โรคที่เกิดกับปลาสวยงาม

โรค ที่เกิดกับปลาสวยงาม และการรักษา
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์

กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/fishdec/ index.html)  กล่าวว่า  ในธุรกิจการเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาสวยงาม หรือปลาที่เลี้ยงเพื่อการบริโภค  ปัญหาหนึ่งที่ผู้เลี้ยงปลามักประสบอยู่เสมอ คือเรื่องการเกิดโรค โรคปลาที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปสามารถจำแนกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้

1.  กลุ่มพาราไซด์หรือปรสิต ได้แก่ โปรโตซัว หนอนตัวแบน พยาธิ คัสเตเชี่ยน

1.1  เห็บปลา  (Argulus / Fish Louse)
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/)  เขียนไว้ ดังนี้  เห็บปลาจะระบาดมาสู่ ปลาแฟนซีคาร์พที่เราเลี้ยงได้จากปลาใหม่ หรืออาจติดมากับพวกพืชน้ำชนิดต่างๆ หรือหากมี กบลูกอ๊อด ก็สามารถจะเป็น พาหนะนำเห็บปลามาสู่บ่อเลี้ยงได้ เห็บปลาจะมีรูปร่างวงกลม ตัวแก่มีขนาดตั้งแต่ 1-5 มิลลิเมตร มีสีน้ำตาลหรือเขียว มีปากเป็นลักษณะตะขอที่จะเจาะผนังข้างลำตัวปลา และดูดเลือดเป็นอาหาร เห็บปลาสามารถแพร่พันธุ์ในบ่อเลี้ยงปลาได้โดยการออกไข่ ประมาณ 500 ฟอง จะใช้เวลาในการฟัก ประมาณ 4 อาทิตย์ ซึ่งภายหลังการฟักแล้ว จะว่ายน้ำและเกาะตามลำตัวปลาภายนอก เป็นระยะเวลาประมาณ 6 อาทิตย์ ก่อนที่จะเป็นตัวเต็มวัย ที่ผู้เลี้ยง จะสามารถเห็นตัวได้ด้วยตาเปล่า ปลาที่ถูกเกาะนอกจากจะเกิดความรำคาญโดยอาจว่ายแฉลบไปมาเสียดสีบริเวณที่ถูก เกาะ แล้วบริเวณแผลที่ถูกกัดอาจเป็นเส้นทาง ที่แบคทีเรีย ประเภทอื่นๆ สามารถจะเข้าไประบาดสู่อวัยวะภายในตัวปลาได้
การรักษา ใช้ ดีมิลีน (Dimilin) มีลักษณะเป็นผงสีเทา ในอัตราส่วน 1 กรัม ต่อน้ำ 1 ตัน โดยเมื่อตวงปริมาณยาตามสัดส่วนแล้ว นำไปละลายน้ำ แล้วเท ณ บริเวณหัวเจ็ทพ่นเข้าสู่บ่อ Dimilin จะเป็นยาที่จะทำให้ตัวอ่อนของเห็บปลา ไม่สามารถเจริญเติบโต เป็นตัวแก่ได้ ดังนั้นจึงควรใช้ยานี้ทุกๆ 15 วัน เพื่อกำจัดตัวอ่อนให้หมดไป สำหรับเห็บตัวแก่ ผู้เลี้ยงอาจต้องใช้วิธีสังเกตจากตัวปลาแล้วแกะออกด้วยมือ ซึ่งอาจจะต้องทำการวางยาสลบต่อไปก่อนแกะออก

กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  กล่าวว่า  โรคเห็บปลา จะทำให้ปลาเกิดอาการระคายเคือง เนื่องจากพยาธิซึ่งเป็นปรสิตเซลล์ เดียวรูปร่างกลม ๆ มีแผ่นขอหนามอยู่กลางเซลล์จะเข้าไปเกาะอยู่ตามลำตัวและ เหงือก และมีการเคลื่อนทึ่ไปมาจากที่หนึ่งไปอีกที่หนื่งอยู่ตลอดเวลาทำให้ปลาเกิด เป็นแผลขนาดเล็กตามผิวตัวและเหงือก มักพบในลูกปลา ถ้าพบเป็นจำนวนมาก ก็ทำให้ปลาตายได้หมดบ่อหรือหมดตู้ ชนิดของปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้มีหลายชนิด เช่น ปลาดุก ช่อน กะพงขาว ใน ตะเพียน ทรงเครื่อง สวาย เป็นต้น ควรรีบ ทำการรักษาโรคนี้ตั้งแต่ปลาเริ่มเป็นโรคในระยะแรก ๆ จะได้ผลดีกว่าเมื่อปลา ติดโรคแบบเรื้อรังแล้ว
การปัองกันและรักษา   การป้องกันจะดีกว่าการรักษา เพราะปรสิตชนิดนี้แพร่ได้รวดเร็วและ ทำให้ปลาตายได้ในระยะเวลาอันสั้น การป้องกันทำได์โดยการตรวจปลาก่อนที่ จะนำมาเลี้ยงว่ามีปรสิตนี้ติดมาด้วยหรือไม่ ระวังการติดต่อระหว่างบ่อผ่านทาง อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ควรขังปลาไว้ประมาณ 2-3 วัน เมื่อตรวจจนแน่ใจว่าไม่มี โรคแล้วจึงค่อยปล่อยลงเลี้ยง แต่ถ้ามีปรสิตเกิดขึ้น กำจัดได้โดยการใช้ยาหรือสารเคมี คือ  ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง
1.2  ปลิงใส (Leeches)
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  กล่าวว่า  ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรุนทุราย ลอยตัวดามผิวน้ำ ผอม กระพุ้งแก้มเปิดปิดเร็วกว่าปกติ อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดกระจาย อยู่ทั่วลำตัว ถ้าเป็นการติดโรคในขั้นรุนแรงอาจมองเห็นเหมือนกับว่าปลามีขนสีขาว สั้น ๆ อยู่ตามลำตัว ซึ่งจะทำให้ปลาตายได้ ปลาเกือบทุกชนิดพบว่าเป็นโรคนี้ได้ทั้งนั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปลาดุกที่ เริ่มปล่อยลงเลี้ยงในบ่อดินใหม่ ๆ ควรระวัง โรคนี้ด้วยถ้าพบการติดเชื้อพยาธิชนิดนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นก็สามารถรักษา ให้หาย ได้ไม่ยาก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลิน จำนวน 25-40 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
2. ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์ จำนวน 0.25-0.5 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
1.3   หนอนสมอ (Lernea / Anchor Worm)
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/)  กล่าวว่า หนอนเสมอ เป็นปรสิตภายนอก ที่มีลักษณะ Y-shaped มีลำตัวยาวได้ถึง 12 มิลลิเมตร มีสีขาวหรือน้ำตาล ส่วนหัวจะมีลักษณะเหมือนสมอ ยื่นออกไป 2-4 อัน ซึ่งจะฝังแน่นในผิวหนังของปลา ส่วนคอและลำตัวจะมีลักษณะทรงกระบอกการเกาะของหนอนสมอ จะทำให้เกิดบาดแผลอันเป็นช่องทางที่ทำให้ เกิดการติดเชื้ออื่นๆ ตามมาได้
การรักษา ใช้ ดีมิลิน (Dimilin) โดยมีวิธีการใช้เช่นเดียวกับการกำจัด เห็บปลา แต่สำหรับตัวแก่ที่ฝังแน่นอยู่ที่ตัวปลา ผู้เลี้ยงต้องทำการวางยาสลบแล้วใช้ตัวคีบ (Forceps) หนีบออกมา
กมลพร ทองอุไทย และสุปราณี ชินบุตร (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/index.html)  ได้กล่าวถึงหนอนสมอว่า  เป็นพยาธิที่พบเสมอในปลาