค และตั้งแต่ปี 2545 กรมประมงได้ให้ความสำคัญกับปลาสวยงามโดยมีแผน ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์โดยเฉพาะพันธุ์ปลาพื้นเมือง ในปัจจุบันพันธุ์ปลาพื้นเมืองตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณลดลง อาทิ ปลาปล้องอ้อย ปลากระทิงไฟ ปลาก้างพระร่วง ส่วนปลานำเข้าที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ เช่น ปลาปอมปาดัวร์ ซึ่งผู้เพาะเลี้ยงได้พัฒนาเป็นสินค้าส่งออกที่มีชื่อเสียง
จากการรวบรวมตัวเลขปี 2540 มีฟาร์มปลาสวยงาม 1,900 กว่าฟาร์ม พื้นที่ 2,800 ไร่ ยกเว้นกรุงเทพฯ ปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็น 2,500 ฟาร์ม ในการประมวลข้อมูล ไทยสามารถผลิตปลาสวยงามสนองตลาดโลกได้อย่างแน่นอน

2.1  ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ
1)  สหรัฐอเมริกา   เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีมูลค่าการนำเข้าจากประเทศ ไทยมากที่สุด โดยมีมูลค่าประมาณ 40.8 ล้านเหรียญสหรัฐโดยปลาสวยงามที่อเมริกานิยมนำเข้าส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาด เล็ก คุณภาพไม่สูงมากนัก ราคาต่ำ ปริมาณมาก เช่น ปลากัด ปลาคาร์พ ขนาดเล็ก 3-4 นิ้ว ปลาหางนกยูง ปลาทอง ปลากัด ปลาแพลทตี้ ปลาหมู ปลาออสการ์ ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ เป็นต้น การสั่งซื้อจะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยฤดูหนาวจะมียอดนำเข้ามากในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม เพราะเป็นช่วงที่คนมักจะอยู่กับบ้านจึงนิยมเลี้ยงปลาไว้ดูเล่น
2)  กลุ่มประเทศยุโรป   เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการนำเข้าปลาสวยงามทั้งสิ้นปีละ 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีประเทศที่นำเข้าปลาสวยงามห้าอันดับแรก คือ เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ปลาสวยงามที่นำเข้าในกลุ่มประเทศยุโรปจะค่อนข้างใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา คือ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ราคาต่ำ และในช่วงการสั่งปลาจะเป็นฤดูกาลเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
3)  ญี่ปุ่น  เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามเป็นอันดับสามของโลก โดยมีมูลค่าการนำเข้าประมาณ 39 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลาสวยงามที่นำเข้านั้นส่วนใหญ่จะเป็นปลาสวยงามที่มีคุณภาพสูงราคาสูง เช่น หางนกยูงที่สวยและมีคุณภาพสูงโดยจะซื้อปลาที่โตเต็มที่แล้วเนื่องจากไม่ต้อง เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาเพื่อให้มีขนาดโตพอที่จะสามารถโชว์ได้ นอกจากนั้น นิยมปลาแปลก ปลาที่หายาก รวมถึงพรรณไม้น้ำ มีการนำเข้าค่อนข้างมาก

2.2  ประเทศคู่แข่งที่ส่งออกปลาสวยงาม ที่สำคัญ

การแข่งขันทางการค้าของประเทศคู่แข่งในการส่งออกปลาสวยงาม     อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล  (2546 : http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp? idarticle=111)  ได้กล่าวถึง ดังนี้ ในการดำเนินธุรกิจการส่งออกปลาสวยงามจะมีคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญๆ คือ ผู้ส่งออกในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพราะมีปลาสวยงามที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาสวยงามของไทย และสิงคโปร์ยังนำเข้าปลาในประเทศใกล้เคียงแล้วส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่ว โลกโดยมีราคาต่ำกว่าคู่แข่ง ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น เหมือนๆกัน      นอกจากนี้สิงคโปร์ยังส่งเสริมธุรกิจปลาสวยงามโดยให้มีการรวมกลุ่มของ ผู้เลี้ยงปลาสวยงามและผู้ส่งออกเพื่อปรับปรุงคุณภาพปลาสวยงามให้ดียิ่งขึ้น มีการตรวจคุณภาพก่อนการบรรจุหีบห่อและทำการขนส่ง จึงทำให้ปลาสวยงามของประเทศสิงคโปร์เป็นที่ยอมรับของลูกค้าต่างประเทศ ส่วน อินโดนีเซียและมาเลเซียนิยมส่งออกปลาสวยงามที่มีราคาแพง แต่ในปัจจุบันได้มีการเพาะปลาขนาดเล็กจำนวนมากเพื่อป้อนเข้าสู่สิงคโปร์ ส่วนประเทศฟิลิปปินส์ปลาสวยงามส่วนใหญ่ได้แก่ปลาทะเลที่ได้จากการจับจาก ธรรมชาติ ปัจจุบันก็มีคู่แข่งที่มีแนวโน้มที่จะมาแย่งตลาดปลาสวยงามมากขึ้น เช่น ศรีลังกา ฮาวาย และจาไมก้า เป็นต้น แต่เนื่องจากมีความต้องการปลาสวยงามอย่างต่อเนื่องจึงยังไม่มีปัญหาเรื่อง การตลาด       ดังนั้นการที่จะประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้จึงขึ้นอยู่กับความสามารถ ของผู้ประกอบธุรกิจเป็นหลักการแข่งขันในตลาดปลาสวยงามนั้นสามารถแบ่งได้เป็น การแข่งขันทางตรงและการแข่งขันทางอ้อม  ประเทศที่เป็นคู่แข่งที่สำคัญ มีดังนี้
1)  สิงคโปร์  เป็นประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในโลกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดโลก โดยในปี 2000 สิงคโปร์สามารถส่งออกปลาสวยงามได้สูงถึง 43.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้รับซื้อปลาสวยงามจากประเทศในแถบเอเซียตะวันออก เฉียงใต้ ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาที่ถูกส่งมาจากมาเลเซียแล้วนำมาส่งต่อไปยัง ประเทศต่างๆ เพราะสิงคโปร์ขาดศักยภาพในการเลี้ยงปลาสวยงามเองเนื่องจากขาดพื้นที่และน้ำ จืดที่ใช้ในการเลี้ยง นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่มีราคาแพงเองเพื่อให้ได้คุณภาพ ที่ดีตามต้องการซึ่งปลาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี คือ ปลาอโรวาน่า  ดังนั้นจึงทำให้สิงคโปร์มีต้นทุนการเลี้ยงปลาสวยงามต่ำและมีความหลากหลาย ของชนิดปลาสวยงามสูง ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งปลาสวยงามไปยังประเทศคู่ค้าต่ำกว่าประเทศไทย มาก
2)  มาเลเซีย ส่งออกปลาสวยงามคิดเป็นมูลค่าประมาณ 28 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์เป็นหลัก มาเลเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตปลาสวยงามได้สูงเนื่องจากมี ทรัพยากรธรรมชาติมาก ทั้งทางด้านดิน น้ำ และแรงงาน ปลาสวยงามที่ผลิตได้มีประมาณ 550 ชนิด จากทั้งหมดทั่วโลกประมาณ 1,500 ชนิด ปลาที่สร้างชื่อเสียงให้มาเลเซียมากที่สุด คือ ปลาอโรวาน่า เนื่องจากมาเลเซียเป็นต้นกำเนิดของปลาชนิดนี้ และสามารถทำการขยายพันธุ์และส่งออกมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีปลาปอมปาดัวร์ที่มาเลเซียสามารถส่งออกได้มากด้วย มาเลเซียจัดเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย     เนื่องจากมีศักยภาพดีกว่าและรัฐบาลยังให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการ เลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง นอกจากนี้ผู้ส่งออกของมาเลเซียยังมีพื้นฐานทางด้านภาษาดีกว่าผู้ส่งออกของ ไทยด้วย
3)  อินโดนีเซีย  เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการเพาะขยายพันธุ์ปลาที่ดี แต่มีระบบการจัดการไม่ดีเท่ามาเลเซีย และรัฐบาลยังให้การสนับสนุนไม่เต็มที่ เนื่องจากมักจะมีปัญหาเรื่องการเมืองตลอดเวลา ปลาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางได้แก่ปลาอโรวาน่า เพราะสามารถจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้มากเนื่องจากยังมีความอุดมสมบรูณ์ของ รัพยากรธรรมชาติสูง
4)  ฮ่องกง   การทำธุรกิจส่งออกของฮ่องกงจะคล้ายกับสิงคโปร์ คือรับปลาสวยงามจากประเทศอื่นแล้วนำมาส่งต่อไปยังประเทศลูกค้า ไม่ทำการเพาะพันธุ์เอง เนื่องจากขาดศักยภาพทางด้านต่างๆ แต่เนื่องจากฮ่องกงมีความได้เปรียบทางด้านความสามารถในการขายสูงจึงเป็นคู่ แข่งที่น่ากลัวอีกประเทศหนึ่งของไทย

3.  ปัจจัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องการส่งออกปลาสวยงาม
การส่งออกปลาสวยงามประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น     อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล  (2546 : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=111) ได้กล่าวว่าขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ  ดังนี้
3.1  ความหลากหลายของสายพันธุ์    มีผู้เพาะเลี้ยงปลาสวยงามหลายรายที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงและมีแนว โน้มที่จะพัฒนาเพื่อนำสินค้าที่เพาะเลี้ยงได้เพื่อการส่งออกจำเป็นที่จะต้อง เข้าใจธุรกิจส่งออกปลาสวยงามนี้ว่า การส่งออกให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นที่จะต้องมีความหลากหลายของสายพันธุ์อยู่ในสต็อกเพื่อไม่ให้ลูกค้าผิด หวัง
3.2  การจัดการด้านคุณภาพ   ปัจจุบันนี้ ผู้ส่งออกบางรายใช้จุดขายเรื่องของคุณภาพของสินค้าเป็นสำคัญ โดยเอาแนวความคิดเรื่อง การจัดการด้านคุณภาพโดยควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่การคัด เลือกพ่อแม่พันธุ์ของปลาสวยงาม การเพาะเลี้ยง การควบคุมคุณภาพอาหารและน้ำที่ใช้ในการเลี้ยง การตรวจสอบคุณภาพปลาสวยงาม ตลอดจนถึงการบรรจุภัณฑ์ และการขนส่งสินค้าจนถึงลูกค้า โดยบริษัทจะดำเนินการขอใบรับรองกระบวนการผลิตและใบรับรองคุณภาพสินค้าจาก องก์กรตรวจสอบคุณภาพต่างๆ เช่น International Standard Organization (ISO)
3.3  ตอบสนองความต้องการของลูกค้า  ได้อย่างถูกต้อง ตรงเวลาที่กำหนด และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าระยะยาว ความต้องการของลูกค้าต่างประเทศแตกต่างกันตามความชอบของแต่ละประเทศ
3.4  การบริหารเงินสดหมุนเวียนที่ดี   เนื่องจากการซื้อขายระบบเงินสด แผนกการเงินจะนำเอกสารใบสั่งซื้อมาจัดทำเอกสารวางบิลเพื่อเรียกเก็บเงินตาม เงื่อนไขที่กำหนด และบันทึกบัญชีขาย โดยให้ลูกค้าโอนเงินมาเข้าบัญชีของบริษัทเพื่อชำระค่าสินค้าและออกใบเสร็จ รับเงินให้กับลูกค้าและบันทึกบัญชีรับเงิน
การทำธุรกิจส่งออกปลาสวยงามนั้น ปัจจุบันยังมีแนวโน้มที่เติบโตตลอด โดยมีหลักการที่สำคัญจำเป็นที่จะต้องเตรียมปลาให้มีคุณภาพ มีความสม่ำเสมอของสินค้า สร้างความหลากหลายของสินค้า ดังที่ได้รับทราบจากผู้ส่งออกที่กล่าวกันว่า การที่จะประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ  นี้เพียงแค่ให้มีลูกค้าประจำเพียง 5 ราย ก็เพียงพอแล้ว หรือถ้าเกษตรกรรายใดสามารถที่จะมีผู้รวบรวมซื้อปลามาซื้อปลาจากฟาร์มเป็น ประจำ ก็สามารถที่จะประกอบอาชีพนี้ได้อย่างประสบความสำเร็จ

———————————————————————————————————————-
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์  (2551) “การตลาดปลาสวยงาม”  เรื่อง การผลิตและการตลาดปลาสวยงาม
ของ เกษตรกร ผู้ทำการค้าใน เขตจตุจักร วิทยานิพนธ์ ปริญญาเกษตรศาสตร
มหาบัณฑิต แขนงวิขาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ปัญหาในการผลิตปลาสวยงาม

ปัญหาในการผลิตปลาสวยงาม และกฎหมายที่คุ้มครองและควบคุมการค้าสัตว์น้ำ
ทรง ศักดิ์  วงศ์กาฬสินธุ์

1.  ปัญหาการผลิตปลาสวยงามของผู้ผลิตในประเทศไทย
ปัญหาและแนวทางแก้ไขของการผลิตปลาสวยงาม  (วันเพ็ญ มีนกาญจน์ 2546  อ้างถึงใน ยุพินท์ วิวัฒนชัยเศรษฐ์  2547 : http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=117)  ได้กล่าวถึงไว้เป็นข้อสรุปไว้ดังนี้
1.1  ขาดความหลากหลายของสายพันธุ์ปลา   สิงคโปร์ผลิตได้ 400 – 500 ชนิด ไทยผลิตได้ประมาณ 100 – 200 ชนิด เพราะการนำพ่อแม่พันธุ์ปลาจากต่างประเทศ ค่อนข้างมีอุปสรรค ซึ่งเป็นการกีดกันทางการค้า ทั้งนี้รัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือ จัดหาพันธุ์ปลาที่หายาก โดยติดต่อประสานระดับภาครัฐ เพราะกรมประมงไม่มีหน่วยงานประจำในต่างประเทศ พันธุ์ปลาต่างประเทศที่เห็นในบ้านเรามีปลาหมอสี ปอมปาดัวร์ ปลาออกลูกเป็นตัว ฯลฯ สายพันธุ์ปลาใหม่ ๆ ต้องใช้ความหลากหลายทางพันธุกรรม
1.2  ขาดความรู้และเทคโนโลยีการผลิตเพื่อส่งออก   เกษตรกรไทยมีเทคนิคการเพาะเลี้ยงเก่ง แต่ขาดเทคโนโลยีการจัดการพ่อแม่พันธุ์ การดูแลและคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ให้มีความต้านทานโรคสูง การจัดการฟาร์มให้ถูกสุขอนามัยการเลี้ยงให้มีอัตรารอดสูง ภาครัฐต้องเข้ามาช่วยดูและแก้ไขปัญหา เช่น การป้องกันรักษาโรค เกษตรกรส่วนใหญ่จะซื้อยามารักษาเอง ซึ่งอาจไม่ถูกต้อง ดังนั้น หากเกษตรกรประสบปัญหาปลาเป็นโรคให้นำปลามาตรวจที่สถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำ จืด กรมประมง
1.3  ขาดการรวมกลุ่ม  มักแข่งขันขายสินค้า โดยการตัดราคา สำหรับพ่อค้าสิงคโปร์มีการรวมตัวดี ไม่แข่งราคากันเอง ซึ่งคนไทยขาดเรื่องนี้มาก ทำให้คนซื้อสบายเพราะคนขายแข่งขันกันลดราคา
1.4  ประเทศผู้นำเข้าเข้มงวดด้านโรคและมาตรฐานฟาร์ม   กรมประมงจึงจำเป็นต้องดำเนินการจัดทำมาตรฐานฟาร์มและตรวจสอบออกใบรับรองต่อ ไป

2.   แนวทางแก้ไข
1.  ปรับปรุงพันธุ์และผลิตพันธุ์ปลอดโรค สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานการผลิต
2.  พัฒนาเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเพื่อการส่งออกและส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิต
3.  กำหนดเขตพื้นที่ส่งเสริมการผลิตพัฒนาให้เกิดการรวมกลุ่มการผลิต
4.  กำหนดมาตรฐานฟาร์มและกระบวนการผลิต จดทะเบียนฟาร์ม ควบคุมการผลิตตามมาตรฐาน


กฎหมายที่คุ้มครองและควบ คุมการค้าสัตว์น้ำ

ประพันธ์  ลีปายะคุณ  (2546 : http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=104) ได้กล่าวถึง กฎหมายที่คุ้มครองและควบคุมการค้าสัตว์น้ำไว้ว่า  จากกระแสการพัฒนาของมนุษยชาติก่อให้เกิดผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ต่างๆ บนโลก เริ่มจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม จนกระทั่งหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง นานาประเทศเริ่มรู้สึกตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศมากขึ้น จวบจนกระทั่ง ใน ปี พ.ศ.2515 องค์การสหประชาชาติจึงได้จัดประชุมว่าด้วยเรื่องสิ่งแวดล้อมของมนุษย์ขึ้น ที่กรุงสตอร์กโฮล์ม ประเทศสวีเดน โดยมีผู้แทนของรัฐบาลจาก 113 ประเทศเข้าร่วมการประชุมและที่ประชุมได้มีการพิจารณาปัญหาสิ่งแวด ล้อมอย่างกว้างขวาง ผลจากการประชุมก่อให้เกิด โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP – United Nations Environment Programme) ขึ้นในระบบงานสหประชาชาติ เพื่อทำหน้าที่ในการปฏิบัติตามนโยบายและข้อเสนอแนะตามที่ปรากฏในประกาศหลัก การและแผนปฏิบัติการกรุงสตอร์กโฮล์ม รวมทั้งการประสานงานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งปวงของสหประชาชาติ ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นในการก่อให้เกิดอนุสัญญาระหว่างประเทศขึ้นมาหลายฉบับ ที่มีวัตถุประสงค์ในเรื่องการคุ้มครองสภาวะแวดล้อมของโลก

1.  กำเนิดอนุสัญญาไซเตส
ประพันธ์  ลีปายะคุณ (2546 : http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=104) อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามของอนุสัญญาไซเตส (CITES – Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora) เป็นผลพวงจากการประชุมดังกล่าวและโดยการริเริ่มของหลายองค์กร คือ โครงการสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ (UNEP – United Nations Environment Programme)  สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (IUCN – International Union for the Conservation of Nature and Natural Resources)  กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF – World Wide Fund for Nature)  สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA – International Air Transportation Association)
จุดมุ่งหมายของอนุสัญญาไซเตส เพื่อคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่า(รวมสัตว์น้ำ)และพืชป่าที่หายากหรือชนิดที่อยู่ ในภาวะถูกคุกคามมิให้มีการสูญพันธุ์ไป อันเนื่องมาจากการค้าระหว่างประเทศ โดยได้มีการกำหนดมาตรการและเงื่อนไขในการควบคุมการค้าสัตว์และพืชดังกล่าว ไว้ ซึ่งองค์การตำรวจสากลได้ประเมินการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมาย ระหว่างประเทศในปี2544 ว่ามีมูลค่าเป็นลำดับที่สอง รองจากการค้ายาเสพติด สำหรับประเทศไทยได้เป็นสมาชิกร่วมลงนามในอนุสัญญาดังกล่าวเมื่อปี พ.ศ.2518 และให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2526  อนุสัญญาไซเตสได้สร้างเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยประเทศต่างๆที่เป็นสมาชิกทั่วโลกซึ่งปัจจุบันมีประเทศภาคี จำนวน 157 ประเทศ เพื่อควบคุมการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศภายใต้เงื่อนไขที่ประเทศสมาชิกกำหนด ขึ้น โดยแบ่งความเข้มงวดในการค้าสัตว์ป่าระหว่างประเทศออกเป็น 3 ระดับ ตามหลักการดังนี้
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I) เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ห้ามค้าโดยเด็ดขาด เนื่องจากใกล้จะสูญพันธุ์ ยกเว้นเพื่อการศึกษา วิจัย หรือเพาะพันธุ์ ซึ่งก็ต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าเสียก่อน ประเทศส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้ ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดของชนิดพันธุ์นั้นๆ ด้วย
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) เป็นชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่ยังไม่ถึงกับใกล้จะสูญพันธุ์จึงยัง อนุญาตให้ค้าได้ แต่ต้องมีการควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย หรือลดปริมาณลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดใกล้จะสูญพันธุ์โดยประเทศที่จะส่งออก ต้องออกหนังสืออนุญาตให้ส่งออกและรับรองว่าการส่งออกแต่ละครั้ง จะไม่กระทบกระเทือนต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์นั้นๆ ในธรรมชาติ
ชนิดพันธุ์ในบัญชีหมายเลข 3 (Appendix III) เป็นชนิดพันธุ์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งแล้วขอ ความร่วมมือประเทศภาคีสมาชิกให้ช่วยดูแลการนำเข้า คือจะต้องมีหนังสือรับรองการส่งออกจากประเทศถิ่นกำเนิด
ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ต้องแสดงใบอนุญาตนำเข้า (Import Permit) ใบอนุญาตส่งออก (Export Permit) หรือใบอนุญาตนำผ่าน (Transit Permit) ให้เจ้าหน้าที่ประจำด่านตรวจสอบทุกครั้ง
“อนุสัญญาไซเต สไม่ได้มีผลควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ใดๆ ที่เป็นของท้องถิ่น”

2.  พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535
ประพันธ์  ลีปายะคุณ (2546 : http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=104) ได้เรียบเรียงไว้ว่า พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายหลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าหายากใกล้จะสูญพันธุ์ของไทย รวมทั้งสัตว์ป่าของต่างประเทศด้วย ซึ่งกฎหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ใกล้จะสูญ พันธุ์ด้วย โดยกรมประมงทำหน้าที่ในการดูแลในส่วนที่เป็นสัตว์น้ำ ส่วนกรมป่าไม้ดูแลในส่วนที่เป็นสัตว์ป่า ดังนั้น ในการกล่าวถึงสัตว์ป่าตามกฎหมายนี้จะหมายความรวมถึงสัตว์น้ำด้วย ต่อมาในปี2545 ได้มีการปฏิรูประบบราชการมีผลทำให้งานเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ในส่วนที่กรมป่าไม้ดูแลไปอยู่กับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
เหตุผลที่ประกาศใช้
1. เพื่อสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าให้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อเร่งรัดการขยายพันธุ์สัตว์ป่าควบคู่ไปกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
3. เพื่อความร่วมมือตามความตกลงระหว่างประเทศในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเป็น ไปอย่างเหมาะสม
ชนิดปลาที่ได้รับการคุ้มครองจากอนุสัญญาไซเตส  ได้ถูกควบคุมในการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านระหว่างประเทศ ผู้ที่สามารถจะทำได้ต้องได้รับใบอนุญาตทั้งจากประเทศต้นทางและประเทศปลายทาง ซึ่งปลาบางชนิดเป็นปลาที่อยู่ในบัญชี 1 ซึ่งถูกเข้มงวดมาก ดังเช่น ปลาบึกและปลายี่สก ซึ่งเป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย กรมประมงไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ส่งจำหน่ายไปยังต่างประเทศได้ แต่ถ้าหากมีฟาร์มที่สามารถเพาะพันธุ์ปลาดังกล่าวในเชิงธุรกิจได้ และได้ดำเนินกระบวนการรับรองฟาร์มจากกรมประมงและอนุสัญญาไซเตส ชื่อของฟาร์มเพาะพันธุ์ดังกล่าวก็จะได้รับการเผยแพร่ไปยังประเทศสมาชิก 157 ประเทศ โดยฟาร์มดังกล่าวก็จะสามารถส่งปลาบึกหรือปลายี่สกออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ได้ ดังเช่น ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาตะพัดในประเทศอินโดนีเซียจำนวน 16 ฟาร์ม ในประเทศมาเลเซีย จำนวน 5 ฟาร์ม และในประเทศสิงคโปร์ จำนวน 5 ฟาร์ม ที่มีมูลค่าการส่งปลาตะพัดจำหน่ายไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกปีละหลายพันล้าน บาท สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศของตนเองมาหลายปีแล้ว ในขณะที่ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาตะพัดของประเทศไทยยังไม่มีฟาร์มใดที่ผ่านการ รับรองจากอนุสัญญาฯเลย แม้แต่ฟาร์มเดียว อาจจะเป็นเพราะว่าเราเพิ่งจะเริ่มมีการจดทะเบียนฟาร์มเพาะพันธุ์กันเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้เทคนิคด้านการเพาะพันธุ์ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร แต่เชื่อได้เลยว่าอีกไม่นานเกินรอ ผลสำเร็จคงจะมาถึง

———————————————————————————————————————-
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์  (2551) “ปัญหาในการผลิตปลาสวยงาม และกฎหมายที่คุ้มครองและ
ควบคุมการค้าสัตว์น้ำ”  เรื่อง การผลิตและการตลาดปลาสวยงาม ของเกษตรกร
ผู้ทำการค้าใน เขตจตุจักร วิทยานิพนธ์ ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิขา
ส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

โรคที่เกิดกับปลาสวยงาม

โรค ที่เกิดกับปลาสวยงาม และการรักษา
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์

กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/fishdec/ index.html)  กล่าวว่า  ในธุรกิจการเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาสวยงาม หรือปลาที่เลี้ยงเพื่อการบริโภค  ปัญหาหนึ่งที่ผู้เลี้ยงปลามักประสบอยู่เสมอ คือเรื่องการเกิดโรค โรคปลาที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้

1.  กลุ่มพาราไซด์หรือปรสิต ได้แก่ โปรโตซัว หนอนตัวแบน พยาธิ คัสเตเชี่ยน

1.1  เห็บปลา  (Argulus / Fish Louse)
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/)  เขียนไว้ ดังนี้  เห็บปลาจะระบาดมาสู่ ปลาแฟนซีคาร์พที่เราเลี้ยงได้จากปลาใหม่ หรืออาจติดมากับพวกพืชน้ำชนิดต่างๆ หรือหากมี กบลูกอ๊อด ก็สามารถจะเป็น พาหนะนำเห็บปลามาสู่บ่อเลี้ยงได้ เห็บปลาจะมีรูปร่างวงกลม ตัวแก่มีขนาดตั้งแต่ 1-5 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลหรือเขียว มีปากเป็นลักษณะตะขอที่จะเจาะผนังข้างลำตัวปลา และดูดเลือดเป็นอาหาร เห็บปลาสามารถแพร่พันธุ์ในบ่อเลี้ยงปลาได้โดยการออกไข่ ประมาณ 500 ฟอง จะใช้เวลาในการฟัก ประมาณ 4 อาทิตย์ ซึ่งภายหลังการฟักแล้ว จะว่ายน้ำและเกาะตามลำตัวปลาภายนอก เป็นระยะเวลาประมาณ 6 อาทิตย์ ก่อนที่จะเป็นตัวเต็มวัย ที่ผู้เลี้ยง จะสามารถเห็นตัวได้ด้วยตาเปล่า ปลาที่ถูกเกาะนอกจากจะเกิดความรำคาญโดยอาจว่ายแฉลบไปมาเสียดสีบริเวณที่ถูก เกาะ แล้วบริเวณแผลที่ถูกกัดอาจเป็นเส้นทาง ที่แบคทีเรีย ประเภทอื่นๆ สามารถจะเข้าไประบาดสู่อวัยวะภายในตัวปลาได้
การรักษา ใช้ ดีมิลีน (Dimilin) มีลักษณะเป็นผงสีเทา ในอัตราส่วน 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน โดยเมื่อตวงปริมาณยาตามสัดส่วนแล้ว นำไปละลายน้ำ แล้วเท ณ บริเวณหัวเจ็ทพ่นเข้าสู่บ่อ Dimilin จะเป็นยาที่จะทำให้ตัวอ่อนของเห็บปลา ไม่สามารถเจริญเติบโต เป็นตัวแก่ได้ ดังนั้นจึงควรใช้ยานี้ทุกๆ 15 วัน เพื่อกำจัดตัวอ่อนให้หมดไป สำหรับเห็บตัวแก่ ผู้เลี้ยงอาจต้องใช้วิธีสังเกตจากตัวปลาแล้วแกะออกด้วยมือ ซึ่งอาจจะต้องทำการวางยาสลบต่อไปก่อนแกะออก

กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  กล่าวว่า  โรคเห็บปลา จะทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง เนื่องจากพยาธิซึ่งเป็นปรสิตเซลล์ เดียวรูปร่างกลม ๆ มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์จะเข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและ เหงือก และมีการเคลื่อนทึ่ไปมาจากที่หนึ่งไปอีกที่หนื่งอยู่ตลอดเวลาทำให้ปลาเกิด เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก มักพบในลูกปลา ถ้าพบเป็นจำนวนมาก ก็ทำให้ปลาตายได้หมดบ่อหรือหมดตู้ ชนิดของปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้มีหลายชนิด เช่น ปลาดุก ช่อน กะพงขาว ใน ตะเพียน ทรงเครื่อง สวาย เป็นต้น ควรรีบ ทำการรักษาโรคนี้ตั้งแต่ปลาเริ่มเป็นโรคในระยะแรก ๆ จะได้ผลดีกว่าเมื่อปลา ติดโรคแบบเรื้อรังแล้ว
การปัองกันและรักษา   การป้องกันจะดีกว่าการรักษา เพราะปรสิตชนิดนี้แพร่ได้รวดเร็วและ ทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น การป้องกันทำได์โดยการตรวจปลาก่อนที่ จะนำมาเลี้ยงว่ามีปรสิตนี้ติดมาด้วยหรือไม่ ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทาง อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ควรขังปลาไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อตรวจจนแน่ใจว่าไม่มี โรคแล้วจึงค่อยปล่อยลงเลี้ยง แต่ถ้ามีปรสิตเกิดขึ้น กำจัดได้โดยการใช้ยาหรือสารเคมี คือ  ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง
1.2  ปลิงใส (Leeches)
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  กล่าวว่า  ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรุนทุราย ลอยตัวดามผิวน้ำ ผอม กระพุ้งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดกระจาย อยู่ทั่วลำตัว ถ้าเป็นการติดโรคในขั้นรุนแรงอาจมองเห็นเหมือนกับว่าปลามีขนสีขาว สั้น ๆ อยู่ตามลำตัว ซึ่งจะทำให้ปลาตายได้ ปลาเกือบทุกชนิดพบว่าเป็นโรคนี้ได้ทั้งนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปลาดุกที่ เริ่มปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินใหม่ ๆ ควรระวัง โรคนี้ด้วยถ้าพบการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็สามารถรักษา ให้หาย ได้ไม่ยาก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
2. ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์ จำนวน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
1.3   หนอนสมอ (Lernea / Anchor Worm)
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/)  กล่าวว่า หนอนเสมอ เป็นปรสิตภายนอก ที่มีลักษณะ Y-shaped มีลำตัวยาวได้ถึง 12 มิลลิเมตร มีสีขาวหรือน้ำตาล ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนสมอ ยื่นออกไป 2-4 อัน ซึ่งจะฝังแน่นในผิวหนังของปลา ส่วนคอและลำตัวจะมีลักษณะทรงกระบอกการเกาะของหนอนสมอ จะทำให้เกิดบาดแผลอันเป็นช่องทางที่ทำให้ เกิดการติดเชื้ออื่นๆ ตามมาได้
การรักษา ใช้ ดีมิลิน (Dimilin) โดยมีวิธีการใช้เช่นเดียวกับการกำจัด เห็บปลา แต่สำหรับตัวแก่ที่ฝังแน่นอยู่ที่ตัวปลา ผู้เลี้ยงต้องทำการวางยาสลบแล้วใช้ตัวคีบ (Forceps) หนีบออกมา
กมลพร ทองอุไทย และสุปราณี ชินบุตร (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/index.html)  ได้กล่าวถึงหนอนสมอว่า  เป็นพยาธิที่พบเสมอในปลาน้ำจืด หนอนสมอตัวเมียมักพบเกาะอยู่ตาม ผิวหนังของปลาโดยเฉพาะบริเวณโคนครีบ ตัวเมียที่โตเต็มวัย มีลักษณะลำตัว ยาวคล้ายหนอน ที่ส่วนหัวมีอวัยวะสำหรับยืดเกาะกับผิวหนังปลาซื่งมีรูปร่างคล้าย สมอเรือ เราจะเห็นเฉพาะส่วนลำตัวที่มีลักษณะคล้ายหนอนซึ่งตอนปลายมีถุงไข่อยู่ 1 คู่โผล่ออกมาจากผิวหนังของปลา ส่วนที่เป็นอวัยวะยืดเกาะคล้ายสมอจะแตกแขนง และแทงทะลุลงไปใต้ผิวหนังลึกถืงชั้นกล้ามเนื้อ พยาธิชนิดนี้จะดูดกินเนื้อเยื่อของ ปลาทำใหัเกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ได้ ปลาที่มีหนอนสมอเกาะอยู่มักมีแผลตกเลือด เต็มตัว และมีอาการระคายเคือง ปลาที่เป็นโรดมักผอมลงจนผิดปกติ ถ้าเกิดโรคนี้ ในปลาขนาดเล็กอาจทำให้ปลาตายได้ ปลาที่เป็นโรคนี้มีหลายชนิด ได้แก่ ปลาแรด กะพงขาว บู่ ตะเพียนขาว ปลาคาร์ฟ ปลาซ่ง ปลาทอง ปลามิดไนท์ เป็นต้น
การป้องกันและรักษา
1. ควรย้ายปลาที่มีหนอนสมอเกาะอยู่ไปไว้ในถังอื่นประมาณ 3- 4 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ตัวอ่อนของหนอนสมอที่เพิ่งออกเป็นตัวมีที่ยืดเกาะก็จะ ทำให้มัน ตายไปเองไค้
2. แช่ปลาที่มีพยาธิในสารละลายดิพเทอเร็กซ์ ในอัตราส่วน 0.5 กรัม ต่อนำ 1,000 ลิตร แช่นานประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วเปลื่ยนน้ำ เว้นระยะไป 5-7 วัน จึงทำการแช่ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
3. การกำจัดหนอนสมอในบ่อทื่ใม่มีปลาอยู่แลัว สามารถกำจัดให้หมด ไปได้โดยการละลายดิพเทอเร็กซ์ 2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วสาดลงไปในบ่อ ให้ทั่วทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แลัวจึงนำปลากลับมาเลื้ยงตามเดิมได้
1.4   อิ๊ก
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/)  อธิบายว่า  อิ๊ก (Ich)  เป็นโปรโตซัวที่ก่อให้เกิดโรคจุดขาว (White spot) จะเกาะบริเวณผิวหนังหรือภายในเหงือกเป็นจุดขาว ๆ โดยจะเป็นอันตรายต่อปลาขนาดเล็ก ทำให้ตายได้อย่างรวดเร็ว Ich สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสำหรับอุณหภูมิในบ้านเรา
การรักษา ให้นำปลาแฟนซีคาร์พมาแช่ในน้ำเกลือความเข้มข้น 0.3-0.6% นานประมาณ10 วัน หรืออาจใช้ มาลาไคท์กรีนเจือจางในน้ำให้มีความเข้มข้น 1-2 ppm แช่ปลานานประมาณ 1 ชั่วโมง ทุกวัน จนกว่าปลาจะหาย
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  ได้กล่าวถึง  ปลาที่เป็นโรคจุดขาวว่า  จะมีจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็ก ๆ กระจาย อยู่ทั่วลำตัวและครีบ สาเหตุของโรคนี้คือโปรโตซัว ชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็น อาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลา และ สร้างเกราะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากภายในเกราะ นั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสมเกราะหุ้มตัวจะแตกออกและตัวอ่อนของพยาธิจะ ว่ายน้ำเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาต่อไป พบโรคนี้กับปลาหลายชนิด เช่น ปลาสวาย ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาหมู ปลาทรงเครื่อง ฯลฯ
การป้องกันและรักษา ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่ แต่วิธีการที่ควร ทำคือการทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้สารเคมี ดังต่อไปนี้
1)  ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง สำหรับ ปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง
2)  หรือมาลาไค้ทกรีน 1.0-1.25 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1/2 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 0.15 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง หรือ เมททิลีนบลู 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3)  หรือมาลาไค้ทกรีน และฟอร์มาลินในอัตราส่วน 0.15 กรัม และ 25 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยน น้ำใหม่ทุกวันและทำการแช่ยาวันเว้นวัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น วิธีนี้จะให้ ผลดีมากโดยเฉพาะเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปรสิตชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ดังนั้นวิธีการป้องกันเป็นวิธีที่ดื่ที่สุด เพื่อไม่ให้ปลาที่นำมาเลี้ยงติดเชื้อมาด้วย ควรดำเนินการดังนี้
1)   ก่อนที่จะนำปลามาเลี้ยง ควรนำมาขังไว้ในที่กักกันก่อน ประมาณ 7-10 วัน เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อพยาธิติดมาหรือเปล่า เมื่อแน่ใจว่าไม่เป็นโรดแล้วจึง นำไปเลี้ยงต่อ
2)  ป้องกันการลุกลามของโรคนี้โดยวิธีง่าย ๆ คือเมื่อปลาเป็นโรคควร ย้ายปลาออกจากตู้แล้วนำไปรักษาในทื่อื่น ใส่ฟอร์มาลิน 100-150 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร ลงในตู้เดิมเพื่อกำจัดปรสิตให้หมด แลัวจึงถ่ายน้ำทิ้งไป

2.  โรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/) ได้กล่าวถึง โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียว่า มีสาเหตุต่างจาก
1)  Aeromonas salmonicida  เป็นต้นเหตุของการเกิดโรค ฟูรังคูโลซิส มักจะเกิดแก่ปลาที่อยู่ในน้ำที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้ปลามีความต้านทานต่อเชื้อโรคน้อย เมื่อปลาได้รับเชื้อจะเกิดแผลที่ผิวหนังภายนอก หรืออาจเกิดแผลภายในระบบทางเดินอาหาร ปลามีอาการเซื่องซึมเชื่องช้า ไม่กินอาหาร สีผิวตามลำตัวเข้มขึ้น มีอาการตกเลือดตามลำตัว โคนคีบ และภายในร่างกาย โรคนี้สามารถแพร่จากปลาที่เป็นโรคไปสู่ปลาตัวอื่นได้
การรักษาโรค ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ Oxytetracycline โดยผสมในอาหาร 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมหรือตามคำแนะนำในฉลากบรรจุ เป็นระยะเวลา 5-7 วัน
2)  Aeromonas hydrophila ปลาที่ได้รับเชื้อประเภทนี้ จะมีอาการคั่งของของเหลว ภายในช่องท้อง จนเกิดอาการบวม ตาโปน ผิวหนังมีสีเข้มขึ้น มีเกล็ดตั้งขึ้นหรือที่เรียกว่า Dropsy เนื่องจากไตไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ โดยไม่สามารถขับน้ำออกสู่ภายนอกได้ ปลาบางตัวเมื่อได้รับเชื้ออาจเกิดแผลฝีลึก แหว่งเป็นรูได้
การรักษา กระทำเช่นเดียวกับ การติดเชื้อ Aeromonas salmonicida และผู้เลี้ยงต้องรักษาคุณภาพน้ำให้สะอาด
3)  Pseudomonas fluorescens และ Pseudomonas anguilliseptica เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในปลาโดยมีอาการ เช่นเดียวกับ Aeromonas hydrophila ไม่ว่าจะเป็นโรคเกล็ดตั้ง หรือเกล็ดพอง และ โรคแผลฝีลึก เป็นรูแหว่ง (Ulcer Disease)
การรักษาโรค มีวิธีการเช่นเดียวกับ Aeromonas salmonicida
2.1   โรคแผลตามลำตัว
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ในระยะเริ่มแรกจะทำให้ปลาที่มีเกล็ด เกล็ดหลุดออก ส่วนบริเวณรอบ ๆ เกล็ดที่หลุดออกนั้นจะตั้งขึ้น ถ้าเป็นปลาไม่มีเกล็ด บริเวณนั้นจะบวมขึ้นเละมีสีแดง ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจนเห็น กล้ามเนื้อ โดยแผลที่เกิดจะกระจายทั่วตัวและเป็นสาเหตุให้ปลาติดโรคเชื้อราต่อ ไปได้ ปลาสวยงามทุกชนิดพบว่าเป็นโรคนี้
การป้องกันและรักษา โรคนี้รักษาได้ยากมาก ในกรณีปลาตู้ควรแยกปลาที่เป็นโรคออกจากตู้ให้หมด
1)  ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโชน ในอัตราส่วน 1 -2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2)  แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าชัยคลีน หรือเตตร้าชัยคลีน ในอัตราส่วน 10- 20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3 -4 ครั้ง
3)  ถ้าเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อ และเริ่มมีอาการของโรค อาจผสม ยา ปฏิชีวนะ เหมือนดังกล่าวข้างต้นกับอาหาร ในอัตราส่วน 60- 70 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้นานติดต่อกัน 3-5 วัน
4)  การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงอาจทำได้โดยใช้ปูนขาว ในอัตรา 50-60 กิโลกรัม/ไร่
2.2  โรควัณโรคปลา
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html )  กล่าวว่า  เป็นโรคที่พบเสมอโดย เฉพาะกับปลาที่กินเนื้อเป็นอาหารทั้งที่เลี้ยงในตู้กระจก และในบ่อซึ่งได้แก่ ปลากัด เทวดา ออสก้า ปอมปาดัวร์ และช่อนสาเหตุ ของโรคนี้มาจากเชื้อแบคทีเรีย ปลาบางชนิดอาจจะไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น แต่บางชนิดก็จะแสดงอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้  น้ำหนักลดลง ไม่กินอาหาร สีซีดลง เกล็ดหลุด ผิวหนังเป็นแผล ครีบเปื่อย ขากรรไกรหรือกระดูกสันหลังบิดเบี้ยวหรือผิดรูปไป ตาโปนหรือตาอาจจะหลุดออกมาได้ ว่ายน้ำโดยหงายขึ้น บางทีก็ไปนอนอยู่ตามพื้น ตัวบิด หรือว่ายน้ำเปะปะโดยไม่มีทิศทางที่แน่นอน เกิดจุดขาวตามอวัยวะภายใน
การป้องกันและรักษา   การรักษาโรคนี้ยังไม่มีวิธีที่ได้ผลแน่นอน สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดการระบาด ของโรคคือ
1)  ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออก และทำลายให้หมดแล้วฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง โดยการตากบ่อให้แห้ง   และสาดสารละลายด่างทับทิม (1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) ให้ทั่วบ่อ
2)  สำหรับการป้องกันวัณโรคนั้น ต้องพยายามอย่า เลี้ยงปลาแน่นเกินไป ไม่ว่าจะเป็นลูกปลาหรือ ปลาใ หญ่ และจะต้องรักษาบ่อเลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ
3)  โรคนี้อาจทำให้เกิดโรควัณโรคที่ผิวหนังของคนได้ จึงควรหลีกเลี่ยง การสัมผัสปลาที่เป็นโรคโดยตรง

3.   โรคจากเชื้อรา

กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  กล่าวว่า  โรคที่เกิดจากเชื้อรามักจะเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ หลังจากที่ปลา เกิดเป็นแผลแบบเรื้อรังแล้วมักพบเชื้อราเข้ามาร่วมทำให้แผลลุกลามไป โดยจะเห็น บริเวณแผลมีเชื้อราเกิดเป็นปุยขาวๆ ปนเทาคล้ายสำลีปกคลุมอยู่ ในการเพาะปลา ถ้าหากมีไข่เสียมากก็จะพบราเข้าเกาะกินไข่เสียเหล่านั้นก่อน และลุกลามไปทำลาย ไข่ดีต่อไป ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที
การป้องกันและรักษา
1.  สำหรับปลาป่วยในโรงเพาะฟัก  ใช้มาลาไคร์ทกรีน จำนวน 0.1- 0.15 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
2.  กรณีของปลาป่วย ในบ่อดินมักพบต้นเหตุที่ทำให้ปลาป่วยเป็นเชื้อรา เนื่องมาจากคุณภาพของน้ำในบ่อไม่ดี ให้ปรับด้วยปูนขาวในอัตรา 60 กิโลกรัม/ไร่
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/) ได้กล่าวถึงโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไว้ดังนี้  Branchiomyces sanquinis เป็นเชื้อรา ที่ตรงเข้าทำลายเหงือกปลาโดยตรง มักจะมีการระบาดในบ่อเลี้ยงที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม คุณภาพน้ำต่ำ มีปริมาณอินทรีย์สารและอุณหภูมิสูง เชื้อราประเภทนี้จะทำให้เหงือกปลากร่อนได้ ปลาจะขาดอากาศเนื่องจากเหงือกถูกทำลาย เกิดการตกเลือดในเหงือก
การรักษาโรค กระทำโดยแช่ปลาในยา มาลาไคท์กรีน เข้มข้น 0.3 PPM หรือ 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร นาน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงต้องรักษาคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐาน ไม่ให้มีอินทรีย์สารภายในบ่อเลี้ยงมากเกินไป โดยการถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมจำนวนปลาเลี้ยง และให้อาหารที่สมดุลยกับปริมาณปลาในบ่อ อีกทั้งต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของบ่อกรองให้ทำงานได้ดีอยู่เสมอ

4.   โรคติดเชื้อจากไวรัส

4.1  โรคฝีเม็ดใหญ่
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  ได้กล่าวถึง โรคฝีเม็ดใหญ่ว่า เป็นโรคที่พบเสมอในพวกปลาตระกูลคาร์ฟที่เลี้ยงในบ่อ  สาเหตุเชื่อกันว่า เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะของโรคนี้คือจะเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาวขุ่นคล้ายฝีใน ระยะแรก ต่อมาตุ่มนี้จะขยายใหญ่ขึ้นจนรวมกับตุ่มอื่นเป็นตุ่มขนาดใหญ่พบได้ทั่วตัว ตุ่มนี้จะโปนออกเหนือผิวหนังอย่างเห็นได้ชัด แต่โดยทั่วไปการเกิดโรคนี้ไม่ทำให้ ปลาได้รับอันตรายถึงตาย และอัตราการระบาดของโรคต่ำ
การป้องกันและะรักษา โรคนี้อาจรักษาได้ง่ายโดยการดูแลเลี้ยงปลาให้อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม เช่น อยู่ในอุณหภูมิไม่สูงเกินไป น้ำสะอาดและมีปริมาณออกซิเจน อย่างเพียงพอ ถ้าเลี้ยงไว้ในบริเวณที่มีน้ำไหลจะช่วยให้ปลาหายโรคได้เร็วขึ้น

4.2   หูดปลาหรือโรคแสนปม
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  อธิบายว่า หูดปลาเป็นโรคที่พบเสมอในปลาทะเลเกิดจากเชื้อไวรัส โรคนี้อาจพบได้บ้าง ในปลาน้ำจืดบางชนิด อาการของโรคนี้คือเกิดเป็นตุ่มสีขาวคล้ายหูดมีขนาดต่าง ๆ กัน มักจะพบตามบริเวณหลังและครีบหลังของปล ตุ่มเหล่านี้มักอยู่รวมกันเป็นกระจุก ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้ได้แก่ ปลากะพงขาว ตะกรับ
การป้องกันและะรักษา โรคนี้เมื่อเป็นมากแล้วไม่อาจรักษาให้หายได้ ดังนั้นจึงควรแยกปลาที่ เป็นโรคออกให้หมดและทำลายเสีย ส่วนปลาที่ไม่เป็นโรคก็ควรจะย้ายไปไว้ใน บ่อใหม่และกักไว้ประมาณ 2 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อโรคนั้นหมดไปแล้ว ส่วน บ่อปลาที่เกิดโรคนี้ระบาดต้องมีการถ่ายน้ำออกให้หมดพร้อมทั้งทำการฆ่าเชื้อ ด้วยปูนขาว หรือสารละลายด่างทับทิม

4.3   KHV Koi Herpes Virus
นันทริกา ซันซื่อ  (2548? : http://www.fancycarp.com/koidoctor/khv/index.html)  ปัจจุบันโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงและส่งออกปลาคาร์พของประเทศ ญี่ปุ่นมากที่สุดคือ Koi Herpes Virus (KHV)
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes เป็นชนิดของ DNA virus ที่ทำให้เกิดโรคกับปลาได้มากที่สุดโรคแผลพุพองที่เกิดกับปลาคาร์พ (Carp Pox) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดก้อนเนื้อใส ๆ ไม่น่าดูในอากาศที่เย็นขึ้น มีชื่อว่า Cyprinid Herpes Virus (CHV) ไม่ควรสับสนกับ KHV ชื่อของ KHV ไม่ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย และผู้ที่เชื่อว่าโรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส Herpes ชอบที่จะใช้ KV เรียกแทนมากกว่า  เชื้อจะสามารถก่อโรคที่อุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าที่อุณหภูมิสูง (ไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดระยะห่างระหว่าง exposure กับ onset โดยที่อุณหภูมิต่ำทำให้เชื้อไวรัส Herpes virus ดำรงชีวิตได้ยาวขึ้น โรคมักเกิดที่อุณหภูมิระหว่าง 18 – 28 องศาเซลเซียส
การรักษา   ไม่มีทางรักษาโรคนี้ได้โดยตรงเนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส มีเพียงการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อปรสิต ยาดังกล่าวได้แก่
-   คลอรามีนที (Chloramin T) หรืออาจจะใช้ด่างทับทิม ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่เหงือก ในอัตรา 2 ppm (ส่วนในล้านส่วน) หากใช้เกินขนาด จะกลายเป็นพิษต่อปลา เพื่อควบคุมเชื้อราและปรสิต มีรายงานว่า คลอรามีนที และ ด่างทับทิม จะช่วยลดจำนวนของเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในน้ำบ้าง
-   ยาปฏิชีวนะ สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียภายใน
-   เกลือ ช่วยลดภาวะบวมน้ำ
-   วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโร
———————————————————————————————————————-
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์  (2551) “โรคที่เกิดกับปลาสวยงามและการรักษา”  เรื่อง การผลิตและ
การตลาดปลาสวยงาม ของ เกษตรกร ผู้ทำการค้าใน เขตจตุจักร วิทยานิพนธ์
ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิขาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริม
การเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การทำฟาร์มเพาะเลี้ยง

การทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวย งามตามมาตรฐานกรมประมงประมง
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์

1.  องค์ประกอบพื้นฐานของฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการฟาร์มให้ถูก สุขอนามัย
องค์ประกอบพื้นฐานของฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดการฟาร์มให้ถูก สุขอนามัย โดยจำแนกเป็น 2 ส่วน (อาคม ชุ่มธิ  2546  อ้างถึงใน ยุพินท์  วิวัฒนชัยเศรษฐ์  2548 : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=117) ได้จำแนก ดังนี้
1.1  ส่วนที่ 1 องค์ประกอบพื้นฐาน
1)  สถานที่ตั้ง โดยทั่ว ๆ ไปสถานที่ตั้งฟาร์มควรอยู่ใกล้แหล่งสาธารณูปโภค และการคมนาคมสะดวก
2)  แหล่งน้ำ การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามบางแห่งอาศัยน้ำประปา แต่ถ้านำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ควรเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ห่างไกลโรงงาน อุตสาหกรรมและแหล่งปฏิกูล
3)  ลักษณะโรงเรือน โรงเรือนที่ดีจะช่วยป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำ ความชื้น อุณหภูมิ ฯลฯ
4)  บ่อ / ระบบบ่อ ควรแบ่งพื้นที่การใช้งานอย่างชัดเจน โดยแบ่งเป็น บ่อพักน้ำ บ่อพ่อแม่พันธุ์ บ่อเพาะฟัก บ่ออนุบาล บ่อเลี้ยง บ่อปรับสภาพปลา ซึ่งลักษณะบ่ออาจจะเป็นบ่อดิน บ่อซีเมนต์ ตู้กระจก อ่างซีเมนต์ กะละมังพลาสติก ฯลฯ ในแต่ละขั้นตอนการผลิตของปลาแต่ละชนิดก็แตกต่างกัน ความต้องการไม่เหมือนกัน ทั้งในด้านการดูแล คุณภาพน้ำ ปลาเล็ก ปลาใหญ่ ถ้าไม่แยกการใช้ประโยชน์ การจัดการค่อนข้างยาก ควรแบ่งพื้นที่การใช้งาน เช่น บ่อเพาะพันธุ์ บ่อกักกันโรค บ่อขุนเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ บ่ออนุบาลลูกปลา บ่อเลี้ยงปลาวัยรุ่น สำหรับส่วนกักกันโรคควรจัดพื้นที่ให้ห่างมาก ๆ กับปลาปกติ เพื่อป้องกันเชื้อโรคแพร่ระบาด
5)  ระบบน้ำ ควรมีทางระบายน้ำเข้าและน้ำออก ซึ่งทั้ง 2 ระบบ คือ 1.น้ำผ่าน 2.น้ำหมุนเวียน (ประหยัดน้ำ และรักษาคุณสมบัติน้ำให้คงที่) น้ำที่มาใช้ควรผ่านการกรองขจัดสารพิษ คลอรีน แอมโมเนียที่ไม่ต้องการ สำหรับระบบน้ำหมุนเวียนใช้ไบโอ-ฟิลเตอร์ แอมโมเนีย และไนไทรต์ถูกแบคทีเรียนำไปใช้ ในกรุงเทพฯ น้ำประปามีราคาแพงจะนิยมระบบน้ำหมุนเวียน โดยท่อน้ำล้นออกควรจัดให้สามารถปรับระดับให้ต่ำกว่าพื้นจะได้ไม่เฉอะแฉะและ ดูสะอาด
6)  ระบบอากาศ ปลาแต่ละชนิดต้องการออกซิเจนต่างกัน ปลาสวยงามที่ต้องการออกซิเจนน้อย เช่น ปลากัด อาจไม่จำเป็นต้องมีเครื่องเพิ่มอากาศ ส่วนปลาอื่น ๆ ที่ต้องการออกซิเจนสูง จำเป็นต้องมีเครื่องเพิ่มอากาศ
7)  ระบบไฟฟ้า ในฟาร์มที่เลี้ยงปลาต้องการออกซิเจนสูง เช่น ปลาทอง ปลาคาร์พ ปลาหมอสี ควรมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เครื่องสำรองไฟฟ้าสำหรับการทำฟาร์มแบบธุรกิจนั้นมีความจำเป็นมาก หากขาดออกซิเจนทำให้ปลาเครียด ป่วย และไม่กินอาหาร
8)  อุปกรณอื่น ๆ ที่จำเป็น เช่น  เครื่องทำน้ำอุ่น   ตู้เย็น เพื่อเก็บรักษาอาหาร สวิง ถังออกซิเจน กะละมัง

1.2  ส่วนที่ 2 การจัดการฟาร์ม

ได้แก่ การจัดการเกี่ยวกับพ่อแม่พันธุ์ปลา อาหารและการให้อาหาร สุขภาพสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ การจัดเตรียมปลาเพื่อจำหน่าย การบรรจุและลำเลียงขนส่งปลา สุขลักษณะภายในฟาร์มและระบบการบันทึกข้อมูลการจัดการฟาร์มอย่างถูก สุขอนามัย
อาหาร และการให้อาหาร ควรเลือกชนิดอาหารให้เหมาะสมกับอุปนิสัยและขนาดของปลา เช่น ปลาขนาดเล็ก ปากเล็กต้องการอาหารที่มีคุณค่าสูงโดยใช้อาหารมีชีวิต ให้อาหารน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ส่วนการให้อาหารมากเกินไป อาหารไม่ย่อยปลาอาจท้องอืดตาย
1)   อาหารที่ใช้กับปลาสวยงาม จำแนกได้ ดังนี้
(1)  อาหารมีชีวิต ได้แก่ ลูกน้ำ ไรแดง อาร์ทีเมีย ฯลฯ
(2)  อาหารสำเร็จรูป ได้แก่ อาหารผง อาหารเม็ด
(3) อาหารผสม ผู้เพาะเลี้ยงบางรายผสมอาหารเอง โดยมีส่วนประกอบทั้งเนื้อปลา เนื้อกุ้ง ปลาป่น ไข่ตุ๋น ให้ปลากิน
การให้อาหาร ถ้าเป็นอาหารมีชีวิต จำพวก ลูกน้ำ หนอนแดง ไรแดงน้ำจืด ก่อนนำมาใช้ต้องมีการฆ่าเชื้อ เนื่องจากอาหารดังกล่าวส่วนใหญ่ได้มาจากแหล่งน้ำไม่สะอาด ต้องฆ่าเชื้อโรค สำหรับอาหารสำเร็จรูป ควรเก็บในที่แห้ง มิดชิด ส่วนอาหารผสมเองต้องเก็บไว้ในตู้เย็น เช่น ไข่ตุ๋นผสมนม ผสมหัวอาหาร หนอนแดงแช่แข็ง ฯลฯ
2)  แนวทางป้องกันโรค  มีดังนี้
(1)  จัดผังบ่อให้อยู่ห่างกัน ระหว่างบ่อกักกันโรคกับบ่อเพาะเลี้ยง
(2)  แยกใช้อุปกรณ์กับปลาป่วยและปลาไม่ป่วย
(3)  ยาและสารเคมี ใช้ในเวลาที่จำเป็นจริง ๆ ควรใช้เกลือเพื่อช่วยลดความเครียด ปรับสภาพปลา สำหรับฟอร์มาลินใช้ในอัตราที่เหมาะสม
การกำจัดและทำลายปลาที่เป็นโรค หากพบว่าปลาที่เลี้ยงเป็นโรคระบาดร้ายแรง ต้องทำลายด้วยการฝังหรือเผา แต่ถ้าเลี้ยงปลาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครไม่สามารถเผาหรือฝังได้ ต้องบรรจุในถุงพลาสติกห่อให้เรียบร้อย ใส่ถุงขยะสีดำฝากทิ้งรถขยะ อย่าโยนทิ้งที่สาธารณะหรือแหล่งน้ำอาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ได้
3)  น้ำ    คุณภาพ น้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลาสวยงาม ควรมีระบบกรองน้ำ โดยมีหลักเบื้องต้น คือ การปรับปรุงคุณภาพน้ำ แหล่งน้ำแต่ละแห่งต่างกัน เช่น น้ำประปา น้ำคลอง น้ำบาดาล การปรับปรุงคุณภาพไม่ให้มีพิษ อาทิ น้ำประปาต้องไม่มีคลอรีน น้ำธรรมชาติไม่มีแอมโมเนีย ไนไทรต์ในปริมาณที่เป็นพิษต่อปลา
4)  อุณหภูมิ   มีความสำคัญ ส่วนใหญ่ปลาสวยงามของบ้านเราอยู่ในเขตร้อน ถ้าอุณหภูมิต่อกว่า 25 องศาเซลเซียส ปลาจะว่ายน้ำช้า เครียด ไม่ค่อยกินอาหาร ต้องแก้ไขให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม
5)  อากาศ    การเพิ่มอากาศในน้ำควรไม่น้อยกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร ปลาส่วนใหญ่ต้องการออกซิเจนสูง ยกเว้น ปลากัด ปลาหางนกยูง ในพื้นที่ที่ไม่มีออกซิเจนจะเห็นว่าปลากัดขึ้นมาฮุบอากาศตลอดเวลา เมื่อเห็นภาวะดังกล่าวควรปรับปรุงน้ำและเพิ่มอากาศ ทั้งนี้ในระหว่างการเพาะเลี้ยง ต้องตรวจวัดคุณภาพน้ำสม่ำเสมอทุกสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ต่อครั้ง จะช่วยลดปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเลี้ยง
6)  การจัดเตรียมปลาเพื่อจำหน่าย  ควรมีบ่อพักปลาก่อนจำหน่าย และขั้นตอนการจับก่อนนำมาใส่บ่อพัก ต้องระวังมิให้ปลาเครียด หรือปลาเกิดบาดแผล หรือครีบไม่สมบูรณ์ เพราะปลาที่ขนย้ายจะเกิดความเครียด สีเปลี่ยน ว่ายน้ำช้า ก่อนบรรจุลำเลียงต้องงดให้อาหารปลาและฆ่าเชื้อปรสิตก่อนจำหน่ายเป็นเวลา 7 – 10 วัน
7)   การบรรจุและขนส่ง   ควรบรรจุปลาในปริมาณพอเหมาะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดปลา ระยะทางอย่างน้อยอยู่ได้ 48 ชั่วโมง ซึ่งเป็นมาตรฐานทั่วไป โดยสามารถดูจากเว็บไซต์ชิบปิ้งส่งออกการบรรจุในน้ำสะอาดคุณภาพดี การขนส่งภายในประเทศต้องมีอุปกรณ์ช่วยป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ซึ่งไม่ควรเปลี่ยนเกินกว่า 1-2 องศาเซลเซียส หรือใช้ยาสลบช่วยลดความเครียดเมื่อขนย้ายปลาขนาดใหญ่
8)   สุขอนามัยฟาร์ม หรือสิ่งแวดล้อมภายในฟาร์ม   ควรมีการแบ่งส่วนโรงเรือน อุปกรณ์ ห้องน้ำ บางฟาร์มได้ปรับเปลี่ยนบ่อเลี้ยงกุ้งมาเป็นบ่อเลี้ยงปลาสวยงาม การทำความสะอาดรอบ ๆ ฟาร์มมีผลต่อภาพลักษณะของฟาร์มเปรียบเทียบได้ระหว่างซูเปอร์มาร์เกตกับร้าน ขายของชำ
9)  ระบบการบันทึกข้อมูล   จะช่วยได้หลายด้าน เช่น การเพาะพันธุ์ช่วงนี้เป็นอย่างไร พ่อแม่พันธุ์เป็นอย่างไร คุณภาพน้ำสัมพันธ์กับอาหาร สุขภาพของปลา การใช้สารเคมี เป็นบันทึกช่วยจำ ประวัติการใช้บ่อ ซึ่งปลาแต่ละชนิดมีรายละเอียดแตกต่างกันไป
สำหรับการให้อาหารธรรมชาติ เช่น ลูกน้ำ ถ้าไม่จำเป็นให้งด ส่วนการใช้ไรแดง หนอนแดง ก็ต้องระมัดระวังอาจมาจากแหล่งน้ำไม่สะอาด ควรใช้ไรทะเลหรืออาร์ทีเมียจะดีกว่า นอกจากนี้ควรมีเครื่องวัดความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำที่นำมาใช้ในการเพาะ เลี้ยงปลาสวยงาม เพื่อให้ได้ปลาที่มีคุณภาพสมบูรณ์และแข็งแรงอีกด้วย
เต็มดวง สมศิริ (2544 :  http://www.nicaonline.com/articles/ site/view_article.asp? idarticle=136 )  ได้กล่าวไว้ดังนี้  การส่งออกที่กระจายทั่วโลก ผู้นำเข้าปลายทางสร้างกติกาโดยระบุให้ออกใบรับรองการตรวจฟาร์มซึ่งมีการร้อง ขอมาหลายประเทศโดยเริ่มตรวจมาตั้งแต่ปี 2542 จำนวน 7 ฟาร์ม ปี 2543 จำนวน 9 ฟาร์ม ปี 2544 จำนวน 17 ฟาร์ม การรับรองให้เฉพาะที่ผ่านการตรวจจากสถาบันวิจัยสุขภาพสัตว์น้ำกรมประมง ประเทศที่กำหนดได้แก่ กรีซ นิวซีแลนด์ โมร็อคโค อิสราเอล ออสเตรเลียอิตาลีเซ็กโกสโลวาเกีย หากจะเปรียบเทียบกับออสเตรเลีย และ  สหภาพยุโรปใช้มาตราการ เข้มงวดกว่าออสเตรเลียทั้ง ๆ ที่ออสเตรเลียกำหนดเป็นประเทศแรก ขณะนี้ออสเตรเลียผ่อนปรน แต่สหภาพยุโรปเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะสเปนมีมาตรฐานสูงมาก
สำหรับการตรวจสุขอนามัยฟาร์ม จะตรวจบ่อพักน้ำระบบกรองระบบบำบัดระบบต่างๆ แยกกันชัดเจน ปัจจุบันฟาร์มมีการปรับปรุง และมีระเบียบมากขึ้น ส่วนระบบกรองต้องล้างทำความสะอาดเพราะเป็นแหล่ง หมักหมม ของเชื้อโรค ฟาร์มส่วนใหญ่ไม่มีระบบการจัดเก็บข้อมูล เช่น ชนิดปลาแหล่งที่มา หากเกิดโรคระบาดก็ไม่สามารถทราบแหล่งกำเนิดเชื้อโรคควรมีการบันทึกการป่วย โรคการใช้ยาและสารเคมี วันจำหน่ายส่งไปที่ใด พักปลาไว้กี่วัน บางแห่งไม่พักปลาส่งปลายทางปลาตาย ถ้าปลาสุขภาพไม่ดีก็อย่าส่งออกไปทำให้เสียภาพพจน์ของประเทศไทย
นอกจากนี้ฟาร์มยังไม่มีการแยกชนิดปลา ที่ได้มาจากธรรมชาติและการเลี้ยง การทำฟาร์มต้องแยกตู้ระหว่างปลาทั้งสองประเภทไม่ควรปะปนกันในแต่ละรุ่น เพราะปลาสภาพแวดล้อมต่างกัน เชื้อโรคก็จะต่างกันในการตรวจฟาร์ม ปีละ 4 ครั้ง ทุก ๆ 3 เดือน เวลาใกล้กำหนด ตรวจครั้งต่อไป เจ้าของฟาร์มต้องแจ้งล่วงหน้าเพราะการตรวจใช้เวลา 1 สัปดาห์ เนื่องจากต้องตรวจปลาด้วย ซึ่งบางประเทศ ระบุในใบรับรองว่า ไม่มีของเสียจากมนุษย์หรือสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลหมู ที่ใช้เลี้ยงไรน้ำแล้วนำมาให้ปลากิน การเพาะไรแดง หนอนแดงของบ้านเราส่วนใหญ่ใช้มูลไก่ มูลหมู ดังนั้นต้องเปลี่ยนระบบการเพาะไรแดง
2.  เกณฑ์การตรวจสุขภาพอนามัยฟาร์ม
เต็มดวง สมศิริ (2544  : http://www.nicaonline.com/articles/ site/view_article. asp?idarticle=136 )   ได้กล่าวถึง เกณฑ์การตรวจสุขภาพอนามัยฟาร์ม ไว้ดังนี้
1.  ฟาร์มควรมีบ่อพักระบบกรองน้ำ และระบบบำบัดน้ำใช้แล้วแยกกันชัดเจน
2.  สภาพภายในฟาร์ม ทางเดิน ทางระบายน้ำ ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ตู้ปลาหรือบ่อปลาระบบให้อากาศ ระบบบ่อพักน้ำระบบกรองน้ำ มีการรักษาความสะอาด และบำรุงรักษาเป็นอย่างดี
3.  ฟาร์มจะต้องมีระบบการเก็บข้อมูล ชนิด และจำนวนของสัตว์น้ำที่มีอยู่ในฟาร์ม ตลอดจนบันทึก วัน และสถานที่ที่ซื้อสัตว์น้ำเข้ามาในฟาร์ม
4.  ฟาร์มจะต้องมีระบบบันทึก ลักษณะอาการป่วย การตายของปลา ประวัติการใช้ยา และสารเคมีในการรักษาในกรณีที่พบโรคชนิดใหม่ที่รักษาไม่หาย จะต้องส่งตรวจโรคที่คลินนิกโรคสัตว์น้ำ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
5.  ฟาร์มจะต้องแยกชนิดของสัตว์น้ำที่จับมาจากธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงออกจาก กัน หรือแยกสัตว์น้ำที่นำเข้ามาแต่ละครั้งไม่ให้ปะปนกัน
6.  ปลาที่อยู่ในฟาร์มไม่เคยป่วย เป็นโรคติดต่อร้ายแรงในระยะเวลา 3 เดือน ที่ผ่านมา
7.  การเลี้ยงปลาในฟาร์มปลาส่งออก จะต้องไม่ใช้อาหารที่มีส่วนประกอบจากของเสียของมนุษย์หรือสัตว์
8.  ระบบน้ำที่ใช้ภายในฟาร์มจะต้องใสสะอาดและมีคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำดื่ม เช่น น้ำประปา หรือน้ำบาดาลที่ผ่านการกรอง และฆ่าเชื้อแล้ว
9.  ชนิดของปลาที่อยู่ในฟาร์มหรือปลาที่จะส่งออก จะต้องไม่เป็นชนิดปลาต้องห้าม ตามพระราชบัญญัติประมง และพระราชบัญญัติสัตว์สงวนและคุ้มครอง
10.  ปลาต้องได้รับการแช่สารเคมี ก่อนการส่งออกอย่างน้อย 7 วัน เพื่อกำจัดปรสิตต่าง ๆ ที่เกาะตามผิว ตัว และเหงือก เช่น สารฟอร์มาลิน ดิพเทอร์เร็กซ์ หรือเกลือ
11.  บริเวณที่บรรจุปลาเพื่อการส่งออกต้องสะอาด และควรแยกจากพื้นที่พักปลา
12.  ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุ เพื่อการขนส่งจะต้องเป็นของใหม่
13.  เจ้าหน้าที่กรมประมงจะทำการตรวจสุขภาพอนามัยฟาร์มและสุ่มตัวอย่างปลา มาทำการตรวจวินิจฉัยเชื้อโรค ประมาณ 2-4 ครั้งต่อปี
ระบบน้ำ การเพาะเลี้ยงปลาสวยงามจะใช้  น้ำประปา  น้ำบาดาล  ลำคลอง คลองชลประทาน ถ้าเป็นน้ำคลองต้องมีบ่อพักน้ำใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น คลอรีน จากนั้นนำน้ำผ่านระบบกรองน้ำใส แล้วจึงนำมาใช้ในฟาร์มเพื่อส่งออก ส่วนน้ำที่ใช้ในการบรรจุปลาส่งออก อยู่ในระดับน้ำที่ใช้ดื่มได้อย่างไรก็ตามขอให้น้ำใส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
ชนิดปลาที่ส่งออก มีหลายฟาร์มนำปลาต้องห้ามมาอยู่ในฟาร์ม เช่น ปลาหมูอารีย์ ปลาตะพัด ปลาเสือตอ ปลายี่สกไทย ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาปักเป้า ปลาจิ้มฟันจระเข้ ส่วนใหญ่เป็นปลาที่จับจากธรรมชาติ ฉะนั้น ต้องตรวจสอบว่าตัวไหน ต้องห้ามครอบครองตามพระราชบัญญัติกรมประมงและไซเตส
———————————————————————————————————————                          ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์  (2551) “การทำฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาสวยงามตามมาตรฐานกรมประมงประมง ”  เรื่อง การผลิตและการตลาด
ปลาสวยงามของ เกษตรกร    ผู้ทำการค้าใน เขตจตุจักร วิทยานิพนธ์ ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิขา
ส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การผลิตปลาสวยงาม

การผลิตปลาสวยงาม

ทรง ศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์

ในสภาวะตลาดปลาสวยงามปัจจุบัน  ปลาสวยงามที่เพาะเลี้ยง เพื่อการค้าจำเป็น ต้องมีคุณภาพ โดยเน้นเรื่องการรักษาสายพันธุ์และการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ดังนั้น วิธีการ และขั้นตอนการเพาะเลี้ยง ควรมีการควบคุมและเอาใจใส่ปลาสวยงามที่เพาะเลี้ยงอย่างใกล้ชิดโดยจัดเตรียม สิ่งต่างๆ ตามมาตรฐาน ให้เหมาะสม ตามวิธีการและขั้นตอนทั้งทางด้านสถานที่เพาะเลี้ยง แหล่งน้ำ บ่อหรือภาชนะ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ตลอดจนอาหารและการป้องกันรักษาโรคปลาต่างๆ  ซึ่งควรให้ความสำคัญ  ดังนี้

1.  การคัดเลือกสถานที่เพาะเลี้ยง
วันเพ็ญ มีนกาญจน์ และคณะ  (2543 : http://www.fisheries.go.th/fpo-phichit/newproduck/goldfish.htm) ได้กล่าวถึง  ในการคัดเลือกสถานที่เพาะเลี้ยง นับว่ามีความสำคัญเป็นอันดับแรก  ด้วยเหตุผลที่สำคัญหลายประการการคัดเลือกสถานที่ในการเลี้ยงปลาทอง ซึ่งจัดอยู่ในปลาสวยงามออกลูกเป็นไข่ จะต้องหา ทำเล ที่เหมาะสม โดยยึดหลักเกณฑ์ดังนี้
1)   ไม่เป็นที่อับแสงแดดหรือมีแสงแดดมากเกินไป   เพราะถ้าเป็นที่อับอากาศ หรืออับแสงจะทำให้ปลาสีซีดไม่แข็งแรง และหากแสงมากเกินไปจะมีผลในการดูแลความสะอาดเพราะน้ำเขียวเร็วเนื่องจากแสง แดดทำให้ตะไคร่น้ำเติบโตเร็วหากบ่ออยู่ในที่โล่งแจ้งควรใช้ตาข่ายกรองแสง ประมาณ 60%
2)  ไม่ควรอยู่ใกล้แหล่งสารเคมีที่มีพิษ โดยเฉพาะถ้าใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่ไหลผ่านโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการปนเปื้อน สารพิษคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงจะมีการเปลี่ยนแปลงมากในรอบปี สำหรับหน้าแล้งอาจเกิดสภาวะขาดน้ำ หรือน้ำเสียจากโรงงานเป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์น้ำได้
3)  ไม่เป็นที่มีเสียงอึกทึกครึกโครมหรือเสียงรบกวน  ทำให้ปลาตกใจเป็นประจำจะส่งผลถึงการกินอาหารของปลา และการเคลื่อนไหวร่างกายอาจผิดปกติได้
4)   บ่อไม่ควรอยู่ตรงชายคาที่มีน้ำตกพอดี  เพราะน้ำฝนที่มีคุณสมบัติเป็นกรดจะทำให้น้ำในบ่อเลี้ยงปลามีคุณสมบัติ เปลี่ยนไป มีผลให้ปลาอ่อนแอติดโรคได้ง่าย
5)  ไม่เป็นที่ที่มีศัตรูของปลาหรือมีใบไม้ร่วง   เป็นสาเหตุให้น้ำเน่าหากมีศัตรูปลา เช่น นกหรือแมว ควรจะหาวัสดุป้องกัน เช่น ตาข่ายกั้นรอบบริเวณที่เพาะเลี้ยง
6)   ควรเป็นสถานที่ที่มีที่กำบังลมและแสงแดด   เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกะทันหัน โดยเฉพาะในฤดูหนาว
7)   ควรสร้างบ่อให้มีความลาดเอียง เพื่อให้สะดวกต่อการเปลี่ยนถ่ายน้ำโดยสามารถระบายน้ำได้หมดทั้งยังสะดวกใน การทำความสะอาด ตากบ่อ และการกำจัดเชื้อโรค
8)    สร้างระบบน้ำ โดยมีท่อน้ำเข้า ท่อระบายน้ำออก ระบบเพิ่มอากาศที่มีประสิทธิภาพและมีอุปกรณ์สำรองเพื่อป้องกันภาวะฉุกเฉิน กรณีไฟฟ้าดับ
9)   ควรกำจัดพาหะที่อาจนำโรคมาสู่ปลา  พาหะที่สามารถมองเห็นได้จากบริเวณสถานที่เลี้ยง เช่น คางคกหรือลูกหอยตัวเล็ก

2.   แหล่งน้ำและน้ำที่นำมาใช้เพาะเลี้ยง
วันเพ็ญ มีนกาญจน์  และคณะ  (2543 : http://www.fisheries.go.th/fpo-phichit/newproduck/goldfish.htm ) ได้กล่าวถึงน้ำเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากในการเลี้ยงปลา เพราะมีผลต่อปลาโดยตรง เช่น   คุณภาพน้ำที่เหมาะสมจะทำให้ปลาเจริญเติบโตเร็ว ปลาไม่เกิดความเครียด สุขภาพดี แข็งแรงมีความต้านทานต่อโรคได้ดี น้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงที่ได้จากแหล่งต่าง ๆย่อมมีคุณสมบัติต่างกัน ดังนั้นการเลือกสถานที่ในการทำฟาร์ม ก็ควรคำนึงถึงแหล่งน้ำและคุณสมบัติน้ำเป็นปัจจัยต้น ๆน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาทอง สามารถนำมาจากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
1)   น้ำที่ได้จากลำคลอง หนอง บึง จะมีตะกอนดินและแร่ธาตุจากดิน และหินละลายในน้ำรวมทั้งจุลินทรีย์และปรสิตปะปนมาควรนำน้ำจากแหล่งนี้ไปปรับ ปรุงคุณภาพก่อนนำไปเลี้ยงปลาโดยใส่น้ำในบ่อพักเติมปูนขาว เพื่อช่วยในการตก ตะกอนให้เร็วขึ้น ฆ่าเชื้อโรคและปรับความเป็นกรด- ด่าง (pH) พักน้ำไว้ประมาณ 1 – 2 วัน ก็จะสามารถสูบน้ำไปใช้ได้
2)   น้ำบาดาล   เป็นน้ำที่สูบจากใต้ดิน มีแร่ธาตุละลายปนมา เช่น สนิมเหล็ก น้ำจะมีกลิ่นแร่ธาตุ กลิ่นโคลนและมีปริมาณออกซิเจนต่ำซึ่งแก้ไขโดยนำน้ำมาพักทิ้งไว้เพื่อช่วย เพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ น้ำบาดาลที่ได้จากแหล่งน้ำใต้ดินที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงปลา จัดเป็นแหล่งน้ำที่ดีเพราะมีเชื้อโรคปนเปื้อนต่ำและสามารถใช้ได้ตลอดฤดูกาล
3)   น้ำประปา   น้ำประปาเป็นน้ำที่สะอาดและมีคุณสมบัติเหมาะสมนำมาใช้เลี้ยงสัตว์น้ำได้ดี เนื่องจากน้ำประปาผ่านการบำบัดและการกรองหลายขั้นตอน  ปราศจากเชื้อโรค แต่มีราคาแพงและมีปัญหาเรื่องปริมาณคลอรีนที่หลงเหลืออยู่ในน้ำ ซึ่งวิธีการกำจัดคลอรีนสามารถดำเนินการได้ดังนี้
(1)   พักน้ำไว้ 2-3 วันหรือพักไว้ในที่แจ้งตากแดดตลอดเวลา 24 ชั่วโมง คลอรีนจะแตกตัวระเหยไปกับอากาศ
(2)  ใช้กรองด้วยถ่านคาร์บอน (Ativated Carbon)
(3)   ถ้าต้องการใช้น้ำเลี้ยงปลาทันที สามารถเติมโซเดียม ไธโอซัลเฟต

3.   บ่อหรือภาชนะที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง
วันเพ็ญ มีนกาญจน์  และคณะ  (2543 : http://www.fisheries.go.th/fpo-phichit/ newproduck/goldfish.htm )ได้กล่าวถึง บ่อหรือภาชนะที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง ปลาสวยงามไว้ว่า
1)   ตู้ปลา ในกรณีที่มีตู้ปลาเก่า อาจใช้สำหรับอนุบาลลูกปลา เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์หรือเพาะพันธุ์ได้ แต่ถ้าเป็นการลงทุนใหม่ไม่ควรซื้อตู้ปลาเพราะต้นทุนสูง
2)   อ่างซีเมนต์  เป็นอ่างซีเมนต์ขนาดเล็ก อาจซื้อสำเร็จรูปหรือทำขึ้นเองเป็นอ่าง สี่เหลี่ยมขนาดประมาณ 60 x 80 เซนติเมตร  และมีความลึกประมาณ 20 – 25   เซนติเมตร หรือเป็นบ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ  80 -120 เซนติเมตรและมีระดับความลึกประมาณ 25 – 30 เซนติเมตร เหมาะสำหรับอนุบาลลูกปลาหรือนำมาใช้เลี้ยงปลา ที่คัดขนาดแล้วหรือจะใช้เพาะพันธุ์ก็ได้
3)   บ่อซีเมนต์  โดยปกติจะนิยมสร้างให้มีขนาด กว้าง x ยาว  เท่ากับ 2 x 2  หรือ 2 x 3 เมตรบ่อชนิดนี้เหมาะสำหรับการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์   เพาะพันธุ์และเลี้ยงลูกปลาได้ทุกขนาดบ่อซีเมนต์ทุกประเภทก่อนที่จะนำมาใช้ ต้องมีการสร้างทำความสะอาดแช่น้ำไว้ประมาณ  1 สัปดาห์
แล้วถ่ายน้ำ ทิ้งเพื่อล้างและกำจัดปูนซีเมนต์ออกให้หมด
การสร้างบ่อปลาต้องคำนึงถึงระบบการกำจัดของเสียเป็นสำคัญ โดยการสร้างให้มี ความลาดเอียง เพื่อให้ของเสียและตะกอนไหลมารวมกันในพื้นที่ที่เป็นที่ต่ำ และสร้างท่อระบายน้ำออกตรงบริเวณนั้น โดยมีตะแกรงครอบบริเวณฝาท่ออีกที เมื่อถ่ายน้ำก็ดึงฝาครอบท่อออก ของเสียและตะกอนต่าง ๆ จะไหลปนไปกับน้ำ ซึ่งมีตะแกรงทำหน้าที่ป้องกันลูกปลาไหลออกมาเวลาระบายน้ำถ้าเป็นบ่อขนาดเล็ก นิยมที่สร้างท่อระบายน้ำออกไว้ตรงกลาง แต่ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่จะสร้างไว้บริเวณด้านข้างเพื่อความสะดวกในการเปิดปิด ท่อระบายออกเวลาเปลี่ยนถ่ายน้ำ วิธีการสร้างบ่อลักษณะนี้ จะทำให้ประหยัดแรงงานและปริมาณน้ำมากกว่าการสร้างบ่อที่ไม่มีความลาดเอียง และไม่มีท่อระบายน้ำออก
นอกจากบ่อและภาชนะรูปแบบต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วอาจสร้างบ่อหรืออ่างในรูปแบบอื่น ๆ ก็ได้ เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุน เช่น ทำจากผ้าใบโดยมีโครงไม้โครงเหล็ก หรือปูแผ่นพลาสติกบนบ่อที่ยกขอบด้วยอิฐบล๊อก เป็นต้น
4)   กระชัง   การเลี้ยงปลาสวยงามใน กระชังไนล่อน ที่เกษตรกรนำมาเพาะเลี้ยง เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอด ปลาทอง ปลาคาร์พ เป็นต้น
5)   ภาชนะที่เป็นขวด/โหลขนาดเล็ก   สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (2545 ก : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=69)   เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีนิสัยก้าวร้าว ชอบต่อสู้เมื่ออายุประมาณ 1 1/2 -2 เดือน การเลี้ยงปลากัดจึงจำเป็นต้องรีบแยกปลากัดเลี้ยงในภาชนะเพียง 1 ตัวก่อนที่ปลาจะมีพฤติกรรมต่อสู้กัน ภาชนะที่เหมาะสมที่สุดควรนำมาใช้เลี้ยงปลากัด ได้แก่ ขวด(สุรา) ชนิดแบนบรรจุน้ำได้ 150 ซีซี เพราะสามารถเรียงกันได้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่

4.   การเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม
ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์  (2549 : http://home.kku.ac.th/pracha/Breeding.htm)  การเพาะพันธุ์ปลาที่ดำเนินการกันอยู่ในปัจจุบัน มีวิธีการดังนี้
1)  การเพาะพันธุ์ปลาแบบกึ่งควบคุมธรรมชาติ  เป็นวิธีที่ใช้เพาะปลาที่ขยายพันธุ์ได้ง่ายๆ   ผู้เพาะไม่ต้องจัดเตรียมอะไรมากนัก   เพียงแต่นำปลามาปล่อยไว้แล้วให้อาหารเลี้ยงดูไปเรื่อยๆ   ปลาก็จะมีการแพร่พันธุ์ให้ตัวอ่อนออกมาเอง   เมื่อพบว่าลูกปลาโตพอสมควรก็รวบรวมออกจำหน่าย   โดยเฉพาะพวกที่ออกลูกเป็นตัว   เช่น  ปลาหางนกยูง   ปลาสอด   ปลาเซลฟิน
2)   การเพาะพันธุ์ปลาแบบควบคุมธรรมชาติ   หรือเลียนแบบธรรมชาติ  เป็นวิธีการเพาะพันธุ์ปลา ที่มีการควบคุมใกล้ชิด   มีการจัดเตรียมสิ่งต่างๆให้แก่ปลา  จัดเตรียมขนาดบ่อเพาะตามความเหมาะสมของปลาแต่ละชนิด
3)   การเพาะพันธุ์ปลาโดยฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมน  เป็นวิธีการที่ใช้เพาะปลาที่ไม่สามารถวางไข่ในบ่อเลี้ยงหรือในบ่อเพาะได้   หรือเป็นปลาที่วางไข่ยาก   ถึงแม้ปลาพวกนี้จะมีการสร้างรังไข่และน้ำเชื้อได้ดี   แต่จะไม่เกิดพฤติกรรมการแพร่พันธุ์วางไข่   ทั้งนี้เนื่องจากปลา      ต้องการความจำเพาะจากสภาพแวดล้อม   เช่นต้องการการว่ายน้ำสวนน้ำหลากเป็นระยะทางไกลๆ   หรือเลือกพื้นที่วางไข่ที่เฉพาะเจาะจง   โดยปลาที่จะนำมาฉีดกระตุ้นด้วยฮอร์โมน   จะต้องเป็นปลาที่มีไข่แก่และน้ำเชื้อดีแล้ว   การเพาะพันธุ์ปลาวิธีนี้ยังแบ่งเป็น  2  แบบ  ดังนี้
(1)  การฉีดฮอร์โมนเพื่อให้เกิดการแพร่พันธุ์วางไข่  เป็นวิธีการที่เมื่อฉีดฮอร์โมนให้แก่พ่อแม่พันธุ์ปลาเรียบร้อยแล้ว จะปล่อยปลาลงบ่อเพาะ หลังจากนั้นประมาณ  4 – 6  ชั่วโมง ปลาจะเกิดการผสมพันธุ์วางไข่กันเอง  เช่น ปลาตะเพียนทอง  ปลาทรงเครื่อง  ปลากาแดง   ปลาหมู  และปลาหางไหม้
(2)  การฉีดฮอร์โมนเพื่อให้เกิดการตกไข่  เป็นวิธีการที่เมื่อฉีดฮอร์โมนให้แก่พ่อแม่พันธุ์ปลาแล้ว  จะพักปลาไว้ในบ่อพัก   เพราะปลาพวกนี้จะไม่เกิดการผสมพันธุ์วางไข่เอง   ต้องรอจนปลาพร้อมที่จะตกไข่  จึงนำขึ้นมารีดไข่และน้ำเชื้อผสมกันในภาชนะ   ซึ่งวิธีการที่นิยมใช้สำหรับการรีดไข่และน้ำเชื้อปลาผสมกันในปัจจุบัน  เรียกว่า วิธีดัดแปลงวิธีแห้ง (Modified  Dry Method)  คือเตรียมภาชนะขนาดเล็กผิวเรียบที่แห้ง  เช่น กะละมังอะลูมิเนียม หรือกะละมังพลาสติก      ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  12 – 15  เซนติเมตร  นำแม่ปลาที่พร้อมจะรีดไข่ได้มาเช็ดตัว  เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำจากตัวปลาหยดลงไปในกะละมังในขณะรีดไข่ จากนั้นรีดไข่จากท้องปลาลงในกะละมังจนหมดท้อง  นำปลาเพศผู้มาเช็ดตัวเช่นกันและรีดน้ำเชื้อลงบนไข่ที่รีดไว้แล้ว ใช้ขนไก่คลุกเคล้าไข่และน้ำเชื้อปลาให้เข้ากัน(ใช้เวลาประมาณ  30  วินาที)   เติมน้ำสะอาดลงไปให้พอท่วมไข่และใช้ขนไก่คลุกเคล้า  การผสมของไข่และเชื้อตัวผู้จะเกิดในขณะนี้  เพราะเมื่อไข่ได้รับน้ำช่อง Micropyle จะเปิด ในขณะที่เชื้อตัวผู้เมื่อได้สัมผัสน้ำเช่นกัน  ก็จะเกิดการว่ายน้ำอย่างรวดเร็ว และ จะเข้าไปทางช่องเปิดของไข่ได้  ซึ่งจะปล่อยให้เชื้อตัวผู้เข้าไปได้เพียงตัวเดียวแล้วจะปิด  สำหรับไข่ที่ไม่มีเชื้อตัวผู้เข้าผสมช่อง Micropyle ก็จะปิดภายในเวลา  30 – 60 วินาที  ดังนั้นเมื่อใช้ขนไก่คนไปมาประมาณ  1 นาที จะหยุดเพื่อปล่อยให้ไข่ตกตะกอนลง  รินน้ำทิ้งเพื่อไล่น้ำคาวที่มากับไข่และน้ำเชื้อทิ้งไป  จากนั้นจะเติมน้ำใหม่อีกให้เกือบเต็มกะละมัง ใช้ขนไก่คนประมาณ  1  นาที  ปล่อยตกตะกอนรินน้ำทิ้งเพื่อไล่น้ำคาว ทำเช่นนี้  2 – 3 ครั้งแล้วนำไข่ไปใส่บ่อฟักไข่   ในกรณีที่เป็นไข่ติด   เมื่อเติมน้ำพอท่วมไข่และใช้ขนไก่คลุกเคล้าแล้ว   ต้องนำไข่ไปใส่บ่อฟักไข่เลย   เพราะถ้าใส่น้ำมากเปลือกไข่จะเกิดสารเหนียว  ไข่จะจับตัวกันเองเป็นก้อนทำให้ไม่สามารถฟักตัว   การใส่น้ำน้อยจะทำให้ไข่ยังไม่เกิดสารเหนียว  เมื่อนำไปใส่บ่อฟักไข่จึงเกิดสารเหนียวแล้วติดกับวัสดุหรือเทียมที่เตรียม ไว้
4.1   การเตรียมบ่อเพาะพันธุ์
ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์  (2549: http://home.kku.ac.th/pracha/Breeding.htm)   ได้กล่าวถึงดังนี้ การเตรียมบ่อเพาะ  จะต้องให้มีความพร้อมที่ปลาต้องการในการวางไข่ให้มากที่สุด   เช่น  ปลาทอง   ปลาคาร์พ   ปลาเสือสุมาตรา   ปลาเซเป้   ในธรรมชาติจะวางไข่บริเวณผิวน้ำ   ในบ่อเพาะจึงควรเตรียมรังลอยใกล้ผิวน้ำ ปลาดุก   ปลาแขยง   ปลากด   ในธรรมชาติจะวางไข่ตามบริเวณพื้นก้นบ่อ   ในบ่อเพาะจึงควรเตรียมรังอยู่ก้นบ่อ   นอกจากนั้นระดับน้ำในบ่อเพาะสำหรับการเพาะปลาสวยงาม   ไม่ควรเกินกว่า  30  เซนติเมตร
การเตรียมบ่อที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลาทองควรเป็นบ่อซีเมนต์ มีขนาด ประมาณ 1 ตารางเมตร ขัดล้างให้สะอาดด้วยแปรงและสบู่แล้วฉีดน้ำล้างหลายๆครั้ง จากนั้น เตรียมน้ำใหม่ที่ระดับประมาณ  20 – 25 เซนติเมตร นอกจากนั้นยังอาจใช้กะละมังขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 เซนติเมตรเป็นบ่อเพาะปลาทองก็ได้  ปลาทองเป็นปลาที่มีไข่ประเภทไข่ติด พฤติกรรมการวางไข่นั้นปลาเพศผู้จะว่าย น้ำไล่ปลาเพศเมียไปเรื่อยๆ   ปลาเพศเมียเมื่อพร้อมจะวางไข่จะว่ายน้ำเข้าหาพรรณไม้น้ำตามริมน้ำ   แล้วปล่อยไข่ครั้งละ  10 – 20  ฟอง   ปลาเพศผู้ที่ว่ายน้ำตามมาก็จะปล่อย น้ำเชื้อตาม   ไข่จะได้รับการผสมพร้อมกันนั้นก็เกิดสารเหนียวที่เปลือกไข่   ทำให้ไข่เกาะติดอยู่ตามราก  ลำต้น  และใบของพรรณไม้น้ำ   ดังนั้นการเตรียมรังในบ่อเพาะปลาทอง   ควรเป็นรังที่ช่วยให้ไข่ติดได้ง่ายและมากที่สุด   คือต้องมีลักษณะเป็นฝอยนิ่มและค่อนข้างยาว   รังที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่รังที่ทำจากเชือกฟาง   โดยนำเชือกฟางสีใดก็ได้มาผูกเป็นกระจุก(คล้ายกับพู่ที่เชียร์ลีดเดอร์ใช้)   มีความยาวประมาณ  20  เซนติเมตร   แล้วฉีกให้เป็นฝอยโดยพยายามให้เป็นเส้นฝอยขนาดเล็กให้มากที่สุด จากนั้นนำไป จุ่มในน้ำเดือดเพื่อให้เกิดความนุ่ม   แล้วทำกรอบไม้ (อาจใช้ท่อ เอสล่อน)ให้ลอยอยู่ผิวน้ำ  ขนาดเล็กกว่าบ่อเพาะเล็กน้อยเพื่อให้กรอบลอยอยู่ บนผิวน้ำในบ่อได้ดีนำรังมาผูกในกรอบไม้เพื่อให้รังลอยตัว  และรังจะกระจาย ตัวกันหากไม่ทำกรอบผูกรังรังจะถูกแรงลมที่เกิดจากเครื่องแอร์ปั๊มทำให้รัง ลอยไปรวมเป็นกระจุกอยู่ริมบ่อ   ปลาจะวางไข่ที่รังได้ยาก  การทำให้รังกระจายตัวกัน ช่วยให้ปลาสามารถวางไข่โดยกระจายไข่ตามรังที่จัด ไว้ทุกรังได้เป็นอย่างดี

4.2   การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
เกรียงศักดิ์ เม่งอำพัน (2549 : http://coursewares.mju.ac.th/section2/fa301/ Chapter1.htm)  ได้กล่าวถึง ไว้ดังนี้  เพื่อให้ได้พันธุ์สัตว์น้ำที่มีคุณลักษณะที่ต้องการ เช่น การคงอยู่ของสายพันธุ์ที่ดีตลอดมีความต้องการ โตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมและต้านทานโรค ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมเฉพาะการพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำ จึงมีความจำเป็น ถึงแม้ว่าจะยุ่งยากและต้องใช้เวลา
แนวทางในการคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำ   เพื่อให้ได้พันธุ์สัตว์น้ำที่มีคุณลักษณะที่ต้องการ เช่น การคงอยู่ของสายพันธุ์ที่ดีตลาดมีความต้องการ โตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมและต้านทานโรค ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมเฉพาะการพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำ จึงมีความจำเป็น ถึงแม้ว่าจะยุ่งยากและต้องใช้เวลา
1)  การจัดการพ่อ-แม่พันธุ์ (Broodstock Management) ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า จากการปล่อยและละเลยในเรื่องพันธุกรรม ทำให้ปลาหลายชนิดเริ่มมีการเจริญเติบโตลดลง แม้จะไม่มีการทดลองยืนยันในเรื่องนี้ แต่ข้อมูลจากการสังเกตของผู้เลี้ยงปลานับร้อย ๆ ราย ก็ทำให้เชื่อได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่จะเป็นความจริง จากความจริงที่ว่าลักษณะปรากฏ (Phenotype) เป็นผลมาจากลักษณะทางพันธุกรรม (Genotype) และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงสภาพการเลี้ยงประกอบกัน เมื่อสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงยังเป็นเช่นเดิม แต่ลักษณะปรากฏ คือการเจริญเติบโตช้าลง ก็ทำให้พออนุมานได้ว่าสาเหตุน่าจะเนื่องมาจากลักษณะทางพันธุกรรมนั่นเอง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่ลักษณะทางพันธุกรรมด้อยลงนี้มีสาเหตุมาจากการผสม เลือดชิด (Inbreeding) ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จึงมีข้อควรปฏิบัติคือ
(1)   ควรคัดปลาที่โตได้ขนาดตลาดรุ่นแรกสุดในบ่อมาเป็นพ่อแม่พันธุ์
(2)   ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์อายุต่างกันแยกกัน
(3)   ในการเพาะพันธ์แต่ละครั้งควรใช้พ่อแม่พันธุ์หลายคู่ หากการเพาะแต่ละครั้งใช้ปลาเพศเมียน้อยตัว สามารถเพิ่มจำนวนพ่อแม่พันธุ์ได้โดยใช้น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หลายตัวผสมกับ ไข่จากปลาตัวเมีย 1 ตัว เพื่อให้ไข่และน้ำเชื้อผสมกันได้หลาย ๆ คู่ อย่างน้อย 30 คู่ หรือใช้ตัวผู้ 3 ตัว ต่อตัวเมีย 1 ตัว 30 ชุด หรือตัวผู้ 3 ตัว ต่อตัวเมีย 2 ตัว 15 ชุด ซึ่งจะช่วยลดอัตราการผสมเลือดชิดลงได้ นอกจากนั้นควรคัดปลาที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ในปีต่อไปจากการผสมพ่อแม่หลาย ๆ คู่
(4)   เมื่อสังเกตว่าลูกปลาที่ผลิตเริ่มโตช้าควรหาพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งอื่น ไม่ควรใช้พ่อแม่พันธุ์ซ้ำ ๆ กันหลายครั้งในรอบปี ซึ่งโตดีกว่ามาผสมจะทำให้อัตราส่วนของยีนดีเพิ่มขึ้นในประชากร
2)  หลีกเลี่ยงในการผสมเลือดชิด เมื่อมีการผสมพันธุ์กันระหว่างสายพันธุ์ที่ใกล้ชิด ความสมบูรณ์และอัตราการรอดของลูกหลายรุ่นต่อไปก็จะลดลงเช่นเดียวกับคนเรา ได้มีการประมาณไว้ว่าหากมีการสืบพันธุ์ระหว่างพี่-น้อง ท้องเดียวกันแล้ว ความสมบูรณ์และอัตราการรอดจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 20 % และถ้ามีการผสมพันธุ์ระหว่างเครือญาติใกล้กันแล้วก็จะมีผลเกิดขึ้นในทำนอง เดียวกัน แต่ช้ากว่าหรือประมาณ 4 ชั้นอายุ (Generation) ความเสื่อมของสายพันธุ์ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต การผสมพันธุ์ การต่อต้านเชื้อโรคจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อพ่อแม่พันธุ์ ได้จำนวนลดลงในขีดจำกัดจำนวนหนึ่งแล้ว โอกาสที่จะมีการผสมพันธุ์ระหว่างวงศ์ญาติกันก็มีมากน้อยตามโอกาส แม้ในฟาร์มเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ ถ้าหากมีพ่อแม่พันธุ์ถูกใช้แล้วใช้อีกเป็นเวลาหลายปี พวกลูกหลานเกิดมาก็ย่อมมีโอกาสผสมพันธุ์กับรุ่นพ่อแม่พันธุ์ด้วย วิธีการหลีกเลี่ยงจัดการเช่นเดียวกับพ่อแม่พันธุ์
3)  การคัดเลือกสายพันธุ์  เป็นวิธีการที่นิยมแต่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ ลักษณะที่ต้องการให้ ชัดเจน นิยมในประชากรที่มีค่าความแปรปรวนสูง จะให้ผลตอบสนองต่อการคัดพันธุ์ได้ดี วิธีการคัดพันธุ์ ที่นิยม มี 3 วิธี ได้แก่
(1)  Mass Selection หรือ Individual Selection การคัดพ่อแม่พันธุ์โดยวิธีนี้จะพิจารณาจากลักษณะปรากฏของปลาที่จะคัดเพียง อย่างเดียว จากนั้นหากนำปลาที่คัดได้มาผสมพันธุ์กันโดยมีการวางแผนการผสมจะเรียกการคัด พันธุ์นี้ว่า Individual Selection หากนำพ่อแม่พันธุ์เหล่านั้นมาปล่อยรวมให้ผสมพันธุ์กันเอง เรียกว่า Mass Selection
(2)   Family Selection คัดโดยทำการผสมปลาเป็นคู่ ๆ จากนั้นนำลูกจากแต่ละคู่ผสมมาแยกเลี้ยงกัน เมื่อจะคัดก็พิจารณาจากค่าเฉลี่ยของลูกแต่ละครอบครัว เมื่อตัดสินใจเลือกครอบครัวใดก็จะเก็บไว้ทั้งครอบครัวเดียว ดังนั้นจำเป็นต้องเลี้ยงปลาจำนวนหลาย ๆ ครอบครัว แยกกันเป็นวิธีการที่ต้องการ แรงงานและบ่อจำนวนมาก
(3)   Within Family Selection ทำการผสมปลาเป็นคู่ ๆ เช่นเดียวกัน แต่จะทำการ คัดเลือกโดยคัดปลาที่โตดีที่สุดจากแต่ละครอบครัวไว้ ตัวอย่าง
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ปลาสวยงาม ต่างๆ ได้มีการกล่าวถึงไว้หลายวิธี ซึ่งแล้วแต่ ลักษณะของการผสมพันธุ์และการพัฒนาของไข่  รวมถึงการสืบพันธุ์ของปลาสวยงามแต่ละประเภทและชนิดพันธุ์ เช่น
ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์  (2549 : http://home.kku.ac.th/pracha/Breeding.htm)  ได้เขียนไว้ว่า  ปลาที่จะนำมาเพาะจะต้องเป็นปลาที่มีไข่แก่แล้วเท่านั้น   คือมีรังไข่อยู่ในขั้นพักตัว (Resting  Stage)   มิใช่ว่าปลาที่มีการตั้งท้องทุกตัว(คือเห็นส่วนท้องขยายออก)จะนำมาใช้เพาะ ได้ทั้งหมด   ผู้เพาะจะต้องรู้จักวิธีการคัดปลาที่มีไข่แก่พร้อมที่จะผสมพันธุ์   ซึ่งส่วนใหญ่จะอาศัยดูจากติ่งเพศ   ปลาที่มีไข่แก่จะมีการขยายตัวของติ่งเพศ   และส่วนท้องขยายนิ่ม   ทั้งนี้จะต้องขึ้นกับประสบการณ์   ความชำนาญ   และความช่างสังเกตของผู้เพาะพอสมควร
สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (2545 ก :
http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=69) ได้กล่าวถึง การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ปลากัด ที่นำมาทำการเพาะพันธุ์ ควรมีอายุตั้งแต่ 5-6 เดือนขึ้นไป โดยปลาจะให้ไข่ครั้งละประมาณ 500-1,000 ฟอง ในฤดูผสมพันธุ์ จะสังเกตเห็นความสมบูรณ์เพศของปลาได้ชัดเจน ในการคัดเลือกปลาเพื่อผสมพันธุ์ มีหลักที่ควรปฏิบัติดังนี้
ปลาเพศผู้ คัดปลาที่แข็งแรง ปราดเปรียว ลักษณะสีสดสวย ชอบสร้างรังซึ่งเรียกว่า “หวอด” โดยการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือกจากปากและลำคอผสมด้วย ซึ่งแสดงถึงว่าปลาเพศผู้มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่พร้อมที่จะผสมพันธุ์
ปลาเพศเมีย คัดเลือกปลาที่แข็งแรง สังเกตบริเวณท้องมีลักษณะอูมเป่งและบริเวณใต้ท้องจะมีตุ่มสีขาวใกล้กับรูก้น เห็นได้ชัดเจน ซึ่งตุ่มสีขาวนี้เรียกกันว่า “ไข่นำ”
สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ  (2545 ข :
http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=71 ) กล่าวถึงไว้ดังนี้  การคัดเลือกปลาเพศผู้และเพศเมียเพื่อทำการผสม ของปลาหางนกยูง ควรเลือกปลาที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป มีลักษณะลำตัวมีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ โคนหางใหญ่ แข็งแรงครีบสมบูรณ์ ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด รูปร่างได้สัดส่วน แข็งแรง ว่ายน้ำปราดเปรียว มีสีและลวดลายสวยงาม เพศผู้จะมีลักษณะต่างจากเพศเมียตรงที่อวัยวะในการสืบพันธุ์เรียกว่า gonopodium ซึ่งดัดแปลงมาจากครีบก้น ปลาเพศผู้และเพศเมีย ควรมีลักษณะสีและลวดลายที่เหมือนกันหรือคล้ายกันมากที่สุด เพื่อให้ได้ลูกปลาที่ลักษณะไม่แปรปรวนมากในการผสมพันธุ์ หากจำเป็นต้องเก็บลูกปลาที่เพาะไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ในครั้งต่อไป ควรหาพ่อแม่ปลาจากแหล่งอื่นมาผสมบ้าง เพื่อป้องกันการผสมเลือดชิด (Inbreeding) ซึ่งเป็นสาเหตุให้ลูกปลารุ่นต่อๆไปมีความอ่อนแอและมีอัตราการรอดต่ำ
กรมประมง   (ม.ป.ป. : http://www.fisheries.go.th/Dof_thai/knownledge/ aquarium/AQ_POM/AQ_POM_index.htm) ได้แนะนำการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์จัดได้ว่าเป็นสิ่งสำคัญประการแรก ควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
ไม่ควรซื้อพ่อแม่ปลาจากร้านปลาสวยงามทั่ว ๆ ไป เนื่องจากปลาที่ซื้ออาจจะเป็นปลาแก่ที่ไม่สามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว หรือมีประสิทธิภาพในการเพาะพันธุ์ต่ำ ซึ่งโดยมากจะเป็นปลาที่ฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์คัดออกแล้วขายให้แก่ ร้านปลาสวยงามทั่ว ๆ ไป ควรซื้อปลาจากฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาปอมปาดัวร์ที่ไว้ใจได้มีการคัดเลือกสาย พันธุ์แล้ว
ปลาที่เป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเป็นปลาที่ไม่ได้ผ่านการเร่งหรือย้อมสี เพราะฮอร์โมนที่ใช้ในการย้อมสีอาจจะมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ของปลาได้
ไม่ควรซื้อปลาขนาดใหญ่ มาเลี้ยงเพราะไม่สามารถทราบอายุที่แน่นอน และสุขภาพปลาได้ ควรซื้อปลาที่เรียกว่าขนาดเหรียญบาท ซึ่งมีอายุประมาณ 1-2 เดือน มาเลี้ยงเพื่อทราบถึงชีววิทยาปลา แต่ไม่ควรซื้อปลาจากคอกเดียวกันหรือเลือกชนิดเพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการ เพาะพันธุ์ต่ำ เปอร์เซ็นต์การรอดต่ำ ได้ลูกปลาน้อย และลูกปลาที่ได้อาจจะพิการหรือไม่สมบูรณ์ ควรเลือกซื้อลูกปลาที่ได้จากพ่อแม่ที่มีสีสันสดใสและลวดลายชัดเจนไม่เลอะ เลือน

4.3   ขั้นตอนในการเพาะพันธุ์
ขั้นตอนในการเพาะพันธุ์ปลาสวยงามต่างๆ มีหลายวิธี แล้วแต่ชนิดพันธุ์และประเภทของปลาสวยงาม ตลอดถึงการนำเทคนิควิธีที่ใช้ ของผู้เพาะพันธุ์ มาใช้   เช่น
สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ   (2545 ข : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=71)  ได้กล่าวถึง  ขั้นตอนในการเพาะพันธุ์ ปลาหางนกยูง มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1  เตรียมบ่อซีเมนต์ ขนาด 1- 4 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 30 –50 เซนติเมตร ใส่พุ่มเชือกฟางตะกร้าหรือฝาชีเพื่อให้ลูกปลาใช้เป็นที่ปลาหลบซ่อน
ขั้นตอนที่ 2   คัดพ่อแม่ปลาสายพันธุ์เดียวกันที่ลักษณะดีสีสวยอายุประมาณ 4 –6 เดือน โดยคัดปลาเพศผู้ ลำตัวโต แข็งแรง ครีบหลัง ครีบหางใหญ่และแผ่กว้างสีเข้มสดใส สวยงาม ส่วนปลาเพศเมียคัดเลือกสายพันธุ์เดียวกันกับปลาเพศผู้ ลำตัวโต แข็งแรง ปราดเปรียว ครีบหางเข้มสดใส ปล่อยรวมกันในอัตรา 120 -180 ตัวต่อลูกบาศน์เมตร ในสัดส่วนเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1:3 หรือ 1:4 ระหว่างการเพาะพันธุ์ให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้า และให้อาหารสำเร็จรูปในตอนเย็น ปลาเพศเมียที่ได้รับการผสมแล้วจะเห็นเป็นจุดสีดำบริเวณท้อง
ขั้นตอนที่ 3   หลังจากแม่ปลาได้รับการผสมพันธุ์ประมาณ 26 –28 วัน จะมีลูกปลาวัยอ่อนเกิดขึ้นและหลบซ่อนอยู่ตามวัสดุที่มาใส่ไว้ในบ่อให้รวบรวม ลูกปลาออกทุกวันสะสมไว้ในบ่ออนุบาล ประมาณ 4-5 วัน/ บ่อ เพื่อให้ลูกปลามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยปล่อยลูกปลาในอัตราความหนาแน่น 140-300 ตัวต่อลูกบาศน์เมตร ในระยะแรกให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าและเย็นทุกวันเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลามีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มแยกเพศได้ โดยปลาเพศเมีย สังเกตจุดสีดำบริเวณรูเปิดช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ เมื่อมองจากด้านบนมีรูปร่างเรียวยาวกว่าเพศเมีย
ขั้นตอนที่ 4    คัดขนาดและแยกเพศปลา นำไปแยกเลี้ยงในบ่ออัตรา 200-300 ตัวต่อลูกบาศน์เมตร ให้กินไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าส่วนตอนกลางวันและตอนเย็นให้กินอาหารสำเร็จ รูป เลี้ยงเป็นระยะเวลา 3เดือน (ปลามีอายุประมาณ 4 เดือน)
ขั้นตอนที่ 5    ปลาหางนกยูงอายุประมาณ 4 เดือน จะถูกคัดขนาดและคัดเลือกปลาที่แข็งแรงสมบูรณ์เพื่อนำไปเลี้ยงไว้ในบ่อพักปลา เพื่อเตรียมส่งจำหน่ายต่อไป
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูง เนื่องจากปลาหางนกยูงจะเจริญถึงวัยเจริญพันธุ์ เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น เมื่อลูกปลาพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ1-1.5 เดือน)ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง
สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (2545 ก : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=69)  กล่าวถึงการเพาะพันธุ์ ปลากัด ไว้ดังนี้  นำขวดปลากัดเพศผู้และเพศเมียที่มีความสมบูรณ์ทางเพศเต็มที่มาวางติดกัน ซึ่งวิธีนี้เรียกว่า “เทียบคู่” ซึ่งควรจะเป็นบริเวณที่ปราศจากสิ่งรบกวน จะทำให้ปลาตกใจ ใช้เวลาประมาณ 3-10 วันจากนั้นนำปลาเพศผู้และเพศเมีย ใส่ลงในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับผสมพันธุ์ เช่น ขันพลาสติก โหลแก้ว กาละมัง ตู้กระจกหรืออ่างดิน แล้วใส่พันธุ์ไม้น้ำที่แช่ ด่างทับทิม ได้แก่ สาหร่ายพุงชะโด สาหร่ายหางกระจอก จอก ใบผักตบชวา เป็นต้นเมื่อปลาสามารถปรับตัวให้ชินกับสภาพในภาชนะ (ประมาณ 1-2 วัน) ปลาเพศผู้จะเริ่มก่อหวอดติดกับพันธุ์ไม้น้ำหลังจากสร้างหวอดเสร็จ ปลาเพศผู้จะพองตัวกางครีบ ไล่ต้อนตัวเมียให้ไปอยู่ใต้หวอดขณะที่ตัวเมียลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำ ปลาตัวผู้จะรัดตัวเมียบริเวณช่องอวัยวะเพศ  จากนั้นไข่ก็จะหลุดออกมา พร้อมกับเพศผู้จะฉีดน้ำเชื้อเข้าผสม และปลาเพศผู้จะตามลงไปใช้ปากดูดไข่อมไว้ว่ายน้ำขึ้นไปพ่นไข่เข้าไปไว้ในฟอง อากาศจนกว่าจะหมดเมื่อสิ้นสุดการวางไข่ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลไข่เพียง ลำพัง และจะไล่ต้อนปลาเพสเมียไปอยู่ที่มุมภาชนะหลังจากนั้นรีบนำปลาเพศเมียออกจาก ภาชนะเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศเมียกินไข่ปล่อยให้ปลาเพศผู้ดูแลไข่ 2 วัน จึงแยกเพศผู้ออกไข่ปลากัดจะฟักเป็นตัวหลังจากได้รับการผสมน้ำเชื้อประมาณ 36 ชั่วโมง
เฉลิมวิไล ชื่นศรี (2539 : http://www.nicaonline.com/articles1/site/view article.asp?idarticle=120) ได้กล่าวถึง  ปลาหางไหม้ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติเช่นเดียวกับปลาตะเพียนขาว คือตอนต้นฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม ปลาเพศเมียท้องเริ่มอูมตั้งแต่เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธุ์ ปลาเพศเมียเวลาตั้งท้องมีไข่จะมีนิสัยดุร้าย ว่ายน้ำเข้าชนปลาที่เข้าใกล้ ต่อเมื่อไข่แก่เต็มที่ปลาเพศผู้จึงสามารถว่ายเคล้าเคลียจับเป็นคู่ๆได้ ปลาที่ว่ายเคล้าเคลียกันจะกระตุ้นเร่งเร้าการวางไข่โดยการใช้ปากชนบริเวณ ท้องและบริเวณช่องออกไข่ซึ่งกันและกัน ในเดือนพฤษภาคมปลาเพศเมียท้องอูมเป่งเห็นได้ชัด รูก้นสีแดงเรื่อๆ ช่องออกไข่มีสีเข้มเป็นติ่งกลมใหญ่ ขนาดแม่พันธุ์มีน้ำหนักประมาณ 155 กรัมจะให้ไข่ 6,000-7,000 ฟอง ปลาเพศผู้ที่เคล้าเคลียจะมีขนาดหนักประมาณ 126 กรัม
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์  (2546 : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=103)  ทรงนิพนธ์ ไว้ ดังนี้  ปลาเทวดาจะเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยและพร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้เมื่อมีอายุ ประมาณ 8-10 เดือน การจับคู่เพื่อการผสมพันธุ์และวางไข่เริ่มขึ้น โดยตัวผู้จะว่ายเคียงคู่กับตัวเมีย ในขณะเดียวกันจะพยายามกัดตัวอื่น ๆ ให้ห่างจากคู่ของตนและสร้างอาณาเขตของตัวเองไม่ให้ตัวอื่นเข้าใกล้ อาจจะเป็นบริเวณมุมตู้มุมใดมุมหนึ่ง โดยตัวเมียจะอยู่ด้านในติดกับมุมตู้ ตัวผู้มักจะว่ายน้ำอยู่ด้านนอก ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะทำความสะอาดบริเวณที่วางไข่ โดยการอมน้ำแล้วพ่นไปในบริเวณพื้นตู้ และเก็บสิ่งสกปรกต่าง ๆ เช่น เศษใบไม้ หรือตะกอนผงต่าง ๆ ออกจากบริเวณนั้น ซึ่งเป็นสัญญาณแสดงว่าตัวเมียพร้อมที่จะวางไข่ ทำการแยกปลาทั้งคู่ออกมาจากตู้ที่เลี้ยง ใส่ในตู้เตรียมไว้สำหรับเพาะ ซึ่งโดยมากแล้วนิยมใช้ตู้ขนาดความยาว 1 ฟุตขึ้นไป ใส่น้ำที่ปราศจากคลอรีนและมีการเพิ่มปริมาณออกซิเจนโดยการใช้ปั๊มลม
ตามธรรมชาติแล้วปลาตัวเมียจะวางไข่ติดกับวัสดุต่าง ๆ ในน้ำ เช่น ก้อนหิน ตอไม้ พรรณไม้น้ำชนิดต่าง ๆ ในน้ำ เช่น ก้อนหิน ตอไม้ พรรณไม้น้ำชนิดต่าง ๆ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงในตู้กระจกแล้ว นักเพาะปลามักนิยมใช้กระจกหรือพลาสติกแผ่นเรียบวางเอียงกับพื้นตู้ประมาณ 30-60 องศา แม่ปลาจะวางไข่ติดกับกระจกแล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ทันที จะผลัดเปลี่ยนกันเช่นนี้จนแม่ปลาวางไข่หมด ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ในแต่ละครั้งของการวางไข่ แม่ปลาจะวางไข่ประมาณ 300-2,000 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของแม่ปลา พ่อแม่ปลาจะเฝ้าไข่และคอยพัดโบกน้ำโดยใช้ครีบอก เพื่อเป็นการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

4.4   การฟักไข่
กาญจนรี พงษ์ฉวี (2545 : http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=70)    อธิบาย เกี่ยวกับการฟักไข่ปลาทอง มีดังนี้  นำรังเทียมที่มีไข่เกาะติดไปฟักในถังฟักไข่ ซึ่งอาจใช้บ่อซีเมนต์ ถังไฟเบอร์ โอ่ง หรือกะละมังพลาสติกก็ได้ ถ้าใช้ถังไฟเบอร์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ใส่น้ำลึก 50-60 เซนติเมตร จะใช้ฟักไข่ได้ประมาณ 100,000 ฟอง ให้อากาศตลอดเวลา ไข่ปลาทองจะฟักออกมาเป็นตัวภายใน 2-4 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ ลูกปลาแรกฟักมีขนาดเล็กมาก ตัวใส เกาะติดกับรังไข่หลังจากฟักเป็นตัวแล้วประมาณ 2-3 วัน ลูกปลาจึงจะว่ายออกจากรังไข่ และว่ายน้ำเป็นอิสระ ลักษณะตัวมีสีเข้มขึ้น จะนำรังเทียมออกจากบ่อในระยะนี้แล้วอนุบาลในบ่อเดิมต่อไป หรืออาจย้ายลูกปลาไปอนุบาลในบ่อใหม่ก็ได้
เฉลิมวิไล ชื่นศรี (2539 : http://www.nicaonline.com/articles1/site/view article.asp?idarticle=120)  กล่าวว่าไข่ปลาหางไหม้ที่รีดออกมามีสีน้ำตาลปนแดง หลังจากไข่ผสมน้ำเชื้อแล้วประมาณ 5-6 นาทีไข่จะเริ่มพองน้ำจนมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลใสมองเห็นถุงอาหารมีช่องระหว่างเปลือกไข่กับถุงอาหารไข่ปลาหาง ไหม้จะจมลงสู่ก้นกระชัง ฟักตัวในอุณหภูมิน้ำเฉลี่ย 27.5 องศาเซลเซียสในเวลา 13 ชั่วโมงหลังจากการผสม ถุงอาหารยุบในเวลา 3 วัน ลูกปลาเริ่มกินอาหารในวันที่4 อาหารเป็นพวกแพลงค์ตอนสัตว์และพืช ไรแดงและให้อาหารเม็ด ลูกปลาอายุ 50 วัน จะมีลักษณะเหมือนพ่อแม่ปลา แต่ขลิบต่างบนครีบยังไม่เด่น ชัด
4.5   การอนุบาลลูก
การอนุบาลลูกปลาเป็นขั้นตอนที่ต้องการความรู้ความชำนาญ  ตลอดจนการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างยิ่ง  การอนุบาลลูกปลาทะเลจะค่อนข้างยาก  เนื่องจากลูกปลาทะเลมักจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก ส่วนปลาน้ำจืดนั้นยังจัดว่าดำเนินการได้ง่ายเพราะลูกปลามีขนาดโตพอควร และหัดให้กินอาหารสมทบได้ง่าย ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ (2549 : http://home.kku.ac.th/pracha/ Breeding.htm)
โดยปกติแล้วลูกปลาทุกชนิดที่พึ่งฟักตัวออกจากไข่   จะมีถุงไข่แดง (Yolk  Sac) หรือถุงอาหารซึ่งจะสังเกตได้ว่าที่หน้าท้องของลูกปลาจะป่องนูนออกมา   ลูกปลาจะอาศัยอาหารจากถุงไข่แดงนี้เลี้ยงตัวอยู่ได้  1 – 2  วันแล้วแต่ชนิดปลา   ในระยะนี้ลูกปลาที่เกิดจากพวกไข่ติดมักจะเกาะอยู่ใกล้ๆบริเวณที่ฟักตัว   ส่วนลูกปลาที่ฟักออกจากไข่ครึ่งลอยครึ่งจม   ก็จะว่ายน้ำในลักษณะพุ่งตัวขึ้นลงในแนวดิ่งตลอดเวลา   เมื่อลูกปลาใช้อาหารจากถุงไข่แดงหมดแล้ว   ลูกปลาทั้งหลายก็จะว่ายน้ำในแนวระดับเพื่อหาอาหาร   ผู้เลี้ยงก็จะต้องจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมให้แก่ลูกปลา   หากลูกปลาไม่สามารถกินอาหารที่ให้   หรือได้รับอาหารไม่เพียงพอในช่วงแรกนี้   ลูกปลาจะแคระแกรนเติบโตช้า   และจะเริ่มทำอันตรายกันเอง   ทำให้มีอัตรารอดน้อย   จะสังเกตุได้ว่าลูกปลาในครอกเดียวกันจะมีขนาดแตกต่างกันมาก   แต่ถ้าลูกปลากินอาหารที่ให้ได้ดีและมีอาหารเพียงพอ   ลูกปลาจะเติบโตรวดเร็วมีขนาดสม่ำเสมอกัน   และมีอัตราการรอดสูง
1)   การอนุบาลลูกปลากินเนื้อ   ปลาที่จัดเป็นประเภทปลากินเนื้อ   เช่น  ปลากัด   ปลาเทวดา   ปลาปอมปาดัวร์   ปลาออสการ์   และปลามังกร   ลูกปลาที่เกิดมาก็มักจะต้องการอาหารที่มีชีวิตในช่วงระยะแรกๆ   ผู้เลี้ยงจำเป็นจะต้องเตรียมเพาะไรแดง   หรืออาร์ทีเมีย   ไว้เป็นอาหารลูกปลา   โดยจะต้องเลี้ยงด้วยอาหารมีชีวิตอยู่ประมาณ  10 – 20  วัน   แล้วแต่ชนิดปลา   ลูกปลาจะมีขนาดโตขึ้นและหากินอาหารได้ดี   จากนั้นจึงเริ่มหัดให้กินอาหารสมทบ   ลูกปลาก็จะเติบโตรวดเร็วและมีอัตราการรอดดี
2)   การอนุบาลลูกปลากินพืช  กลุ่มปลากินพืชและกินทุกอย่าง   เช่น   ปลาทอง   ปลาคาร์พ   ปลาหางนกยูง   ปลาสอด   ปลาซิว   ปลาสร้อย   และปลาตะเพียนทอง   เป็นกลุ่มปลาที่อนุบาลลูกปลาได้ง่าย   เมื่อลูกปลาใช้อาหารจากถุงอาหารหมดแล้ว   ลูกปลาสามารถกินอาหารสมทบได้ทันที   สมัยก่อนนิยมใช้ไข่ต้มสุกแล้วเอาเฉพาะไข่แดงมาขยี้ผ่านผ้าขาวบาง   ก็นำไปให้ลูกปลากินได้เลย   แต่ปัจจุบันนิยมใช้อาหารผงซึ่งเป็นอาหารอนุบาลลูกปลาดุก   เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วน   และลูกปลากินได้ดี   นำไปโปรยบนผิวน้ำอาหารจะค่อยๆดูดน้ำแล้วจมตัวลง   ลูกปลากินได้เป็นอย่างดี   ให้อาหารผงเป็นเวลา  10 – 15  วัน   ลูกปลาจะมีขนาดใหญ่ขึ้น  จึงหัดให้กินอาหารเม็ดต่อไป   เพราะการใช้อาหารเม็ดเลี้ยงปลาจะลดปัญหาเรื่องน้ำเสียได้ดีกว่าการใช้อาหาร ผง
กรมประมง  (ม.ป.ป. : http://www.fisheries.go.th/Dof_thai/knownledge/ aquarium/AQ_POM/AQ_POM_index.htm  )  กล่าวถึง  อนุบาลลูกปลาปอมปาร์ดัวร์ ไว้ดังนี้  หลังจากแม่ปลาวางไข่ 3 วัน ลูกปลาจะฟักเป็นตัวแต่จะยังอยู่ในบริเวณเปลือกไข่ จะเห็นส่วนหางเต้นไปมา ส่วนหัวจะเป็นจุดสีดำ ในระยะนี้ลูกปลาจะไม่กินอาหารเพาะมีถุงไข่ (Yolk sac) อยู่ในบริเวณท้องหลังจากนั้นอีก 3 วัน คือวันที่ 6 หลังจากเมื่อปลาวางไข่ ลูกปลาจะเริ่มว่ายน้ำมาเกาะเพื่อกินเมือกบริเวณลำตัวพ่อแม่ปลา สีของลำตัวของพ่อแม่ปลาจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนเกือบดำ พ่อแม่ปลาจะพยายามอมลูกปลาแล้วพ่นไปที่โดม ระยะนี้เป็นระยะที่สำคัญมาก ถ้าพ่อแม่ปลาตกใจจะกินลูกปลาเข้าไปเลย และควรระมัดระวังการให้อาหารพ่อแม่ปลา อย่าให้อาหารมากเพราะจะทำให้น้ำเสียเนื่องจากจะไม่มีการเปลี่ยนน้ำในระยะนี้
ในวันที่ 7 มีการถ่ายน้ำพร้อมกับดูดตะกอนออก ควรระมัดระวังลูกปลาจะติดไปในระหว่างดูดตะกอน ให้เหลือน้ำอยู่ประมาณครึ่งตู้เท่านั้น
ในวันที่ 8 ค่อย ๆ ดูดตะกอนและเริ่มเติมน้ำโดยใช้สายยางเล็ก ๆ หยดน้ำลงไปคล้ายกับการให้น้ำเกลือเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยถ้าถ่ายน้ำตอนเช้าจะต้องเติมน้ำโดยใช้เวลา 8-10 ชั่วโมง จึงจะได้ระดับครึ่งตู้เท่ากับเมื่อวันที่ 7 (การเปลี่ยนน้ำควรเติมน้ำเท่ากับปริมาณน้ำที่มีอยู่เดิม) และเปลี่ยน้ำเช่นนี้ต่อไปทุกวัน
ในวันที่ 13 ลูกปลาเริ่มว่ายน้ำไปมาอย่างอิสระบ้างแต่ยังกินเมือกของพ่อแม่ปลาเป็นอาหาร อยู่ สามารถให้อาหารเสริมได้ คือ อาร์ทีเมียที่เพาะใหม่ ๆ หรือลูกของไรแดงการแยกลูกไรแดงออกจากไรแดงตัวโต สามาถทำได้โดยใช้กระชอนตาถี่ที่ลูกไรสามารถลอดออกมาได้ไปช้อนไรแดงแล้วแกว่ง ในกะละมังที่มีน้ำอยู่ ลูกไรแดงจะหลุดออกมาอยู่ในกะละมัง แต่ไรแดงตัวโตไม่สามารถคลอดออกมาได้ จากนั้นจึงใช้กระชอนตาถี่ที่เล็กกว่าขนาดลูกไรไปช้อนมาอีกทีก็จะได้แต่เฉพาะ ลูกไรแดงขึ้นมา การให้ลูกไรแดงควรระมัดระวังไรชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายไรแดงแต่มีเปลือกแข็ง คล้ายแมลง เพราะถ้าลูกปลากินเข้าไปจะทำให้ตายได้
ในวันที่ 17 สามารถแยกแม่ปลาออกจากลูกปลาได้ในระยะนี้ และลูกปลาขนาดนี้ซึ่งเรียกว่าระยะแกะออกจากแม่หรือขนาดเม็ดแตงโม ขายได้ในราคาตัวละ 7-8 บาท หรือจะเลี้ยงต่อไปจนอายุ 1 เดือน จนถึงขนาดเหรียญบาทซึ่งมีราคาตัวละ 20-30 บาท ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการของตลาด ในระยะนี้ควรหัดให้ลูกปลากินไข่กุ้งเพื่อเป็นการเร่งสี ซึ่งจะทำให้ปลามีสีแดงขึ้นและขายได้ง่ายขึ้น

4.6   การแยกไข่มาอนุบาล
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์  (2546 : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=103 ) ทรงนิพนธ์ แนะนำไว้ดังนี้  การแยกไข่ปลาเทวดา กระทำโดยหลังจากแม่ปลาวางไข่และไข่ได้รับการผสมแล้ว นำแผ่นกระจกที่มีไข่ติดอยู่มาใส่ในตู้อนุบาลที่เตรียมไว้ และมีการเพิ่มอากาศโดยใช้ปั๊มลม (air pump)เบาๆตลอดเวลา ความลึกของน้ำไม่เกิน 10 เซนติเมตร ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 36 ชั่วโมง ลักษณะของลูกปลาในระยะนี้จะเห็นเป็นเส้นด้ายเคลื่อนไหวไปมาเป็นแต่ยังแต่ยัง ไม่เคลื่อนที่จะเกาะติดอยู่บริเวณแผ่นกระจกนั่นเอง ลูกปลาจะมีถุงไข่ (yolk sac)ติดอยู่ในบริเวณด้านท้อง ในระยะนี้ลูกปลาจะยังไม่ต้องกินอาหารถุงไข่นี้จะยุบภายใน 2-3 วัน จากนั้นลูกปลาจะเริ่มเคลื่อนโดยมักจะลอยตัวขึ้นมาในบริเวณผิวน้ำและรวมกลุ่ม กันอยู่อย่างหนาแน่น เมื่อลูกปลามีอายุได้ 5 วันขึ้นไป จะให้อาหารโดยใช้ไข่แดงต้มสุกบดละเอียดผสมกับน้ำเล็กน้อยหยดไปในบริเวณกลุ่ม ของลูกปลา ควรระวังในการให้อาหารโดยอย่าให้มากจนลูกปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเสียง่าย และเป็นบ่อเกิดของโรค ไม่ควรให้ไข่แดงเกิน 7 วัน เพราะจะทำให้ปลาท้องอืดตายได้ นักเพาะปลาเทวดาบางคนจึงข้ามขั้นตอนการให้ไข่แดงไปเป็นการให้ลูกไรแดง โดยการใช้กระชอนตาถี่ที่สามารถช้อนไรแดงตัวใหญ่มากออกไปและเหลือไรแดงตัว เล็กที่สามารถเป็นอาหารของลูกปลาได้ แล้วจึงนำมาให้ลูกปลาเป็นอาหาร ในระยะนี้ควรระวังเรื่องความสะอาดของน้ำควรหมั่นเปลี่ยนน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง คือในช่วงเช้าและเย็นควรให้อาหารอย่างสม่ำเสมอวันละ 4-5 ครั้ง จะทำให้ปลาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เมื่อลูกปลาอายุได้ 10 วันขึ้นไปจะสามารถว่ายน้ำได้อย่างอิสระและคล่องตัวแต่ยังจะรวมฝูงกันอยู่ใน ระยะนี้ลูกปลาจะมีรูปร่างกลมคล้ายรูปไข่ กระโดงหลัง ครีบอก และครีบก้นยังไม่ยาวออกมา ลูกปลานี้จะเจริญเติบโตเหมือนพ่อแม่เมื่ออายุประมาณ 45 วัน

4.7   การให้พ่อแม่อนุบาล
ปลาเทวดาจัดเป็นปลาประเภทที่ดูแลและเลี้ยงลูกทั้งตัวผู้และตัวเมียการอนุบาล อีกวิธีหนึ่งก็คือการปล่อยให้พ่อแม่ปลาอนุบาลเอง พ่อแม่ปลาจะอมลูกปลาที่ตกอยู่ในบริเวณพื้นพ่นขึ้นไว้ในบริเวณแผ่นกระจก เพื่อให้ลูกปลาได้รับออกซิเจนและน้ำสะอาด นอกจากนี้พ่อแม่ปลายังพยายามย้ายลูกปลาทั้งหมดเพื่อหลบเลี่ยงการถูกรบกวน ดังนั้นตู้อนุบาลปลานี้ไม่ควรจะมีกรวด ทราย รองพื้นตู้เพราะจะทำให้พ่อแม่ปลาเก็บลูกปลาจากพื้นได้ยาก อาหารระยะแรกของลูกปลาเหล่านี้ก็คือเมือกของพ่อแม่ปลา
การอนุบาลด้วยวิธีนี้มีผลดีคือ จะทำให้ลูกปลาแข็งแรง เพราะมีพ่อแม่ปลาคอยช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การกัดเปลือกไข่ให้ฉีกขาดเพื่อให้ลูกปลาฟักออก การเคลื่อนย้ายลูกปลาเพื่อให้ได้รับออกซิเจนหรือน้ำสะอาด
4.8   อาหารที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง
ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ (2549 : http://home.kku.ac.th/pracha/ Breeding.htm) ได้กล่าวไว้ดังนี้  อาหารปลาสวยงาม เหมือนกับอาหารของสัตว์น้ำอื่นๆโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นอาหาร ที่ใช้ในการเพาะพันธุ์หรือการเลี้ยง  ได้กล่าวถึง อาหารสัตว์น้ำโดยทั่วไปแบ่งเป็น  2  ประเภท คือ
1)    อาหารสำเร็จรูป  ชนิดของอาหารสำเร็จรูปของปลาสวยงามที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมีอยู่  3  ประเภท
(1)   อาหารเม็ดจมน้ำ  อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับปลาสวยงามที่หากินอาหารตามพื้นก้นตู้เช่นปลาหมู   ปลาปล้องอ้อย   ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้เพราะปลากินไม่ทัน   อาหารจะตกค้างลงในวัสดุกรองมาก   มักมีปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย
(2)   อาหารเม็ดลอยน้ำ  อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับปลาทุกประเภท   มักมีคุณสมบัติลอยตัวอยู่ผิวน้ำได้ประมาณ  3 – 5 ชั่วโมง  แล้วแต่ชนิดอาหาร   ทำให้ปลากินอาหารได้ดี   และผู้เลี้ยง สังเกตได้ว่าให้อาหารพอเพียงหรือไม่   ปัจจุบันจึงมักผลิตเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำ
(3)   อาหารผง   อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้อนุบาลลูกปลา   มีลักษณะเป็นผงละเอียด   อาจให้กระจายตัวที่ผิวน้ำหรือผสมน้ำหมาดๆปั้นเป็นก้อนก็ได้   โดยถ้าเป็นลูกปลากินพืช   เช่น  ลูกปลาตะเพียนทอง   ลูกปลาทอง  และลูกปลาคาร์พ   ควรให้กระจายตัวที่ผิวน้ำ   แต่ถ้าเป็นลูกปลากินเนื้อ  เช่น  ลูกปลาแขยง   และลูกปลาดุก   ควรปั้นก้อนให้   อาหารชนิดนี้จำเป็นสำหรับผู้เลี้ยงปลาสวยงามที่ผลิตลูกปลาออก จำหน่าย
2)  อาหารธรรมชาติ   เป็นอาหารที่มีชีวิต ปกติสามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ   แต่ปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงอาหารธรรมชาติเหล่านี้   เพราะมีความต้องการในปริมาณค่อนข้างมากและสม่ำเสมอ   จัดเป็นอาหารที่มีประโยชน์และมีความสำคัญต่อธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามใน ปัจจุบัน    อาหารธรรมชาติที่สำคัญได้แก่
(1)  ไดอะตอม  และ  ยูกลีนา   เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น   พบได้หนาแน่นตามบ่อเลี้ยงปลาที่มีการให้อาหารอย่างเต็มที่   โดยจะขึ้นเป็นฝ้าสีน้ำตาลแกมเขียว   แต่ถ้าได้รับแสงแดดจัดๆจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแกมแดง   แล้วถูกลมพัดไปหนาแน่นอยู่ตามริมบ่อทางท้ายลม   มีประโยชน์สำหรับใช้อนุบาลลูกปลาที่ค่อนข้างมีขนาดเล็ก เช่นลูกปลาตะเพียนทอง   ลูกปลาม้าลาย   ลูกปลากระดี่แคระ   ลูกปลากัด   และลูกปลาซิวต่างๆ   ซึ่งในช่วงที่ลูกปลาออกจากไข่ใหม่ๆในระยะ  2 – 3 วันแรก   จะยังไม่สามารถกินไข่แดงหรือไรน้ำชนิดต่างๆได้   ควรตักฝ้าน้ำซึ่งจะมีไดอะตอมและยูกลีนาอยู่มากมาให้ลูกปลากิน   โดยเทผ่านกระชอนผ้าขาวบางเพื่อให้มีการกระจายตัว   และป้องกันศัตรูของลูกปลาจะลงไปในบ่อได้   ให้กินอยู่ประมาณ  2 – 3  วัน  ลูกปลาจะเติบโตขึ้นจนสามารถกินไรชนิดอื่นหรืออาหารผงต่อไป   ก็จะทำให้ลูกปลาแข็งแรงและมีอัตราการรอดมาก
(2)  ไรแดง  เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่พอจะสังเกตเห็นด้วยตาเปล่า เพราะมีขนาด ประมาณ  1.2  มิลลิเมตร   จัดเป็นแพลงตอนสัตว์   ในธรรมชาติมักพบตามแหล่งน้ำที่เริ่มเน่าเสีย   และมี จุลินทรีย์ มาก   เป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับอนุบาลลูกปลา   และเลี้ยงปลาสวยงามที่มีขนาดเล็ก   เช่นปลาม้าลาย   ปลานีออน   ปลาซิวข้างขวาน   ปลาสอด   และปลาหางนกยูง
(3)   ลูกน้ำ  เป็นตัวอ่อนของยุงซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี   เป็นอาหารธรรมชาติที่ได้รับความนิยมใช้เลี้ยงปลาสวยงามมานาน   จะพบได้มากตามแหล่งน้ำเน่าเสีย   และตามแหล่งน้ำขัง   ปัจจุบันยังมีความจำเป็นใช้เลี้ยงปลาบางชนิด   เช่น  ปลากัด   ปลาปอมปาดัวร์
(4)   หนอนแดง  เป็นตัวอ่อนของริ้นน้ำจืด   ลักษณะคล้ายลูกน้ำแต่ตัวมีสีแดงสด   และมักสร้างปลอกอยู่ตามพื้นก้นบ่อ   พบได้ทั่วไปตามแหล่งที่มีน้ำขัง   เป็นอาหารที่มีคุณค่า   ที่ได้รับความนิยมใช้เลี้ยงปลาสวยงามทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
(5)   อาร์ทีเมีย   เป็นไรน้ำเค็ม   ตัวอ่อนจะมีขนาดประมาณ  0.3  มิลลิเมตร  มีความ สำคัญสำหรับการใช้อนุบาลลูกปลา แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ  1.2  เซ็นติเมตร  เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาสวยงามได้ดี

———————————————————————————————————————-
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์  (2551) “การผลิตปลาสวยงาม”  เรื่อง การผลิตและการตลาดปลาสวยงาม ของ
เกษตรกร ผู้ทำการค้าใน เขตจตุจักร วิทยานิพนธ์ ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต
แขนง วิขาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

แนวคิดเกี่ยวกับปลาสวยงาม

แนวคิดเกี่ยวกับปลาสวย งาม

ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์

1. ประวัติการเลี้ยงปลาสวยงาม ได้มีการบรรยาย เกี่ยวกับประวัติที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสวยงาม (Cuet and Bird, 1970 อ้างถึงใน ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ 2549 : http://home. kku.ac.th/pracha/Introduction.htm ) ไว้ ดังนี้
ค.ศ. 1596 Chang Chente ได้เขียนหนังสืออธิบายถึงวิธีการเลี้ยงปลาทองในบ่อเลี้ยง
ค.ศ. 1665 Samuel Pegys ได้เขียนเรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาสวยงามในแก้ว
ค.ศ. 1853 มีการสร้างพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นที่ The London Zoological Garden ประเทศอังกฤษ ซึ่งนับเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งแรกของโลก
ค.ศ. 1868  M. Simon กงสุลชาวฝรั่งเศสประจำเมืองนิงโป ประเทศจีน ได้นำปลาสวยงามพวก Paradise – fish กลับประเทศฝรั่งเศส และมีรายงานว่าปลาเหล่านี้สามารถ แพร่พันธุ์ได้
นอกจากนี้ยังได้กล่าวว่าคำว่า Aquarium ตามพจนานุกรมของ Oxford หมายถึงบ่อหรือภาชนะที่สร้างขึ้นเพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำหรือพืชน้ำ ส่วนความหมาย โดย ทั่วๆไป หมายถึงภาชนะที่สามารถเก็บน้ำ ซึ่งสร้างขึ้นภายในอาคารสำหรับเลี้ยงปลาและหรือพันธุ์ไม้น้ำ
สำหรับการเลี้ยงปลาสวยงามในประเทศไทย น่าจะเริ่มต้นมาจากการเลี้ยงปลาทองซึ่งนำเข้ามาเลี้ยงโดยชาวจีน ตั้งแต่ตอนกลางของสมัยกรุงศรีอยุธยา
เมื่อประมาณ 40 กว่าปี มีการนำปลาสวยงามมาจำหน่ายที่ท้องสนามหลวง ระหว่างวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ “ตลาดนัดสนามหลาวง” หลังจากนั้น ได้ย้ายมาอยู่ที่บริเวณ ริมถนนพหลโยธินหน้าตลาดหมอชิต ข้างสวนจตุจักร ชื่อว่า “ตลาดนัดจตุจักร” จนปัจจุบัน ต่อมามีตลาดขายส่งปลาสวยงาม เกิดขึ้นติดกับตลาดนัดจตุจักร คือ “ตลาดซันเดย์”
ปัจจุบัน ตลาดซันเดย์ได้ถูกรื้อถอน ทำให้ตลาดขายส่งและขายปลีกปลาสวยงามกระจายไปสู่บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ ตลาดศรีสมรัตน์ ตลาดจตุจักรพลาซ่า ตลาดเจ.เจ.มอลล์ นอกจากนี้ยังมีตลาดขายส่งและขายปลีกปลาสวยงาม อื่นๆ เช่น ตลาดบ้านโป่ง ราชบุรี ตลาดจตุจักร 2 มีนบุรี กรุงเทพมหานคร ตลาดสนามหลวง 2 ทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร

2. การจำแนก ประเภท และกลุ่มชนิดพันธุ์ปลา


2.1 จำแนกตามวิธีการสืบพันธุ์
ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์ (2549 : http://home.kku.ac.th/pracha/Breeding.htm) กล่าวไว้ว่า เนื่องจากปลามีประเภทและชนิดพันธุ์มากมาย และมีความแตกต่างกันทั้งทางด้านลักษณะ ขนาด และถิ่นที่อยู่อาศัย พบว่าปลามีการสืบพันธุ์ทุกแบบของการสืบพันธุ์แบบมีเพศ (Sexual Reproduction) ของพวกสัตว์ ซึ่งสามารถจำแนก เป็นประเภท ได้ดังนี้
1) ประเภทการสืบพันธุ์แบบแยกเพศ (Bisexual Reproduction) เป็นวิธีการสืบพันธุ์ของปลาส่วนใหญ่ ปลาจะมีการแยกเพศกันเด่นชัด มีปลาเพศผู้ผลิตเชื้อตัวผู้ และปลาเพศเมียสร้างรังไข่ ได้แก่ปลาทั่วๆไป เช่น ปลาทอง ปลาคาร์พ ปลาเทวดา ปลากัด
2) การสืบพันธุ์แบบกะเทย (Hermaphroditism) เป็นการสืบพันธุ์ที่มีการสร้างเซลสืบพันธุ์ทั้งเชื้อตัวผู้และไข่ภายในปลา ตัวเดียวกัน ปลาที่มีการสืบพันธุ์แบบนี้มีไม่มากนัก แบ่ง เป็น 2 ลักษณะ คือ แบบที่สร้างเชื้อสืบพันธุ์ทั้ง 2 ชนิดพร้อมกัน เช่นปลาในครอบครัวปลากะรัง (ปลาทะเล) แบบที่มีการเปลี่ยนเพศ ปลาพวกนี้ในช่วงแรกของชีวิตจะเป็นเพศหนึ่ง เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีขนาดโตขึ้นจะกลายไปเป็นอีกเพศหนึ่ง เช่น ปลา Sparus ช่วงแรกจะเป็นเพศผู้ ต่อมาจะกลายเป็นเพศเมีย ปลาเก๋า ปลากะรัง และปลาไหลนาสกุล Monopterus ช่วงแรกเป็นเพศเมีย ต่อมาจะกลายเป็นเพศผู้
3) การสืบพันธุ์แบบพาร์ธิโนเจเนซิส (Parthenogenesis) กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว เป็นการสืบพันธุ์ที่ไข่สามารถพัฒนาเป็นตัวอ่อน โดยไม่ต้องได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้ เกิดได้กับ ปลาออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาหางนกยูง ปลาสอดชนิดต่างๆ ซึ่งปกติปลาเหล่านี้จะสืบพันธุ์แบบแยกเพศ แต่ในขณะที่ ไม่มีเพศผู้ของปลาเหล่านี้อยู่ ปลาเพศเมียอาจอาศัยน้ำเชื้อเพศผู้จากปลาชนิดอื่น ช่วยกระตุ้นให้ไข่มีการพัฒนาโดยที่เชื้อตัวผู้ไม่ได้เข้าไปผสมพันธุ์ด้วย ไข่จะเกิดการแบ่งเซลพัฒนาไปโดยมีโครโมโซมครบจำนวน (เป็น Diploid) แต่เนื่องจากเป็นโครโมโซมจากแม่เพียงตัวเดียว ทำให้ลูกปลาที่เกิดมาจะมีแต่เพศเมียเท่านั้น
2.2 จำแนกตามลักษณะของการผสมพันธุ์
ได้จำแนกประเภทปลาตามลักษณะของการผสมพันธุ์ ดังนี้
1) ปลาที่มีการผสมพันธุ์แบบ Oviparous เป็นการผสมพันธุ์ของปลาส่วนใหญ่ โดยปลาเพศเมียจะปล่อยไข่ในน้ำแล้วปลาเพศผู้ที่ว่ายน้ำตามมาจะปล่อยน้ำเชื้อ ลงในน้ำเช่นกันเชื้อตัวผู้จะว่ายน้ำอย่างรวดเร็วเข้าผสมกับไข่ทางช่องเปิด จากนั้นไข่ปลาที่ได้รับการผสมแล้วจะพัฒนาไปเป็นตัวอ่อนในน้ำ
2) ปลาที่มีการผสมพันธุ์แบบ Viviparous เป็นการผสมภายในตัวแม่เหมือนกับสัตว์บก โดยปลาเพศผู้จะมีท่อสำหรับส่งน้ำเชื้อเพื่อผสมกับปลาเพศเมีย ซึ่งพัฒนามาจากครีบท้อง ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะได้รับอาหารจากแม่ทางสายสะดือคล้ายสัตว์บก จนคลอดออกมาเป็นตัว ตัวอย่างปลาพวกนี้ได้แก่ ปลาฉลาม และปลากระเบนบางชนิด
3) ปลาที่มีการผสมพันธุ์แบบ Ovoviviparous เป็นการผสมภายในตัวแม่เช่นกัน แต่ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะอาศัยอาหารจากไข่แดงภายในตัวไข่เอง ไม่ได้รับอาหารจากตัวแม่ จนคลอดออกเป็นตัว ตัวอย่างปลาพวกนี้ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาสอดชนิดต่างๆ และปลาเซลฟิน ปลาเพศผู้ของปลาพวกนี้จะมีท่อส่งน้ำเชื้อเช่นกัน แต่พัฒนามาจากครีบก้น
2.3 จำแนกตามลักษณะของ แหล่งวางไข่

ปลาที่อยู่ในประเภทที่มี การสืบพันธุ์แบบแยกเพศ และมีการผสมพันธุ์แบบ Oviparous สามารถจำแนก ประเภท และกลุ่มของปลาดังกล่าวได้ตามลักษณะของแหล่งวางไข่ของปลา โดยมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์วางไข่ของปลา ที่แปลกแตกต่างกันอย่างมากมาย ทั้งก่อนการวางไข่ รวมทั้งหลังวางไข่ โดยสามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) ประเภทแหล่งน้ำไหล ปลาที่วางไข่ในน้ำไหลส่วนใหญ่เป็นปลาที่ไม่มีการดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน และการแพร่พันธุ์มักจะเกิดในช่วงฤดูน้ำหลาก
(1) พวกมีไข่แบบครึ่งลอยครึ่งจม ปลาจะว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ต้นน้ำ ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะถูกกระแสน้ำพัดพาไป จากนั้นเปลือกไข่จะขยายตัวอุ้มน้ำเข้าไป ช่วยป้องกันกา รกระทบกระแทกให้แก่เม็ดไข่ เช่น ปลาซิว ปลาสร้อย ปลาตะเพียน ปลากาแดง ปลาทรงเครื่อง ปลากาดำ ปลาหมู
(2) พวกมีไข่ลอย ปลาก็จะขึ้นไปวางไข่บริเวณต้นน้ำ ปล่อยไข่ลอยมาตามกระแสน้ำ เช่น ปลาหมอไทย ปลากระดี่จูบ
(3) พวกไข่ติด ปลาก็จะขึ้นไปวางไข่ตามแหล่งน้ำท่วม ปล่อยไข่ติดตามรากพันธุ์ไม้น้ำ หรือใบหญ้า เช่น ปลาสวาย ปลากด ปลาแขยง ปลาคาร์พ และปลาทอง
2) ประเภทแหล่งน้ำนิ่ง มักเป็นปลาที่มีการดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน โดยมีการเลือกพื้นที่ แล้วทำการตกแต่ง หรือมีการสร้างรังโดยเฉพาะลักษณะการสร้างรังแบบต่างๆมีดังนี้
(1) รังแบบกระทะ ปลาจะทำรังเป็นแอ่งทรงกลมเหมือนกระทะตามชายน้ำ เช่น ปลานิล
(2) รังเป็นโพรงมีรากพันธุ์ไม้น้ำ ปลาจะขุดโพรงเข้าไปตามชายน้ำที่มีรากไม้ เพื่อวางไข่ติดตามรากไม้ ทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะช่วยกันดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เช่นปลาดุก
(3) รังเป็นหวอดระหว่างพันธุ์ไม้น้ำ ปลาจะสร้างรังโดยฮุบอากาศผสมน้ำลายสร้างเป็นฟองอากาศ เป็นกลุ่มอยู่ตามใต้ใบพันธุ์ไม้น้ำ เรียกหวอด เมื่อวางไข่แล้ว ปลาเพศผู้จะดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เช่นปลากัด และปลากระดี่ชนิดต่างๆ
(4) รังเป็นวงระหว่างพันธุ์ไม้น้ำ ปลาจะแหวกพันธุ์ไม้น้ำออกเป็นพื้นที่ว่างรูปวงกลม แล้ววางไข่ลอยอยู่ภายในวงกลมนั้น ทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะช่วยกันดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เช่นปลาชะโด
(5) รังคล้ายรังนก ปลาจะคาบเศษหญ้ามาสานทำเป็นรังคล้ายรังนก แล้ววางไข่เข้าไปภายในรัง ทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะช่วยกันดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เช่น ปลาแรด
(6) รังเป็นวัสดุแข็งตามก้นบ่อ ปลาจะเลือกบริเวณที่เป็นพื้นที่แข็งและค่อนข้างเรียบตามชายน้ำ จากนั้นจะทำความสะอาดกัดเอาตะไคร่น้ำ และไล่ตะกอนออกเป็นวง แล้ววางไข่ ทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะช่วยกันดูแลรักษาไข่และตัวอ่อน เช่น ปลาเทวดา ปลาออสการ์ ปลาปอมปาดัวร์ และปลาหมอชนิดต่างๆ

3. กลุ่มปลาสวยงาม ที่นิยมเลี้ยงและส่งออก
อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล (2546: http://www.nicaonline.com/ articles/site/ view_article.asp?idarticle=111) ได้กล่าวถึงการจัดกลุ่ม ปลาสวยงามมีการส่งออกของประเทศไทยมีประมาณ 200 ชนิด ในขณะที่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1,500 ชนิด มีการจัดกลุ่ม ดังนี้

3.1 กลุ่มปลากัด (Siamese  Fighting  Fish)

ปลากัด เป็นปลาที่จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง สร้างรังเป็นหวอดระหว่างพันธุ์ไม้น้ำ แบ่งตามลักษณะต่างๆ ดังนี้
- ครีบหาง เช่น หางสั้น หางยาว หางมงกุฎ สองหาง หรือ หางฮาฟมูน
- สี เช่น แดง เขียว ฟ้า ฯลฯ
- เพศ เช่น เพศเมีย เพศผู้
ปลากัดที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยถูกจัดให้เป็นชนิด splendens  หรือมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens Regan, 1910 ปัจจุบันได้มีการสำรวจพบชนิดของปลากัดประมาณ 50 – 60 ชนิด แบ่งกลุ่มตามลักษณะการวางไข่ออกเป็น 2 กลุ่ม (http://home.kku.ac.th/pracha/Betta.htm)
กลุ่มแรก เป็นปลากัดที่ก่อหวอดวางไข่  เป็นปลากัดที่ผู้เพาะเลี้ยงปลากัดส่วนใหญ่ดำเนินการกันมานานแล้ว  ปลาเพศผู้จะสร้างรัง เรียกว่าหวอดที่บริเวณผิวน้ำและจะติดอยู่ใต้ใบพันธุ์ไม้น้ำชายฝั่ง  เพื่อใช้ในการฟักไข่  ตัวอย่างปลากัดในกลุ่มนี้ เช่น  Betta coccina B. Brownorum,  B. burdigala,   B. livida,  B. rutilans,  B. tussyae
กลุ่มที่สอง เป็นปลากัดอมไข่  เป็นปลากัดที่ถูกนำมาเลี้ยงยังไม่นานนัก  เป็นปลาที่มีพฤติกรรมการแพร่พันธุ์วางไข่คล้ายกับปลาหมอสีกลุ่มที่อมไข่  เพื่อให้ไข่ฟักตัวภายในปาก ตัวอย่างปลากัดในกลุ่มนี้ เช่น  Betta akarensis,  B. Patoti,    B. anabatoides,   B. Macrostoma,
B. albimarginata,   B. channoides
ปลากัดที่มีเพาะเลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบัน   มีหลายสายพันธุ์ดังนี้
1) ปลากัดลูกหม้อ   มีลักษณะลำตัวค่อนข้างหนาเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น  ส่วนหัวค่อนข้างโต ปากใหญ่  ครีบสั้นสีเข้ม เดิมมักจะเป็นสีเขียว หรือสีน้ำเงินแกมแดง แต่ปัจจุบันมีหลายสี เช่นสีแดง สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียว และสีนาก เป็นชนิดที่มีความอดทน กัดเก่ง ได้รับ ความนิยมสำหรับการกัดพนัน
2) ปลากัดลูกทุ่ง   มีลักษณะลำตัวเล็กกว่าพันธุ์ลูกหม้อ ลำตัวค่อนข้างยาวครีบยาวปานกลางหรือ ยาวกว่าพันธุ์ลูกหม้อเล็กน้อย สีไม่เข้มมากนัก ส่วนมากมักจะเป็นสีแดงแกม เขียว เป็นพันธุ์ที่มีความตื่นตกใจได้ง่ายที่สุด การกัดจะมีความว่องไว มากกว่าพันธุ์ลูกหม้อปากคมแต่ไม่ค่อยมีความอดทน ใช้เวลาประมาณ  30  นาทีจะรู้ผลแพ้ชนะ  นิยมใช้ในวงการกัดพนันเช่นกัน
3) ปลากัดลูกผสม หรือพันธุ์สังกะสีหรือพันธุ์ลูกตะกั่ว  เป็นลูกปลาที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างปลากัดลูกหม้อกับปลากัดลูกทุ่ง โดยอาจผสมระหว่างพ่อเป็นปลาลูกหม้อ กับแม่เป็นปลาลูกทุ่ง หรือพ่อเป็นปลาลูกทุ่งกับแม่เป็นปลาลูกหม้อ  ผู้เพาะต้องการให้ปลาลูกผสมที่ได้มีลักษณะ ปากคมกัดคล่องแคล่วว่องไวแบบปลาลูกทุ่ง และมีความอดทนแบบปลาลูกหม้อ
4) ปลากัดจีน  เป็นปลากัดที่เกิดจากการเพาะและคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นเพื่อความ สวยงาม  พยายามคัดพันธุ์เพื่อให้ปลามีหางยาวและสีสันสดเข้ม จนในปัจจุบัน สามารถผลิตปลากัดจีนที่มีความสวยงามอย่างมาก มีครีบต่างๆค่อนข้างยาว โดย เฉพาะครีบหางจะยาวมากเป็นพิเศษและมีรูปทรงหลายแบบ มีสีสันสดสวยมากมายหลาย สี  เป็นปลาที่ไม่ค่อยตื่นตกใจเช่น เดียวกับปลาหม้อ แต่ไม่มีความอดทน  เมื่อปล่อยกัดกันมักรู้ผลแพ้ชนะภาย ใน 10 นาที ไม่นิยมใช้ในการกัดพนัน
ปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์ปลากัดสามารถเพาะพันธุ์ปลากัดสายพันธุ์ใหม่ๆออกมาอีก หลายสายพันธุ์  และมีความหลากหลายทางด้านสีสันอีกด้วย ทำให้มีการเรียกชื่อสายพันธุ์ปลากัด เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ได้แก่ ปลากัดสองหาง ปลากัดหางหนามมงกุฎ ปลากัดหางพระจันทร์ เป็นต้น

3.2 กลุ่มปลาไทย

ปลาในกลุ่มปลาไทย เป็นปลาที่ จัดอยู่ในประเภทปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล ได้แก่ ปลาก้างพระร่วง, ปลากาแดง, ปลาทรงเครื่อง, ปลาหางไหม้, ปลาน้ำผึ้ง
1) ปลาก้างพระร่วง (Glass catfish)
อังสุนีย์ ชุณหปราณ (2547: http://www.nicaonline.com/articles/ site/view_article.asp?idarticle=122) ได้เรียบเรียง ไว้ว่า ปลาก้างพระร่วง เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กจัดอยู่ในวงศ์ปลาเนื้ออ่อน ไม่มีเกล็ด รูปร่างด้านข้างแบนมาก ลำตัวยาวเรียว ท่อนหางโค้งงอเล็กน้อย มีชื่อเรียกหลายชื่อตามท้องถิ่น อาทิ ภาคกลางเรียกปลาก้างพระร่วง ปลากระจก ภาคใต้เรียก ปลาบาง ปลาผีสำหรับชื่อวิทยาศาตร์ของปลาตัวนี้คือ Kryptopterus bicirrhis (Cuv. & Val.) ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Glass Catfish ลักษณะ เด่น ของปลาชนิด นี้คือ เนื้อปลาจะมีลักษณะโปร่งแสง ทำให้มองเห็นก้างภายในตัวได้อย่างชัดเจน ลำตัวยาวแบนข้างมีหนวด 2 คู่ หนวดคู่แรกอยู่บนขากรรไกรบน มีขนาดยาวและชี้ไปด้านหน้า ส่วนหนวดคู่ที่ 2 มีขนาดสั้น อยู่บนขากรรไกรล่าง ครีบหลังมีขนาดเล็กและสั้นมากแทบมองไม่เห็น ครีบก้นยาวตลอดจนถึงครีบหาง หัวมีขนาดเล็ก จะงอยปากสั้น ตากลมโต เฉพาะส่วนของหัวและกระเพาะอาหารเท่านั้นที่ทึบแสง ขนาดของปลาโดยทั่วไปมีความยาว 8-10 เซนติเมตร ความยาวสูงสุดไม่เกิน 15 เซนติเมตร
2) ปลาหางไหม้ (Silver shark)
เฉลิมวิไล ชื่นศรี (2539: http://www.nicaonline.com/articles1/site/ view_article.asp?idarticle=120 ) ได้เขียนไว้ว่า ปลาหางไหม้ เป็นปลาเผ่าพันธุ์เดียวกับ ปลาตะเพียนขาว ปลาหางไหม้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Balantiocheilos melanopterus ชาวต่างประเทศรู้จักดีในชื่อ Silver shark คนไทยอาจรู้จักปลาตัวนี้ในชื่อ ปลาหางเหยี่ยว ปลาหนามหลังหางดำ
ปลาหางไหม้มีรูปร่างคล้ายปลาตะเพียน ลำตัวเพรียวยาว ส่วนหัวแหลมเล็ก สันท้องเป็นเหลี่ยมกว้าง ส่วนครีบต่างๆสีสีเหลืองอ่อนและมีสีดำขลิบที่ริมโคนครีบ ทุกครีบยกเว้นครีบหู เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 34-35 เกล็ด ครีบหลังและครีบท้องตั้งต้นตรงแนวเดียวกัน ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 3 ก้านและก้านครีบอ่อน 8 ก้าน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 ก้าน และก้านครีบอ่อน 9 ก้าน ครีบหูมีแต่ก้านครีบอ่อน 18 ก้าน ปากปลาหางไหม้ยืดหดได้ ไม่มีฟัน ริมฝีปากบนยื่นยาวกว่าริมฝีปากล่าง ในต่างประเทศอาจยาวถึง 35 เซนติเมตร ในประเทศไทยยาวประมาณ 20เซนติเมตร ปลาหางไหม้สังกัดอยู่ในครอบครัว Cyprinidae
3) ปลาทรงเครื่อง (Redtail Shark)
ปลาทรงเครื่อง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epalzeorhynchos bicolor Smith. (1931) และชวลิต วิทยานนท์ (2542 : http://lightning.prohosting.com/~variety/article/ redtail_shark.htm) ได้เขียนไว้ว่า ถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นปลาเฉพาะถิ่นที่พบในประเทศไทยเท่านั้น พบในลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เจ้าพระยา และบางปะกง โดยอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำธารที่มีพืชพรรณค่อนข้างหนาแน่น สถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered) ในประเทศไทย จากมติการจัดสถานภาพของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์โดยผู้เชี่ยวชาญและสำนักนโยบายและ แผนสิ่งแวดล้อมปี 2539 ปลาทรงเครื่องเป็นปลาพื้นถิ่นชนิดหนึ่งของไทยที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ทั่วโลก ในฐานะที่เป็นปลาตู้สวยงามชนิดหนึ่งที่มีการเพาะเลี้ยงและส่งออกขายมาเป็น เวลานานกว่า 30 ปี ปลาทรงเครื่องจัดอยู่ในกลุ่มปลาสร้อยที่มีขนาดเล็กถึงปานกลาง มีขนาดใหญ่สุถึง 12 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปไม่เกิน 8 เซนติเมตร ลักษณะสำคัญคือ ลำตัวเพรียว ปากเล็ก มีติ่งรอบปาก และมีหนวดสองคู่ ที่จะงอยปากมีติ่งเนื้อเล็ก ๆ ข้างละหนึ่งอัน ครีบหลังมีฐานค่อนข้างยาง ครีบหางเว้าลึก เกล็ดเล็ก มีเกล็ดตามแนวเส้นข้างตัวประมาณ 36-40 แถว ลำตัวมีสีคล้ำถึงน้ำตาลคล้ำ ด้านท้องสีจาง ที่เหนือครีบอกมีจุดเล็ก ๆ สีดำ ครีบทุกครีบเป็นสีดำหรือคล้ำ ครีบหลังมีขลิบสีขาวหรือสีจาง ยกเว้นครีบหางสีแดงสด ครีบอกของปลาที่มาจากลุ่มแม่น้ำบางปะกงมักมีสีคล้ำอมแดง
ปลาทรงเครื่องมีชื่อทางการค้าว่า ฉลามหางแดง ในวงการปลาสวยงามที่ปากน้ำโพเรียกว่า ปลาหางแดง ปลาชนิดนี้เป็นปลาเฉพาะถิ่นที่พบในประเทศไทยเท่านั้น อาศัยอยู่ในแม่น้ำและลำธารสาขาในบริเวณที่มีกรวด หิน และพรรณไม้ใกล้ชายฝั่ง เคยพบชุกชุมในลุ่มน้ำภาคกลางในแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ปากน้ำโพจนถึงชัยนาท แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำนครนายก จนถึงแม่น้ำบางปะกงตอนบน ส่วนในลำธารสาขาพบเฉพาะที่แยกมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา บางปะกง และแม่กลองเท่านั้น ที่จังหวัดราชบุรียังเคยเป็นแหล่งที่จับและส่งออกที่สำคัญด้วย ปลาชนิดนี้กินสาหร่ายและตะไคร่น้ำที่เหาะตามหินและกิ่งไม้ รวมถึงตัวอ่อนแมลงน้ำ มักจะอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ประมาณ 5-10 ตัว และมีอุปนิสัยหวงถิ่นคล้ายกับปลากัดในบางครั้ง ปลาทรงเครื่องวางไข่แบบครึ่งจมครึ่งลอยประมาณครั้งละ 1,000 – 1,500 ฟอง ไข่จะฟักเป็นตัวภายในเวลาประมาณ 30 ชั่วโมง

3.3 กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว

ปลาออกลูกเป็นตัว มีการสืบพันธุ์แบบพาร์ธิโนเจเนซิส เป็นการสืบพันธุ์ที่ไข่สามารถพัฒนาเป็นตัวอ่อน โดยไม่ต้องได้รับการผสมจากเชื้อตัวผู้ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Ovoviviparous เป็นการผสมภายในตัวแม่ แต่ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะอาศัยอาหารจากไข่แดงภายในตัวไข่เอง ไม่ได้รับอาหารจากตัวแม่ จนคลอดออกเป็นตัว
วันเพ็ญ มีนกาญจน์ และคณะ (2546 : http://www.nicaonline.com/ articles1/site/view_article.asp?idarticle=142) ได้กล่าวถึง กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว ไว้ ปลาออกลูกเป็นตัวแบ่งออกได้เป็น 2 อันดับใหญ่ ๆ คือ Beloniformes และ Cyprinodontiformes ซึ่งมีครอบครัว (Family) และครอบครัวย่อย (Subfamily) ปลาในกลุ่มออกลูกเป็นตัวในครอบครัวที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงและซื้อขายเป็นปลา สวยงามในประเทศไทยกันอย่างแพร่หลายมี เพียง 2 สกุล คือ สกุล Poecilia และ Xiphophorus ประกอบด้วยปลาทั้งหมด 7 ชนิด (Species) ดังนี้คือ
1) ปลาหางนกยูง (Poecilia reticulata Peters, 1859)
สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (2545 ข : http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=71) อธิบายไว้ว่า ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม(fancy guppy) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์มาจาก พันธุ์พื้นเมือง (wild guppy) ที่พบแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติลักษณะเด่นที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ คือ ลักษณะสีและลวดลายบนลำตัวและลวดลายบนครีบหางและรูปแบบของครีบหางซึ่งในการ เรียกสายพันธุ์ต่างๆ จะถูกตั้งชื่อตามลักษณะ ดังกล่าว
ลักษณะเด่นที่ใช้คัดสายพันธุ์ คือ ลักษณะสีและลวดลายบนลำตัว ลักษณะสีและลวดลายของครีบหาง พันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีประมาณ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Cobra (คอบร้า), Tuxedo (ทักซิโด), Mosaic (โมเสค), Grass (กร๊าซ), และ Sword tail (หางดาบ)
2) ปลาเซลฟิน มอลลี่ (Poecilia latipinna Le Sueur, 1821) และมีชื่อสามัญว่า Sailfin molly พบแพร่กระจายในแถบ เซาท์แคโรไลน่า ถึงเม็กซิโก กินตัวอ่อนแมลงและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10 เซนติเมตร ปลาชนิดนี้มีครีบหลังสูงและยาวคล้ายใบเรือมีก้านครีบอ่อน13-14 ก้าน
3) ปลามอลลี่ (Poecilia sphenops Valenciennus, 1846) และชื่อสามัญว่า Molly พบแพร่กระจายในแถบอเมริกากลาง เม็กซิโก กินตัวอ่อนแมลงและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหาร ความยาวโดยเฉลี่ย 10 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายปลาเซลฟินมอลลี่ แต่ครีบหลังมีขนาดเล็กกว่ามาก
4) ปลาเซลฟิน (Poecilia vilifera Regan, 1914) และมีชื่อสามัญว่า Giant sailfin molly พบแพร่กระจายในแถบ เม็กซิโก กินตัวอ่อนแมลงและแพลงก์ตอนสัตว์เป็นอาหารขนาดความยาวเฉลี่ย 12.5 เซนติเมตร มีครีบหลังสูงและยาวกว่าเซลฟินมอลลี่มีก้านครีบอ่อน16-19 ก้าน
5) ปลาสอด (Xiphophorus helleri Heckel, 1845 )และชื่อสามัญว่า Swordtail พบแพร่กระจายอยู่ในเม็กซิโก ถึงกัวเตมาลา กินพืชน้ำ แพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงเป็นอาหาร ขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 12.5 เซนติเมตร เพศผู้มีก้านครีบหางตอนล่างยาวเลยขอบหางมีลักษณะเรียวแหลมคล้ายดาบ
6) ปลาแพลทตี้ (Xiphophorus maculatus Gunther, 1866) และมีชื่อสามัญว่า Platy หรือ Moonfish พบแพร่กระจายอยู่ในเม็กซิโก ถึงกัวเตมาลา กินพืชน้ำ แพลงก์ตอนสัตว์และตัวอ่อนแมลงเป็นอาหาร ขนาดความยาวโดยเฉลี่ยในเพศเมีย 7.5 เซนติเมตร เพศผู้ 4.0 เซนติเมตร
7) ปลาวาเรียตัส (Xiphophorus variatus Meek, 1904) และมีชื่อสามัญว่า Variatus พบแพร่กระจายอยู่ในเม็กซิโก กินตัวอ่อนแมลง แพลงก์ตอนสัตว์และพืชน้ำเป็นอาหารขนาดโดยเฉลี่ย 7.5 เซนติเมตร

3.4 กลุ่มปลากระดี่

ปลากระดี่ เป็นปลาที่จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง สร้างรังเป็นหวอดระหว่างพันธุ์ไม้น้ำ เช่นเดียวกับปลากัด แบ่งตามชนิดปลา ได้แก่ กระดี่นาง กระดี่นางฟ้า สลิด หมอตาล กระดี่ไฟ กระดี่ปากหนา กระดี่มุก กระดี่แคระ พาราไดซ์
ปลากระดี่ได้มีการเขียนไว้ใน งูๆ ปลาๆ ดอด คอม (ม.ป.ป. : http://www. samud.com/index.asp) ดังนี้
1) ปลากระดี่แคระ (Colisa lalia) มีชื่อสามัญว่า (dwarf gourami) เป็นปลาเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวเพรียวแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีน้ำตาล แดง อมเขียว มีแถบลายแดงคาดอย่างเป็นระเบียบ มีเกล็ดเล็กละเอียด สาก คลีบเรียวยาวคล้ายหนวด นิสัยขี้อาย แต่ในช่วงใกล้ผสมพันธุ์จะมีนิสัยดุมากชอบลอยตัวอยู่นิ่งๆ อยู่ที่ระดับผิวน้ำ มีอยู่ทั่วไปตามแหล่งน้ำ หนองบึง ลำห้วย ซึ่งมีพืชพันธุ์ไม้น้ำหนาแน่น เพื่อใช้เป็นแหล่งอาศัย ขยายพันธุ์และ หลบหลีกจากศัตรู มีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ โดยใช้วิธีฮุบอากาศ เหนือผิวน้ำเพื่อหายใจ ไม่ต้องผ่านช่องเหงือก จึงสามารถดำรงชีวิตได้ เมื่ออยู่ในที่แคบๆ หรือที่ๆมีปริมาณ ออกซิเจนต่ำ
2) ปลากระดี่มุก (Colisa leeri) มีชื่อสามัญว่า (pearl or mosaic gourami) เป็นปลาเป็นปลาขนาดเล็ก ลำตัวเพรียวแบนข้าง พื้นลำตัวสีเทา มีจุดสีขาววาวกระจายทั่วตัว คล้ายมุก และมีแถบดำคาดกลาง ตั้งแต่ปากจรดหาง บริเวณโคนหางมีจุดสีดำข้างละ 1 จุด มีเกล็ดเล็กละเอียด สาก คลีบเรียวยาวคล้ายหนวด นิสัยก้าวร้าว
3) ปลากระดี่หม้อ สลาก สลาง (Trichogaster trichopterus) มีชื่อสามัญว่า (three spot gourami) เป็นปลาเป็นปลาขนาดเล็ก ที่รูปร่างสวยงามมากกว่า ปลากระดี่ชนิดอื่น ทางภาคเหนือเรียกว่า ปลาสลาง แถบแม่กลาง แม่สะเรียง เรียกเป็นปลาสลาก ลำตัวเป็นสีเงิน เทาอมฟ้า มีริ้วดำพาดขวางเป็นทางประตลอดลำตัว มีเกล็ดเล็กละเอียด สาก ลักษณะพิเศษคือมีจุดดำ ที่กลางลำตัวและตรงบริเวณ คอดหางแต่ละจุด แต่ที่เรียกว่า three spot gourami เนื่องจากนับ รวมลูกตาเข้าไปด้วย คลีบเรียวยาวคล้ายหนวด
4) ปลากระดี่นาง (Trichogaster microlepis) มีชื่อสามัญว่า (Moonlight Gourami) เป็นปลาที่ไม่ค่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามกันนัก ลำตัวเพียวยาว แบนข้าง ปากและหัวเล็ก พื้นลำตัวมีสีขาวเงิน เหลือบฟ้า มีเกล็ดเล็กละเอียด สาก คลีบเรียวยาวคล้ายหนวด นิสัยก้าวร้าว ชอบกัดและทำร้ายปลาอื่นๆ แม้กระทั่งพวกเดียวกัน

3.5 กลุ่มปลาทอง

ปลาทอง เป็นปลาที่จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล พวกไข่ติด เช่นเดียวกับ ปลาคาร์พ ปลากด ปลาสวาย ปลาแขยง เป็นต้น
วันเพ็ญ มีนกาญจน์ และคณะ (2543 : http://www.fisheries.go.th/fpo-phichit/newproduck/goldfish.htm) ได้ให้ความรู้เรื่อง ปลาทอง โดยได้กล่าวไว้ ดังนี้ ปลาทอง บางครั้งนิยมเรียกว่า ปลาเงินปลาทอง   มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษ ว่า Goldfish เป็นปลาน้ำจืด อยู่ในครอบครัว Cyprinidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carassius auratus (Linn.) ซึ่งปลาทองมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมในประเทศจีนตอนใต้  ปัจจุบันมีสายพันธุ์ปลาทองมากกว่า 100 สายพันธุ์ การตั้งชื่อปลาทองแต่ละสายพันธุ์นั้นจะตั้งชื่อตามลักษณะลำตัวและลักษณะครีบ ซึ่งเราสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆได้ 2 กลุ่ม
1) พวกที่มีลำตัวแบนยาว (Flat body type) ปลาในกลุ่มนี้ส่วนมาก มีลำตัวแบนข้างและมีครีบหางเดี่ยวยกเว้น ปลาทองวากิง ซึ่งมีครีบหางคู่ สายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงได้แก่

(1) ปลาทองธรรมดา (Common goldfish) ลักษณะเหมือนปลาทองที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติมีสีส้ม เขียว ทอง และขาว มีจุดหรือลายสีดำ ลำตัวค่อนข้างยาวและแบนข้าง                                                                                                                                                                                                                                              (2) ปลาทองโคเมท (Comet goldfish) พัฒนามาจาก Common goldfish มีครีบยาวเรียวออกไป โดยเฉพาะครีบหาง ซึ่งอาจจะมีความยาวมากกว่า เศษสามส่วนสี่ หรือหนึ่งเท่าของความยาวลำตัวทำให้ว่ายน้ำได้รวดเร็ว เป็นปลาที่เลี้ยงง่าย ลำตัวมีสีส้ม ขาวเงิน และเหลือง                                                                                                         (3) ปลาทองชูบุงกิง (Shubunkin) คัดพันธุ์ได้ที่ประเทศญี่ปุ่น มีลำตัวเรียวยาวคล้ายปลาทองธรรมดา แต่มีครีบทุกครีบยาวใหญ่สมบูรณ์กว่ามาก ปลายครีบหางมนกลม ลำตัวอาจมีสีแดง ส้ม ขาว ขาวและแดง หรืออาจมีหลายสี มี 2 สายพันธุ์ คือ london shubunkin และ Bristol shubunkin สายพันธุ์ Bristol shubunkin จะมีครีบหางใหญ่กว่าชนิด London shubunkin
(4) ปลาทองวากิง (Wakin) คัดพันธุ์ได้ที่ประเทศจีน ลำตัวมีสีแดงสดใส และสีขาวสายพันธุ์นี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีลำตัวแบนยาวแต่มีครีบหางเป็นคู่
2) พวกที่มีลำตัวกลมหรือรูปไข่   (Round หรือ Egg-Shaped Body Type)
แบ่งเป็นหลายสายพันธุ์ มีลักษณะครีบ หัวและนัยน์ตาที่แตกต่างกันหลากหลาย ซึ่งสามารถแบ่งเป็นกลุ่มย่อยได้ 2 กลุ่ม โดยพิจารณาจากลักษณะครีบดังนี้
(1) พวกที่มีครีบหลัง มีลำตัวสั้น มีครีบยาวและครีบหางเป็นคู่ เช่น
ก. ปลาทองริวกิ้น (Ryukin) ลักษณะเด่น คือ ลำตัวด้านข้างกว้างและสั้น ส่วนท้องอ้วนกลม มองจากด้านหน้าโหนกหลังสูงขึ้นมากทำให้ส่วนหัวแลดูเล็กครีบหลังใหญ่ยาวและ ตั้งขึ้น ครีบหางเว้าลึกยาวเป็นพวง ทำให้มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันอีกหลายชื่อ เช่นVeiltail และ fantail เป็นต้น เกล็ดหนา สีที่พบมากมีทั้งสีแดง ขาว ขาว-แดง และส้ม หรือมีห้าสี คือ แดง ส้ม ดำ ขาว ฟ้า ซึ่งในบ้าน เรานิยมเรียกว่าริวกิ้นห้าสี
ข. ปลาทองออแรนดา (Oranda) เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์หัวสิงห์และพันธุ์ริวกิ้น อาจเรียกว่า Fantail lionhead มีลักษณะลำตัวค่อนข้างยาวกว่าปลาทองพันธุ์หัวสิงห์และริวกิ้น ลำตัวคล้ายรูปไข่หรือรูปรี ส่วนท้องไม่ป่องมาก ครีบทุกครีบยาวใหญ่โดยเฉพาะครีบหางจะยาวแผ่ห้อยสวยงาม แบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ตามลักษณะหัวและสีได้แก่
ก) ออแรนดาธรรมดา มีลำตัวค่อนข้างยาวรี หัวไม่มีวุ้น ครีบทุกครีบยาวมาก
ข) ออแรนดาหัววุ้น ลำตัวและหางไม่ยาวเท่าออแรนดาธรรมดา แต่บริเวณหัวจะมีวุ้นคลุมอยู่คล้ายกับหัวปลาทองพันธุ์หัวสิงห์แต่วุ้นจะไม่ ปกคลุมส่วนของหัวทั้งหมด จะมีวุ้นเฉพาะตรงกลางของส่วนหัวเท่านั้น และวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมเมื่อมองจากด้านบน
ค) ออแรนดาหัวแดง (Red cap oranda) คือ ออแรนดาหัววุ้นแต่จะมีวุ้นบนหัวเป็นสีแดง และลำตัวมีสีขาวภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ตันโจ มีลักษณะลำตัวสีขาวเงิน วุ้นบนหัวเป็นก้อนกลมสีแดง คล้ายปลาสวมหมวกสีแดง
ง) ออแรนดาห้าสี (Calico oranda) ลักษณะเหมือนออแรนดาหัววุ้นทั่วไป แต่มีสีลำตัว 5 สี คือ ฟ้า ดำ ขาว แดง ส้ม
จ) ออแรนดาหางพวง (Vailtail) ลักษณะครีบหางจะยาวเป็นพวง ครีบหลังพริ้วยาว ที่หัวมีวุ้นน้อยหรือไม่มีเลย ส่วนของลำตัวใหญ่สั้น ท้องกลม แต่ส่วนหลังแบนข้างเล็กน้อย บริเวณโหนกหลังสูงชันมาก ทำให้ส่วนหัวดูแหลมเล็กครีบหลังใหญ่ยาวและตั้งสูง ครีบหางเว้าลึกเป็นพวง
ค. ปลาทองเกล็ดแก้ว (Pearl Scales Goldfish) มีลำตัวอ้วนกลมสั้น ส่วนท้องป่องออกมาทั้ง 2 ด้าน เมื่อมองด้านบนจะเห็นเป็นรูปทรงกลม หัวมีขนาดเล็ก ปากแหลม มีลักษณะเด่นที่เกล็ดคือ เกล็ดหนามาก และนูนขึ้นมาเห็นเป็นเม็ดกลม ๆ ซึ่งเกิดจากเกล็ดที่มีสารพวกกัวอานิน (guanine) มากนั่นเอง ลักษณะเกล็ดที่ดีต้องขึ้นครบนูนสม่ำเสมอและเรียงกันอย่างมีระเบียบ ครีบทุกครีบรวมทั้งหางสั้นและต้องกางแผ่ออกไม่หุบเข้าหรืองอ สีที่นิยมได้แก่ สีแดง ส้ม เหลือง ดำ ขาว ขาวแดง ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทยมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ เกล็ดแก้ว หัวมงกุฎ เกล็ดแก้วหน้าหนู และเกล็ดแก้วหัววุ้น
ง. ปลาทองตาโปน (Telescope Eyes Goldfish) มีลักษณะลำตัวสั้น และส่วนท้องกลมคล้ายๆ กับพันธุ์ริวกิ้น มีลักษณะเด่นที่ตาทั้งสองข้าง โดยตาจะยื่นโปนออกมาด้านข้างเห็นได้เด่นชัด ถือกันว่าตายิ่งโปนมากยิ่งเป็น ลักษณะที่ดี และเมื่อมองจากด้านบนจะต้องมีลักษณะกลมยื่นออกมาเท่ากันทั้งตาซ้ายและตาขวา ครีบทุกครีบและหางจะต้องแผ่กว้าง ปลายไม่หุบเข้า หรืองอไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ครีบที่เป็นครีบคู่จะต้องเท่ากันและชี้ไปในทิศทางเดียวกัน (ขนานกัน) ปลาทองพันธุ์นี้ยังแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ได้อีกตามลักษณะสีบนลำตัวและครีบ ได้แก่
ก) ปลาทองตาโปนสีแดง หรือขาวแดง (Red Telescope-eyes Goldfish) ลำตัวและครีบจะต้องมีสีแดงเข้มหรืออาจมีสีขาวสลับสีแดง และสีขาวจะต้องขาวบริสุทธิ์ไม่อมเหลืองจึงจะถือว่าเป็นลักษณะที่ดี
ข) ปลาทองตาโปน 3 สี หรือ 5 สี (Calico Telescope-eyes Goldfish)   ลำตัวและครีบมีหลายสีในปลาตัวเดียวกัน
จ. ปลาทองพันธุ์เล่ห์ (Black Telescope-eyes Goldfish หรือ Black Moor) ซึ่งได้แก่ ปลาทองที่เรียกว่า รักเล่ห์ หรือเล่ห์นั่นเอง ลักษณะที่ดีของปลาพันธุ์นี้คือ ลำตัวและครีบจะต้องดำสนิทและไม่เปลี่ยนสีไปจนตลอดชีวิต
ฉ. ปลาทองแพนด้า (Panda) นิยมมากในประเทศจีน เป็นปลาทองพันธุ์เล่ห์ที่ได้มีการลอกสีที่ลำตัวจนกลายเป็นสีขาวหรือสีเงิน ส่วนครีบต่าง ๆ จะมีสีดำมี   ลักษณะคล้ายหมีแพนด้า ซึ่งสายพันธุ์นี้จะมีลักษณะไม่คงที่เพราะมีการลอกสีไปเรื่อย ๆ
ช. ปลาทองปอมปอน (Pompon) ประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ได้ มีลักษณะลำตัวสั้น มองจากด้านบนจะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายปลาทองหัวสิงห์แต่แตกต่างกัน ตรงส่วนหัว โดยผนังกั้นจมูกของปลาทองปอมปอนจะขยายเจริญเติบโตออกมาข้างนอกเป็นพู่ 2 ข้างทำให้แลดูแปลกตาออกไป มีช่วงลำตัวยาวและเพรียวกว่าปลาทองหัวสิงห์สายพันธุ์อื่นๆ ที่นิยมมากที่สุดคือพันธุ์สีแดงไม่มีครีบหลัง สายพันธุ์ปอมปอนแบ่งออกเป็นปอมปอนหัวสิงห์ ปอมปอนออแรนดา
(2) พวกที่ไม่มีครีบหลัง มีรูปร่างกลมและไม่มีครีบหลัง ปลาทองในกลุ่มนี้จะว่ายน้ำได้ไม่ดีเทียบเท่ากับกลุ่มที่มีครีบหลังได้แก่
ก. ปลาทองหัวสิงห์จีน (Chinese Lionhead) จีนเป็นประเทศแรกที่เพาะพันธุ์ปลาทองสายพันธุ์นี้ ชาวตะวันตกเรียกปลาทองสายพันธุ์นี้ว่า Lionhead ในประเทศไทยเรียกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน (chinese lionhead) ลักษณะโดยทั่วไปจะมองคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นแต่ลำตัวค่อนข้างยาวไม่ สั้นกลมอย่างสิงห์ญี่ปุ่น และส่วนหลังก็จะโค้งน้อยกว่าสิงห์ญี่ปุ่น หางใหญ่ยาวกว่าวุ้นบนหัวจะมีมากกว่าสิงห์ญี่ปุ่น วุ้นขึ้นปกคลุมส่วนหัวทั้งหมดและวุ้นที่ดีจะต้องมีลักษณะเป็นเม็ดละเอียด สีลำตัวและครีบ มักจะมีสีอ่อนกว่าสิงห์ญี่ปุ่น เมื่อโตเต็มที่มีขนาดเฉลี่ยประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ก็เคยพบบางตัวมีขนาดใหญ่ถึง 25 เซนติเมตร อายุเฉลี่ยประมาณ 5-7 ปี
ข. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น (Ranchu หรือ Japanese Lionhead) เป็นปลาทองที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นเรียก Ranchu ลักษณะที่ดีของปลาทองพันธุ์นี้คือ ลำตัวสั้นค่อนข้างกลม ถ้ามองจากด้านบนท้องทั้งสองด้านจะต้องป่องออกเท่ากัน สันหลังโค้งเรียบเป็นรูปไข่ ไม่มีรอยหยักขึ้น ๆ ลง ๆ ไม่มีครีบหลัง ครีบทุกครีบสั้น ครีบคู่ทุกครีบต้องมีขนาดเท่ากัน และอยู่ในทิศทางเดียวกัน (ขนานกัน) ครีบหางสั้นและตั้งแข็งแผ่กว้าง วุ้นจะต้องขึ้นทั่วทั้งหัว เช่น บริเวณรอบปาก รอบดวงตาและใต้คาง โดยเฉพาะวุ้นใต้คางควรจะมีมากเป็นพิเศษจนมองดูจากด้านบนหัวจะมีลักษณะเป็น รูปสี่เหลี่ยม ขณะว่ายน้ำต้องทรงตัวได้ดีและว่ายน้ำในลักษณะหัวก้มต่ำเล็กน้อย สีของปลาทองพันธุ์นี้มีหลายสี เช่น แดง แดงและขาว ส้ม ดำ ขาว และห้าสี สีแดงเป็นสีที่ได้รับความนิยมมาก ปลาชนิดนี้ค่อนข้างอ่อนแอเลี้ยงยาก เนื่องจากการผสมเลือดชิด (Inbreed) ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 20-25 เซนติเมตร
ค. ปลาทองหัวสิงห์ลูกผสม (Hybrid lionhead, Ranchu x Chinese Lionhead) เป็นปลาลูกผสมเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทย ซึ่งนำจุดเด่นของปลาทองหัวสิงห์จีน และสิงห์ญี่ปุ่นมารวมกันไว้ในปลาตัวเดียวกัน สาเหตุของการผสมข้ามพันธุ์ เนื่องมาจากปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น จะผสมพันธุ์ได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นการนำปลาทองหัวสิงห์จีนมาผสมด้วยจะช่วยให้ปลาแพร่พันธุ์ได้ง่ายและ ได้จำนวนลูกปลาเพิ่มมากขึ้น ลักษณะเด่นของปลาทองหัวสิงห์ลูกผสมคือ วุ้นบนหัวของปลาจะมีขนาดปานกลาง ไม่ใหญ่เท่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่ใหญ่กว่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น หลังโค้งมนมากกว่าปลาทองหัวสิงห์จีน แต่ไม่โค้งและสั้นเท่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น ครีบหางสั้นกว่าปลาทองหัวสิงห์ จีน แต่จะยาวกว่าปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น
ง. ปลาทองพันธุ์สิงห์ตามิดหรือสิงห์สยาม (Siamese Lionhead) เป็นปลาที่คัดพันธุ์ได้ในประเทศไทย ลักษณะลำตัวทั่ว ๆ ไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่นแต่หัวมีวุ้นมากกว่า วุ้นจะขึ้นคลุมทุก ๆ ส่วนบนหัวแม้กระทั่งส่วนของตาจะมองไม่เห็นเลยจึงทำให้ได้ชื่อว่าสิงห์ตามิด ครีบหางมีขนาดใหญ่กว่าสิงห์ญี่ปุ่นเล็กน้อย ทุกส่วนของลำตัวต้องดำสนิท
จ. ปลาทองพันธุ์ตากลับ (Celestial Goldfish)  เป็นปลาทองที่มีต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน ชาวจีนเรียกว่าโชเตนงัน(Chotengan) ซึ่งมีความหมายว่า ปลาตาดูฟ้าดูดาว หรือตามุ่งสวรรค์ ญี่ปุ่นเรียกปลาชนิดนี้ว่าเดเมรันชู (Deme- ranchu) ลักษณะเด่นคือ มีตาหงายกลับขึ้นข้างบน ผิดจากปลาทองชนิดอื่นๆ ตาใหญ่สดใสทั้งสองข้าง ส่วนหัวไม่มีวุ้นหรือมีเคลือบเล็กน้อย ไม่มีครีบหลัง ลำตัวยาว หลังตรงหรือโค้งลาดเล็กน้อย ครีบหางยาว
ฉ. ปลาทองพันธุ์ตาลูกโป่ง (Bubble Eyes Goldfish) มีลักษณะลำตัวคล้ายพันธุ์หัวสิงห์แต่ค่อนข้างยาวกว่าไม่มีครีบหลัง ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือบริเวณใต้ตาจะมีถุงโป่งออกมาลักษณะคล้ายลูกโป่ง  และถือกันว่าถุงลูกโป่งยิ่งมีขนาดใหญ่ยิ่งเป็นลักษณะที่ดี และถุงทั้งสองข้างจะต้องมีขนาดเท่ากัน ปลาพันธุ์นี้ที่พบมากมีสีแดง ส้ม หรือสีผสมระหว่างสีแดงและสีขาว หรือส้มและขาว จัดเป็นปลาที่เลี้ยงยากและเพาะพันธุ์ได้ยาก ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 20-25 เซนติเมตร

3.6 กลุ่มปลาปอมปาดัวร์ (discus)

มี ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Symphysodon discusปลาปอมปาดัวร์ เป็นปลาที่จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง สร้างรังเป็นวัสดุแข็งตามก้นบ่อ
แบ่งตามลวดลายและสีของลำตัว
- Brown discus ได้แก่ 5สีแดง, 5สีน้ำตาล, 5สีเหลือง
- Red turquoise ได้แก่ 7สีแดง, 7สีเขียว, 7สีบลู
- Green and blue ได้แก่ บลูเยอรมัน, บลูไดมอน
- Snake skin ได้แก่ ลายงู, ฝุ่นลายงู
- Solid pigeon blood ได้แก่ ฝุ่นทอง ฝุ่นมุก ฝุ่นแดง
- Spotted discus ได้แก่ ลายจุด
สมุด ดอท คอม samud.com (ม.ป.ป : http://www.samud.com/index.asp) ได้สรุปไว้ว่า ปลาปอมปาดัวร์(Pompadour) หรือมีชื่อเรียกสามัญภาษาอังกฤษว่า Discus อยู่ในสกุลของ Symphysodon และจัดอยู่ในครอบครัว Cichlidae ซึ่งเป็นครอบครัวปลาที่ใหญ่ที่สุดครอบครัวหนึ่ง โดยมีมากถึงกว่า 600 ชนิด มีชื่อเรียกรวมๆกันทั่วไปว่า Cichilds ปลาในครอบครัวนี้ส่วยใหญ่มีถิ่นกำเนิดและพบอาศัยในเขตร้อน โดยเฉพาะทวีปแอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ลักษณะที่สำคัญของปลาในครอบครัวนี้ คือ มีครีบหลังต่อกันยาวตลอด ส่วนของลำตัว และบริเวณส่วนครีบหน้าจะเป็นหน้าแหลม ซึ่งจะต่อติดกับครีบอ่อนที่อยู่ด้านท้ายลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งคือ รูจมูกมีเพียงข้างละรู ซึ่งแตกต่างจากปลาในครอบครัวอื่นที่มีรูจมูกข้างละ 2 รู ปลาจำพวก Cichilds มักจะมีสีสันบนลำตัวสวยงาม จึงมีผู้นิยมนำมาเลี้ยงเป็นปลาตู้ซึ่งคนรู้จักกันทั่วไป เช่น ปลาเทวดา ปลาออสก้าร์ ปลาหมอสี เป็นต้น ส่วนที่นำมาเลี้ยงเป็นอาหารก็คือ ปลาหมอเทศ ปลานิล เป็นต้น
ปลาปอมปาดัวร์ เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะเป็นรูปทรงกลมลำตัวแบนมีความกว้างของลำตัวมากจนมี ลักษณะคล้ายจานตามครีบหลังและครีบท้องเรียนเป็นแนวยาวตลอดจนถึงครีบหาง โดยบริเวณด้านหน้าของครีบหลังและครีบทวารที่ต่อกันกับครีบอ่อนด้านท้ายจะมี ลักษณะ แข็งเป็นหนามแหลมคล้ายเงี่ยง ลวดลายและสีสันลำตัวมีอยู่ด้วยกันหลายสี ขนาดโตเด็มที่ประมาณ 6-8 นิ้วเป็นปลาที่มีการเคลื่อนไหวเนิบนาบดูอ่อนช้อยสวยงามมีถิ่นกำเนิดเดิมที่ ลุ่มแม่น้ำอเมซอน อันเป็นแม่น้ำที่อยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีลำน้ำสาขาต่างๆไหลผ่านครอบคลุมหลายประเทศด้วยกัน เช่น บราซิล เวเนซุเอลา โคลัมเบียและเปรู ซึ่งปัจจุบันบริเวณลุ่มแม่น้ำนี้ยังคงความเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างไปจากเดิม สำหรับปลาที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในลุ่มน้ำลำธารที่มีกระแสน้ำไหลเอื่อยๆ และมีระดับ ความลึกของน้ำไม่มากนักมักหลบอาศัยตามรากไม้น้ำหรือใต้พุ่มไม้น้ำที่มี ลักษณะหนาแน่น

3.7 กลุ่มปลาเทวดา (Angel fish)

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pterophyllum eimkei ปลาเทวดา เป็นปลาที่จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง สร้างรังเป็นวัสดุแข็งตามก้นบ่อ แบ่งตามลวดลายของลำตัวได้แก่ ม้าลาย หินอ่อน มุก ดำ ครึ่งชาติ ทอง
โกวิทย์ พุฒทวี (2549: http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=155 )ได้อธิบายไว้ว่า ปลาเทวดามีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมที่อเมริกาใต้ แถบลุ่มน้ำโอริโนโก ลุ่มน้ำอเมซอน เป็นปลาที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงในน้ำนิ่งที่มีต้นไม้ขึ้นระเกะระกะ มีรากไม้ห้อยระโยงละยาง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ปลามีลายเส้นแถบๆ แนวตั้ง เพื่อให้กลมกลืนกับเงาของรากไม้ที่กระจายอยู่ในแหล่งอาศัยนั้น รูปร่างลักษณะ ปลาเทวดาเป็นปลาที่มีลักษณะตัวแบนมาก ครีบและหางยื่นยาวออกมาจากลำตัว ครีบท้องมีอยู่หนึ่งคู่เรียวเล็กและปลายชี้แหลม โดยทั่วไปมีพื้นลำตัวเป็นสีเงิน ขนาดเล็กละเอียดเป็นมันวาว สายพันธุ์ดั้งเดิมนั้น จะมีลักษณะลำตัวสีเทาอมเขียว และมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว บางตัวก็จะมีจุดสีแดงเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วบริเวณไหล่ ส่วนบริเวณหลังจะเป็นสีน้ำตาลเขียวมะกอก เมื่อโดนแดดจะเห็นประกายสีน้ำตาลแดงแวววาว ส่วนสายพันธุ์ที่มีการนำเข้ามาขายในบ้านเรา มีชื่อเรียกว่า เทวดายักษ์หรือเทวดาอัลตัม เทวดาสายพันธุ์นี้เป็นเทวดาป่า ที่มีโครงสร้างแตกต่างจากปลาเทวดาสายพันธุ์อื่น โดยโครงสร้างร่างกายจะออกในแนวสูงกว่าเทวดาอื่นๆ ประกอบกับความยาวและตั้งตรงของครีบ ทำให้ปลาเทวดาอัลตัมดูใหญ่โตกว่าปลาเทวดาสายพันธุ์อื่นๆ มาก โดยเฉพาะความสูงรวมครีบบนและล่าง จะสูงถึง 15 นิ้ว ขณะที่ความยาวของตัวรวมหางเพียง 8 นิ้ว เท่านั้นสำหรับโครงสร้างลำตัว จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีแถวเกล็ดจากขอบเหงือกลากยาวไปจรดครีบหางทั้งสิ้น 41-47 เกล็ด หน้าผากปลาเทวดาสายพันธุ์นี้จะมีความลาดตั้งชันกว่าปลาเทวดาสายพันธุ์อื่นๆ ส่วนสีเนื้อของปลาจะเป็นสีเทาอมเขียว และมีประกายสีเงินเคลือบทับทั่วตัว คล้ายกับ เทวดาสายพันธุ์ “P. scalare”
จุดเด่นอีกประการคือ จะมีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่ประปรายบริเวณส่วนหัวแก้มและไหล่ ส่วนบริเวณลำตัวจะมีลายเส้นสีดำจนถึงเทาเข้มพาดแนวตั้ง หรืออาจจะเป็นสีน้ำตาลไหม้กลมกลืนกับจุดบนลำตัวก็ได้ ลายเส้นที่ลำตัวจะมีจำนวนเท่ากับ สายพันธุ์ P.scalare โดยเส้นที่ยาวสุดจะเป็นเส้นที่ 5 ซึ่งเป็นเส้นคาดเอว

3.8 กลุ่มปลาออสการ์

เป็นปลาที่จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง สร้างรังเป็นวัสดุแข็งตามก้นบ่อ
อมรรัตน์ เสริมวัฒนากุล (2545 : http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=85) ปลาออสการ์เป็นพันธุ์พื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำ Orinoco, อะเมซอน และ La Plata ในทวีป อเมริกาใต้ แต่เดิมพบในลำคลองแถบ ไมอามี่ และ Dade Country ที่ฟลอริด้า มีการเลี้ยงในฟาร์มปลาเพื่อเป็นอาหารและกีฬา ต่อมาได้มีการนำเข้ามาเพื่อเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยกระจายอยู่ทั่วไปแถบทวีปอเมริกา แอฟริกา และเอเซีย ปลาออสการ์ (Astronotus ocellatus) เดิมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lobotes ocellatus ชื่อสามัญว่า Oscar, Red Belvet, Velvet Cichlid, Marbled Cichlid, Peacock-Eyed Cichilid, Tiger Oscar, Peacock Cichilid อยู่ในครอบครัว Cichlidae มีนิสัยค่อนข้างดุ โตเต็มวัยมีความยาวขนาด 12 – 14 นิ้ว ชอบกินอาหารที่มีชีวิต สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้
ปลาออสก้าร์ แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด ออสการ์สีพื้น ลายเสือ สีแดง สีเผือก หางยาว อาจจะพบประเภทอื่น ๆ อีก ได้แก่ เผือกตาแดง สีฟ้า (อาจจะมาจากการย้อม) และลายหินอ่อน นอกจากนั้นยังมี เผือกทอง เผือกเสือแดง หรือมีตั้งแต่สีขาว น้ำตาลจนกระทั่งสีดำ มีลายสีแถบแดงที่ด้านข้างลำตัว สีของปลาขนาดเล็กพบว่ามีสีแดงสลับกับสีดำ เมื่อโตขึ้นสีจะเปลี่ยนไปเป็นสีเทาและสีส้มแดง ส่วนครีบมีสีดำหรือทอง

3.9 กลุ่มปลาบาร์บ

เป็นปลาที่จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous ได้แก่ เสือสุมาตรา, ทีบาร์บ, โรซี่บาร์บ
ปลาเสือสุมาตรา หรือ เสือข้างลาย
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ม.ป.ป. : http://www.vet.ku.ac.th/libraryhomepage/db_directory/fish/fish_tiger_type.htm ) ได้เขียนไว้ดังนี้ ชื่อสกุล  Barbus tetrazona ชื่อไทย  ปลาเสือข้างลาย, เสือสุมาตรา ชื่ออังกฤษ  Tiger barb, Sumatra barb, Five – banded barb พบในแม่น้ำลำคลอง อ่างเก็บน้ำ ธารน้ำตก ในเขตภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางของประเทศไทย สำหรับในต่างประเทศได้แก่ มาเลเซีย และตอนกลางของสุมาตรา เป็นต้นปลาเสือข้างลายลำตัวมีสีเหลืองอมเขียว หรือสีเหลืองอมน้ำตาล ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ แถบดำห้าแถบที่พาดขวางลำตัวแต่สำหรับแถบที่สามอาจมองเห็นเพียงเป็นจุดดำ บริเวณโคนครีบหลัง จากที่ลำตัวสีเหลืองสลับลายดำจึงทำให้ได้ชื่อว่า “ปลาเสือ” ปลาเสือข้างลายตัวผู้สีจะเข้มจัดกว่าตัวเมีย ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาขนาดเล็ก ปลาที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาเสือข้างลายมีอยู่หลายชนิด เช่น ปลาเสือทับทิมดำ ( Black ruby barb) ปลาเสือจีน ( Chinese barb) และบาร์บัส เพนตราโชนา เป็นต้น

3.10 กลุ่มปลาหมอสี

ปลาหมอสี ได้แก่ มาลาวี, ไตรทอง, ฟลาวเวอร์ฮอร์น เป็นปลาที่จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำนิ่ง สร้างรังเป็นวัสดุแข็งตามก้นบ่อ เช่นเดียวกับ ปลาปอมปาดัวร์ ปลาเทวดา ปลาออสการ์
ยุพินท์  วิวัฒนชัยเศรษฐ์ (2548: http://www.nicaonline.com/articles/site/ view_article.asp?idarticle=142) ได้กล่าวถึง ปลาหมอสี ไว้ดังนี้ ปลาหมอสีเป็นปลาสวยงามประเภทหนึ่งในวงศ์ชิคลิดี หรือปลาชิคลิด ซึ่งมีถิ่นกำเนิดและแพร่กระจายอยู่ทั่วภูมิภาคในเขตร้อนของโลก ได้แก่ ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกาใต้
แหล่งกำเนิดปลาหมอสี ได้แก่
1) ทะเลสาบมาลาวี เป็นทะเลสาบน้ำจืดในทวีปแอฟริกา มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 9 ของโลก มีปลาหมอหลายกลุ่ม เช่น
(1) กลุ่มนอนเอ็มบูนา มีประมาณ 250 ชนิด 38 สกุล การจำแนกสกุลโดยใช้แพทเทิร์นของเมลานิน (เม็ดสีประเภทสีดำที่อยู่ในผิวหนังของปลา) เป็นหลัก ความยาวโดยเฉลี่ย 15 เซนติเมตร เช่น ปลหมอคริสตี้ ปลาหมอมาลาวีเหลือง ปลาหมอมาลาวีน้ำเงินคอแดง ปลาหมอมาลาวีน้ำเงิน ปลาหมอรอสตราตัส ปลาหมออิเล็กทริกบลู เป็นต้น
(2) กลุ่มเอ็มบูนา มี 250 ชนิด 10 สกุล การจำแนกสกุลใช้ลักษณะของฟันเป็นหลัก เป็นปลาที่มีสีสวยสะดุดตาความยาว 10-12 เซนติเมตร เช่น ปลาหมอกล้วยหอม ปลาอีสเทิร์นบลู ปลาหมอดีมาสัน ปลาหมอลิลลี่
2) ทะเลสาบแทนแกนยีกา เป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก ปลาหมอสีที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบแทนแกนยีกา เช่น ปลาหมอฟรอนโตซ่า ปลาหมอแซงแซว ปลาหมอดูบอยซี่ ปลาหมอลองจิออร์
3) ทะเลสาบวิกตอเรีย เป็นทะเลสาบที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก ได้แก่ ปลาหมอออบลิคิวเดนซ์ ปลาหมอในเออร์รี ปลาหมอบราวนี
4) อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ปลาหมอสีในภูมิภาคนี้มีรูปร่าง วิถีชีวิตและพฤติกรรมแตกต่างไปจากหมอสีมาลาวี หมอสีแทนแกนยีกา และวิกตอเรีย สำหรับปลาในกลุ่มอเมริกากลาง ได้แก่ ปลาหมอริวูเลตัส ปลาหมอบราซิเบียน ปลาหมอหมอคาพินเต้ หรือกรีนเท็กซัส ปลาหมอฟลามิงโก หรือเรด เดฟเวิล ปลาหมอมาคู ปลาหมอตาแดง
ปลาหมอสกุล ต่างๆ ได้แก่
(1) สกุลแอริสโทโครมิส มีเพียง 1 ชนิดคือ ปลาหมอคริสตี้
(2) สกุลออโลโนคารา ได้แก่ ปลาหมอมาลาวีเหลือง ปลาหมอมาลาวีสีน้ำเงินคอแดง ปลาหมอมาลาวีห้าสี ปลาหมอมาลาวีน้ำเงิน
(3) สกุลโคพาไดโครมิส ชนิดปลาในสกุลนี้ อาทิ หมอบอร์เลยี คาดันโก
(4) สกุลลาบิโอโทรเฟียสสกุลนี้มีเพียง 2 ชนิด หมอปากโลมาตัวอ้วนห้าสีหมอปากโลมาตัวผอม

3.11 กลุ่มปลาแฟนซีคาร์พ

ปลาแฟนซีคาร์พ (Fancy Carp) หรือที่เรียกกันว่าปลาไนแฟนซี ปลาไนสี หรือปลาไนทรงเครื่อง เป็นปลาน้ำจืดในกลุ่มปลาตะเพียน ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า โคย (Koi) หรือนิชิกิกอย (Nishikigoi) จัดอยู่ในประเภท ปลาออกลูกเป็นไข่ มีลักษณะการผสมพันธุ์แบบ Oviparous อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหล พวกไข่ติด เช่นเดียวกับ ปลาทอง
สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ (2545 ค :
http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=68 ) อธิบายถึงสายพันธุ์และลักษณะของปลาคาร์พไว้ดังนี้ ชื่อปลาแบบญี่ปุ่นปัจจุบันการเรียกชื่อปลาแฟนซีคาร์พตามสายพันธุ์ อาศัยการดูลักษณะและรูปร่างแถบสีของปลาเป็นหลัก ชาวญี่ปุ่นเป็นผู้กำหนดการเรียกชื่อของปลานี้โดยแบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม ลักษณะดังต่อไปนี้
1) โคฮากุ (KOHAKU)   ”โค” แปลว่า แดง “ฮากุ” แปลว่า ขาว โคฮากุ คือปลาที่มีสีแดงกับสีขาว ปลาที่ดีสายพันธุ์นี้จะต้องเป็นสีขาวสะอาดเหมือนสีหิมะซึ่งจะตัดกับแดงซึ่ง อยู่ในรูปแบบที่ดีอย่างเด่นชัด
2) ไทโช-ซันโชกุ (TAISHO-SANSHOKU)  จักรพรรดิไทโช บิดาของจักรพรรดิองค์ปัจจุบัน คือเริ่มประมาณ ค.ศ. 1912 “ซันโชกุ” แปลว่า 3 สี ปลาคาร์ปพวกนี้พื้นลำตัวเป็นสีขาว แต่ลวดลายหรือจุดแต้มสีแดงหรือสีดำที่เด่นชัด ส่วนสีขาวก็เป็นเหมือนหิมะและที่ครีบหูจะต้องเป็นสีขาวด้วย
3) โชวา-ซันโชกุ (SHOWA-SANSHOKU)   ”โชวา” หมายถึง ยุคหนึ่งในสมัยจักรพรรดิองค์ปัจจุบันครองราช เริ่มประมาณ ค.ศ. 1927 “ซันโชกุ” แปลว่า 3 สี ปลาคาร์พกลุ่มนี้มีพื้นลำตัวเป็นสีดำ แต่มีลวดลายหรือจุดแต้มสีขาวและสีแดง ที่ครีบหูจะต้องมีจุดสีดำ
4) อุทซึริ-โมโน (UTSURI-MONO)   ”อุทซึริ” หมายถึง สีดำที่เป็นลายแถบคาดคลุมจากหลังลงมา ถึงส่วนท้องด้านล่างบนพื้นสีอื่น ๆ ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ชิโร-อุทซึริ (Shiro-Utsuri), ฮิ-อุทซึริ (Hi-Utsuri), คิ-อุทซึริ (Ki-Utsuri)
5) เบคโกะ (BEKKO)  “เบคโกะ” แปลว่า กระ ปลากลุ่มนี้มีสีขาว แดง หรือเหลือง สีลวดลายเป็นสีดำ มีลักษณะเหมือนที่พบบนกระดองเต่า คือ สีดำเป็นดอก ๆ บนลำตัว ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ชิโร-เลคโกะ (Shiro-Bekko), ฮิ-เบคโกะ (Hi-Bekko), คิ-เบคโกะ (Ki-Bekko) เป็นต้น
6) อาซากิ ชูซุย (ASAGI, SHUSUI)  ”อาซากิ” แปลว่า สีฟ้าอ่อน ส่วนบนของลำตัวปลาเป็นสีฟ้าหรือสีเทา แต่มีลวดลายคล้ายร่างแหหรือตาข่ายคลุม “ชูซุย” หมายถึง ปลาแฟนซีคาร์พพันธุ์เยอรมัน (โดยซึ) ที่มีเกล็ดสีน้ำเงินบนแนวสันหลัง
7) โคโรโมะ (KOROMO)  ”โคโรโมะ” แปลว่า เสื้อคลุม โคโรโมะ หมายถึง ปลาซึ่งเกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างกลุ่มสีโคฮากุ กับกลุ่มสีอาซากิ หรือกลุ่มสีซันโกกุ กับกลุ่มสีอาซากิ สายพันธุ์ที่เกิดใหม่และรู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น อะ-โคโรโมะ (Ai-goromo), ซูมิ-โคโรโมะ (Sumi-goromo) เป็นต้น
8) ฮิการิ-มูจิโมโน หรือ โอกอน (HIKARI-MUJIMONO or OGON)  ”ฮิการิ” แปลว่า แสงรัศมี “มูจิโมโน” แปลว่า ชนิดที่มีสีเดียวกันล้วน ๆ หมายถึงปลาที่มีสีเดียวกันตลอดตัว “โอกอน” เป็นปลาที่มีสีเหลืองทอง Platinum-Ogon เป็นปลาสีเหลืองที่มีประกายเหมือนทองคำขาว, Orange-Ogon เป็นปลาสีเหลืองมีประกายสีส้ม เป็นต้น
9) ฮิการิ-โมโยโมโน (HIKARI-MOYOMONO)  ”ฮิการิ” แปลว่า แสงรัศมี “โมโยโมโน” แปลว่า ชนิดที่ผสม รวมความแปลว่าชนิดที่มีเกล็ดสีเงินสีทองเป็นแสงรัศมี เป็นลูกผสมระหว่างปลาโอกอน กับปลาในกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ปลากลุ่ม อุทซึริ ปลาที่รู้จักกันดีในกลุ่มนี้เช่น ยามาบูกิ-ฮาริวากี (Yamabuki-Hariwake), คูจากุ (Kujaku) เป็นต้น
10) ฮิการิ-อุทซึริโมโน (HIKARI-UTSURIMONO) เป็นการผสมพันธุ์ปลาระหว่างอุทซึริ กับ โอกอน ได้ลูกปลาสีพันธุ์ต่างๆที่มีสีทองหรือสีเงินแทรกอยู่ เช่น สีของพันธุ์โชวาที่มีสีทองคำขาวแทรกอยู่ (Gin-Showa)สีของพันธุ์อุทซึริที่มีสีทองแทรกอยู่ (Kin-Ki-Utsuri) เป็นต้น
11) คาวาริโมโน (KAWARIMONO)  ”คาวาริ” แปลว่า เปลี่ยนแปลงนอกคอก ไม่เหมือนใคร “โมโน” แปลว่า ชนิด รวมความแปลว่า ชนิดที่สีไม่เหมือนใคร เช่น ปลาสีดำ (Karasugoi) สีชา (Chagoi), สีเขียว (Midorigoi)
12) คินกินริน (KINGINRIN)  ”คิน” แปลว่า ทอง “กิน” แปลว่า เงิน “ริน” แปลว่า เกล็ด รวมความแปลว่า ปลาที่มีเกล็ดทอง เกล็ดเงิน หมายถึงปลาที่มีเกล็ดสีเงินสะท้อนแสงแวววาวเป็นลายเส้นขนานตามแนวยาวของ สันหลัง เช่น ปลาพันธุ์โคฮากุที่มีเกล็ดเงิน (Kinginrin-Kohaku) ปลาพันธุ์เบคโกะที่มีสีเงิน (Kinginrin-Bekko) เป็นต้น
13) ตันโจ (TANCHO)  ”ตันโจ” แปลว่า หงอนแดงของหัวไก่ หมายถึงปลาที่มีสีแดงลักษณะกลมที่หัว ส่วนลำตัวจะมีสีขาวหรือสีอื่นก็ได้ เช่น ตันโจ-โคฮากุ (Tencho Kohaku), ตันโจ-โชวา (Tancho-Showa) เป็นต้นจากการตั้งชื่อกลุ่มปลาดังกล่าวข้างต้น จะสังเกตได้ว่าการเรียกชื่อถือรากศัพท์ของสี สถานที่ ชื่อรัชสมัย ฯลฯ ในประเทศญี่ปุ่นมาเป็นคำเรียก ดังนั้นในการเรียกชื่อปลาแต่ละตัวซึ่งมีลักษณะรวมในกลุ่มเดียวหรือหลายกลุ่ม ปนกันจึงสามารถนำชื่อกลุ่มเรียงต่อกัน หรือจะตั้งเป็นชื่อใหม่ก็ได้ ตัวอย่างเช่น
(1) ตันโจ-แพลทินั่ม-กินริน (Tancho-Platinum-Ginrin) หมายถึงปลาสีแพลทินั่มที่มีสีแดงกลมที่หัวและเกล็ดสีเงินสะท้อนแสงแวววาว เป็นสายเส้นขนานตามลำตัว
(2) ตันโจ-โชวา-ซันโชกุ (Tancho-Showa-Sanshoku) หมายถึงปลาสีแดง ดำ ขาว ซึ่งมีสีดำเป็นสีพื้นของลำตัวตลอดจนครีบหู และมีสีแดงกลมที่บริเวณหัว
(3) แพลทินัม-โดยซึ (Platinum-Doitsu) หมายถึงปลาพันธุ์เยอรมันมีสีทองคำขาว
(4) ฮิ-อุทซึริ (Hi-Utsuri) หมายถึงปลาสีแดงที่มีสีดำเป็นลายแดงคาดคลุมจากหลังลงมาถึงส่วนท้องด้านล่าง
(5) ชิโร-เบคโกะ (Shiro-Bekko) หมายถึงปลาสีขาวมีลวดลายสีดำเป็นดอกบนลำตัว

3.12 กลุ่มปลาอื่นๆ

ได้แก่ กลุ่มปลาสองน้ำ, กลุ่มปลาเตทตร้า ในจำนวนนี้มีกลุ่มของปลาที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก ได้แก่ หมูอารีย์, ปลาติดหิน (ปลาค้างคาว), ปลาตะพัด, ปลาเสือตอ ซึ่งอยู่ในพ.ร.บ.คุ้มครอง และอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในบัญชีไซเตรส ได้แก่ ปลาช่อนยักษ์, ปลายี่สกไทย, ปลาตะพัด และปลาบึก
1) ปลาเสือตอ (Siamese Tiger Fish)
เทคโนโลยีชาวบ้าน (2547 : http://www.nicaonline.com/articles1/site/ view_article.asp?idarticle=145) ปลาเสือตอเป็นปลาสวยงามที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจที่นักเลี้ยงปลาในต่าง ประเทศรู้จักกันดีมาหลายสิบปีแล้วในชื่อ SIAM TIGER FISH มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius microlepis พบทั่วไปในประเทศทางแถบร้อนเช่น อินโดนีเซีย ไทย พม่า เขมร
ปลาเสือตอที่พบในแหล่งน้ำทางภาคอีสานเป็นปลาเสือตอลายเล็กมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Coius undecimraciatus หรือในชื่อเรียกที่รู้จักในตลาดปลาสวยงามว่า “เสือตอลายเล็ก” พบมากในแม่น้ำโขงแถบจังหวัดหนองคาย นครพนม มุกดาหาร อุบลราชธานี ยโสธร ปลาเสือตออีกชนิดหนึ่งคือ ปลาเสือตอน้ำกร่อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Coius quadrifasciatus หรือเรียกว่า “ปลากะพงลาย” เป็นปลาเสือตอที่ลายเล็กที่สุดมีนิสัยค่อนข้างก้าวร้าว พบในแหล่งธรรมชาติตามปากแม่น้ำแทบทุกแห่งทั่วประเทศ  ปลาเสือตอชนิดที่นิยมและมีราคาสูงที่สุดในปัจจุบันคือ ปลาเสือตอลายใหญ่และเสือตอลายคู่ (ลาย 7 ขีด)
2) ปลาอะโรวาน่า
สมุด ดอท คอม (ม.ป.ป. : http://www.samud.com/index.asp) ปลาอะโรวาน่า นับว่าเป็นสุดยอดปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดมีเกล็ดขนาดใหญ่และ มีสีสันแวววามมีหนวดซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะคล้าย”มังกร” ปลาอะโรวาน่าจัดเป็นปลาโบราณอยู่ในตระกูล “Osteoglossidae” ซึ่งเป็นตระกูลของปลา ที่มีลิ้นเป็นกระดูกแข็ง Bony Tongue ปลาชนิดนี้พบกระจายอยู่ใน 4 ทวีปทั่วโลก คือ ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอัฟริกา และทวีปออสเตรเลีย หากจะแบ่งตามแหล่งกำเนิดสามารถแบ่งได้ 4 แห่ง ได้แก่
(1) อะโรวาน่าจากทวีปเอเชีย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Scleropagus formosus กลุ่มทวีปเอเชีย มีลักษณะสีหลายแบบ ได้แก่
ก. อะโรวาน่าทองมาเลย์ Cross Back มีชื่อเรียกหลายแบบตามแหล่งที่พบเช่น ปาหังโกลด์มาลายันโบนีทัง(Malayan Bony Tongue), บูกิทมีบูราบลู, ไทปิงโกลด์เดน หรือเพียงเอ่ยว่า อะโรวาน่าทองมาเลย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 พวกใหญ่ คือ สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดเป็นสีน้ำเงิน หรือม่วง (Blue or Purple Based) สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีเขียว (Green Based) สายพันธุ์ที่ฐานเกล็ดออกสีทอง(Gold Based)
ข. อะโรวาน่าทองอินโดนีเซีย Red Tail Golden Arowana เป็นปลาที่ถูกจำแนกอยู่ภายใต้กลุ่ม อะโรวาน่าทอง เช่นเดียวกับทองมาเลย์ ปลาชนิดนี้พบใน Pekan Bara ในประเทศอินโดนีเซีย ทองอินโดแบ่งประเภทตามสีของเกล็ดได้ 4 ประเภทคือ พวกที่มีฐานเกล็ด สีน้ำเงิน,เขียวและทอง
ค. อะโรวาน่าแดง Red Arowana ปลาอะโรวาน่าแดงที่มีขายกันในบ้านเรามีที่มาจากหลายแหล่งน้ำ ในทางตะวันตกของ กัลลิมันตันในประเทศอินโดนีเซีย อะโรวาน่าแดง แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ แดงเลือดนก (Blood Red) แดงพริก (Chilli Red) แดงส้ม (Orange Red) แดงอมทอง (Golden Red) ในปัจจุบันปลาอะโรวาน่าแดงทั้ง 4 สายพันธุ์ ได้ถูกเรียกรวมๆทั้งหมดว่า Super Red
ง. อะโรวาน่าเขียว แหล่งกำเนิดของปลาชนิดนี้พบกระจายอยู่ในมาเลเซียพม่า อินโดนีเซีย และประเทศไทยในแถบจังหวัดจันทบุรี ตราดด้วย ถิ่นกำเนิดที่แพร่กระจายในหลายประเทศ เราจึงพบความหลากหลายในรูปทรงของลำตัว และแบบของสีสัน บางตัวออกเขียวขุ่นแกมดำ รวมทั้งมีรูปทรงคล้ายกับทองมาเลย์ คือ หัวค่อนข้างโต
(2) อะโรวาน่าจากทวีปอเมริกาใต้ มีด้วยกัน 3 ชนิดด้วยกัน คือ อะโรวาน่าเงิน อะโรวาน่าดำ อะโรไพม่า ในลุ่มน้ำอะเมซอน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของปลาชนิดนี้จะเป็นสายน้ำที่ใหญ่มาก ป่าชาวพื้นเมืองจะเรียกปลาอะโรวาน่าว่า “ลิงน้ำ (Water Monkey)” ซึ่งเรียกตามลักษณะการกระโดดกินแมลงที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้เหนือผิวน้ำของปลา ชนิดนี้ ชื่อ สกุลของปลาอะโรวาน่าที่มาจากทวีปนี้ คือ Osteoglossum มีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด ดังต่อไปนี้
ก. อะโรวาน่าเงิน Silver Arowana (Osteoglossum bicirhosum) พบได้ใน ประเทศ บาซิล เปรู อะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana) อะโรวาน่าชนิดนี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลุ่มน้ำอเมซอน และกิอานา(Guiana) อเมริกาใต้
ข. อะโรวาน่าดำ ฺBlack Arowana (Osteoglossom ferreirai) พบได้ในประเทศ บลาซิล เป็น อะโรวาน่าอีกชนิดหนึ่งที่รูปร่างคล้ายกับ อะโรวาน่าเงินมาก ความแตกต่างระหว่างปลาทั้งสองชนิดนี้จะสามารถบอกได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อปลามีขนาดเล็ก ลูกปลาอะโรวาน่าจะสีดำสมชื่อโดยมีแถบสีดำคาดบริเวณตาปลาอะโรวาน่าดำมีถิ่น กำเนิดอยู่ที่ลุ่มแม่น้ำริโอเนโกร(Rio Negro) ประเทศบลาซิล ปลาชนิดนี้มีเข้ามาขายในประเทศไทยเป็นพักๆ การเลี้ยงดูค่อนข้างจะยากกว่าสีเงินเล็กน้อย
(3) กลุ่มทวีปแอฟริกา African Arowana (Heterotis niloticus) มีรายงานว่าพบเพียง 1 ชนิด คือ อะโรวาน่าแอฟริกา (Heterotis niloticus) พบในแถบแอฟริกากลาง และตะวันตกซึ่งเป็นชนิดที่มีรูปร่างจะว่าไปแล้วก็แตกต่างจากชาวบ้านมากที่ สุดคือไม่มีหนวดรูปร่างจะค่อนไปทางปลาช่อนบ้านเราซะมากกว่าจะเป็น อะโรวาน่า African Arowana (Heterotis niloticus)หรือ (Clupi sadis niloticus) เป็น อะโรวาน่าชนิดเดียวที่พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำส่วนกลางของบริเวณ Sahelo Sandanian และในทางตอนบนของลุ่มแม่น้ำไนล์และไปจนถึงฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา
(4) กลุ่มทวีปออสเตรเลีย อะโรวาน่าออสเตรเลีย (Saratogas) มี 2 ชนิด
ก. อะโรวาน่าจุดออสเตรเลีย (S. jardini) Spotted Barramundi พบที่ออสเตรเลียเหนือมีชื่อว่า spotted Barramundi(Scleropagus leichardti) มีแหล่งกำเนิดในรัฐควีนแลนด์ในลุ่มแม่น้ำ Dawson
ข. อะโรวาน่าออสเตรเลีย (S. lei chardti) Northern Barramundi พบที่ออสเตรเลียตะวันออกชื่อ Northern Barramundi(Scleropagas jardini) ซึ่งชนิดหลังนี้ยังพบที่อินโดนีเซียอีก พบบริเวณตะวันออกของออสเตรเลียแถบประเทศปาปัวนิวกีนี
———————————————————————————————————————-
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์ (2551) “แนวคิดเกี่ยวกับปลาสวยงาม” เรื่อง การผลิตและการตลาดปลา
สวยงามของเกษตรกร ผู้ทำการค้าใน เขตจตุจักร วิทยานิพนธ์ ปริญญาเกษตรศาสตร
มหาบัณฑิต (ส่งเสริมการเกษตร) แขนงวิขาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริม
การเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ตู้ปลากับฮวงจุ้ย

ข้อควรรู้ในการตั้งตู้ปลาตาม ฮวงจุ้ยมีดังนี้

1. รูปร่างของตู้ปลา

ลักษณะ ของตู้ปลาที่ดี ควรเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมยาว เป็นธาตุไม้ เชื่อว่าจะส่งเสริมให้เจ้าของบ้านเจริญก้าวหน้า เพราะน้ำจะช่วยให้ไม้เติบโต หรือว่าจะเลือกเป็นทรงกลมก็เป็นมงคลเช่นกัน เพราะทรงกลมจัดว่าเป็นธาตุน้ำ จะช่วยเสริมส่งพลังน้ำด้วยกันให้ดียิ่งขึ้น, ถ้าเป็นบ่อปลา หรือสระน้ำ ต้องมีลักษณะของโค้งมน ไม่มีเหลี่ยม หรือมุมแหลม ซึ่งมีลักษณะที่เป็นภัยกับเจ้าของบ้าน

2. การจัดวาง

ตำแหน่งของตู้ปลา บ่อปลา หรือสระน้ำ ก็มีความสำคัญมากเช่นเดียวกัน เพราะอย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า “ น้ำ ” ในวิชาฮวงจุ้ยสามารถกระตุ้นพลังโชคลาภได้  ขณะเดียวกันก็สามารถทำให้การเงินเสียหายได้หากเราวางผิดตำแหน่ง ดังนั้นเราควรจัดวางให้ตู้ปลา อยู่ในทิศที่ถูกกับธาตุน้ำเป็นหลัก (ทิศเหนือ) ซึ่งก็ต้องจะสัมพันธ์กับปีเกิด, อายุ, เพศ, ธาตุ, ราศี ของเจ้าย้าน และทิศทางของบ้านประกอบไปด้วย เช่น

หน้า บ้านหันทิศ ตำแหน่ง วางตู้ปลา
เหนือ                                                                  ใต้ หรือ เหนือ
ตะวันออก/เหนือ(30 บวกลบ 5องศา)          ตะวันออก/เหนือ หรือตะวันตก
ตะวันออก/เหนือ(45หรือ60 บวกลบ 5องศา)        ตะวันออก หรือตะวันตก/ใต้
ตะวันออก(75 บวกลบ 5องศา)                        ตะวันออก หรือตะวันตก/ใต้
ตะวันออก(90หรือ105 บวกลบ 5องศา)        ตะวันออก/เหนือ หรือตะวันตก
ตะวันออก/ใต้(120 บวกลบ 5องศา)                        ตะวันตก/เหนือ หรือตะวันตก
ตะวัน ออก/ใต้(135หรือ150 บวกลบ 5องศา)        ตะวันออก หรือตะวันออก/ใต้
ใต้(165 บวกลบ 5องศา)                              เหนือ หรือ ตะวันตก/ใต้
ใต้(180หรือ 195 บวกลบ 5องศา)                         ตะวันออก/เหนือ หรือใต้
ตะวัน ตก/ใต้(210 บวกลบ 5องศา)                          เหนือ หรือตะวันตก/ใต้
ตะวัน ตก/ใต้(225หรือ240 บวกลบ 5องศา)         ใต้ หรือตะวันออก/เหนือ
ตะวัน ตก(255 บวกลบ 5องศา)                      ตะวันออก หรือตะวันออก/ใต้
ตะวัน ตก(270หรือ285 บวกลบ 5องศา)     ตะวันตก/เหนือ หรือตะวันตก
ตะวัน ตก/เหนือ(300 บวกลบ 5องศา)                       ตรงกลาง หรือตะวันออก/ใต้
ตะวัน ตก/เหนือ(315หรือ330 บวกลบ 5องศา)   ตรงกลาง หรือตะวันตก/เหนือ
ปีเกิด                                               วางในตำแหน่งทิศ

ชวด                                                                     ทิศตะวันตก
ฉลู                                                                          ทิศใต้
ขาล                                                                    ทิศตะวันออก
มะเส็ง                                                                      ทิศใต้
มะเมีย                                                                 ทิศตะวันออก
มะแม                                                                     ทิศเหนือ
วอก                                                                     ทิศตะวันตก
ระกา                                                                       ทิศใต้
จอ                                                                      ทิศตะวันออก
กุน                                                                        ทิศเหนือ
เถาะ                                                                      ทิศเหนือ
มะโรง                                                                  ทิศตะวันตก

นอก จากนี้ ถ้าเป็นทิศที่มีประตูใหญ่อยู่ด้วย จะถือว่าเป็นมงคลมาก เพราะประตูใหญ่นั้นเป็นจุดที่กระตุ้นการไหลเวียนของโชคลาภ ให้เงินทองไหลมาไม่ขาดสาย หรือถ้าที่อยู่อาศัย หรือที่ทำงานตั้งอยู่ตรงทางสามแพร่งพอดี สามารถแก้ได้ด้วยการนำน้ำพุมาตั้งไว้บริเวณนั้น เพื่อลดความชั่วร้ายต่าง ๆ ที่จะเข้ามา ให้กระจายเป็นพลังที่ดี

3. ลักษณะที่ดีของตู้ปลา

ตู้ ปลา หรือบ่อเลี้ยงปลา ควรมีการไหลเวียนของน้ำ ให้น้ำเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ซึ่งตามหลักฮวงจุ้ย หมายถึง ลักษณะของเงินที่หมุนเวียนเข้ามาเรื่อยๆ และ น้ำที่ใช้เลี้ยงปลา ควรจะใส สะอาด มองเห็นตัวปลา มองแล้วรู้สึกผ่อนคลาย และสบายใจ

4. เลี้ยงปลาอะไรดี

โดยหลักๆ แล้ว ปลาเสริมดวงที่นิยมกันนั้นมีอยู่ 4 ชนิด
- ปลาทอง (จิน หยู) เลี้ยงเพื่อให้เงินทองไหลมาเทมา เทคนิคการเลี้ยงคือ 9 ตัว (8 ตัวเป็นสีแดงหรือทอง 1 ตัวเป็นสีดำ)
- ปลาหมอสี เชื่อว่าจะส่งผลให้อายุยืน บังเกิดความมั่นคงมั่งคั่ง
- ปลา มังกรหรือปลาอะโรวาน่า เสริมดวงเสริมบารมี เหมาะกับนักธุรกิจหรือข้าราชการที่ต้องการเลื่อนตำแหน่ง การงานก้าวหน้า และเป็นที่น่าเกรงขาม มีบุญมีบารมี
- ปลาคาร์ป เหมาะกับผู้ที่ค้าขายช่วยให้มีผลกำไรและประสบความสำเร็จในด้านต่างๆ

เมื่อ เลือกชนิดของปลาที่จะเลี้ยงแล้ว ก็ควรเลือกปลาตัวที่มีลักษณะดีด้วย นั่นคือ ควรดูลักษณะการว่ายของปลา ไม่เลือกปลาที่ว่ายหัวทิ่ม นอกจากนี้ ควรพิจารณาสีสัน และรูปทรงของปลา ให้ดูแล้วสง่างามด้วย

5. จำนวนของปลา

คน ส่วนใหญ่คิดว่าจำนวนปลาที่เลี้ยงต้องเป็นเลขคี่ จึงเป็นมงคล เช่น 1 3 5 7 9 ถ้าเป็นเลขคู่จะไม่เป็นมงคล เช่น 2 4 6 8 10 คนเหล่านี้เห็นคำว่า “คู่” ซึ่งในภาษาจีนออกเสียงว่า “ซวง” พ้องกับคำว่า “บาด เจ็บ” ซึ่งออกเสียงว่า “ซ้ง” จึงสรุปเอาว่าไม่เป็นมงคล ที่จริงแล้วไม่ควรวินิจฉัยเช่นนั้นเพราะว่าในทางฮวงจุ้ยมีหลักการวิเคราะห์ อีกแบบหนึ่ง โดยซินแสจะใช้จำนวนปลาไปเทียบกับแผนภูมิ “ฮ้อโต้และ ลกจื้อ” ช่วยให้ได้ผลเด่นชัดดังนี้

1 ตัว เลข 1 สีดำดาวทัมลั้ง เป็นดาวมงคลนำโชค
2 ตัว เลข 2 สีดำดาวกือมิ้ง เป็นดาวอัปมงคล ทำลายโชคลาภ
3 ตัว เลข 3 สีเขียวเข้มดาวหลกชุ้ง เป็นดาวอัปมงคล ทำลายโชคลาภ
4 ตัว เลข 4 สีเขียวมรกตดาวบุ่งเคี๊ยก เป็นดาวมงคล ดาวปัญญาแล
5 ตัว เลขห้าสีเหลื่องดาวเหนี่ยมเจ็ง เป็นดาวป่วยอัปมงคล ทำลายโชคลาภ
6 ตัว เลขหกสีขาว,ทองดาวบู่เคี๊ยก เป็นดาวขุนนาง ดาวมงคลนำโชค
7 ตัว เลขเจ็ดสีขาวขุ่นดาวพั๊วคุง เป็นดาวอัปมงคล ทำลายโชคลาภ
8 ตัว เลขแปดสีครีมดาวจ้อหู เป็นดาวมงคล ช่วยนำโชคลาภ
9 ตัว เลขเก้าสีแดงดาวอิ้วเพียก เป็นดาวมงคล ช่วยนำโชคลาภ
ส่วน 10 ตัว นั้นนับเป็นห้า… 11 ตัว นับเป็นหนึ่ง… 12 ตัว นับเป็นสอง

และเมื่อกล่าวถึงจำนวนปลาเมื่อ เทียบกับแผนภูมิลกจื้อ

1 ตัว เป็น ธาตุน้ำ ช่วยเพิ่มพลังของน้ำ น้ำคือปราณนำโชคถือว่าเป็นมงคล
2 ตัว เป็น ธาตุไฟ ไฟและน้ำสองพลังคนละขั้ว ไม่ประสานกัน ถือว่าธรรมดา
3 ตัว เป็น ธาตุไม้ ทำให้พลังน้ำอ่อนลง ปราณน้ำถูกถ่ายเถ ถือว่าไม่มีกำลัง
4 ตัว เป็น ธาตุทอง ช่วยเพิ่มพลังน้ำให้มากขึ้น จึงถึงว่าเป็นมงคล
5 ตัว เป็น ธาตุดิน ดินข่มน้ำ น้ำถูกกังขังไม่เป็นมงคล
6 ตัว เป็น ธาตุน้ำ จะเพิ่มพลังน้ำ เป็นพวกเดียวกัน ถือว่าเป็นมงคล
7 ตัว เป็น ธาตุไฟ ถือว่าธรรมดา
8 ตัว เป็น ธาตุไม้ ไม่เป็นมงคล
9 ตัว เป็น ธาตุทอง ทำให้เกิดพลังหนุนน้ำ ถือว่าเป็นมงคล
10 ตัว เป็น ธาตุดิน ดินข่มน้ำไม่เป็นมงคล

อย่าง ไรก็ดี การวางฮวงจุ้ยในการเลี้ยงปลาจะให้ดี ต้องขึ้นอยู่กับเจ้าบ้านเป็นหลัก โดยควรตรวจฮวงจุ้ยกับซินแสที่มีประสบการณ์อย่างละเอียดทั้งชื่อ เพศ วันเกิด ธาตุ ราศี ตำแหน่งบ้าน ทิศทางของบ้าน อาชีพ ฯลฯ ประกอบกันเพื่อหาตำแหน่งและลักษณะการจัดวางที่ถูกต้อง..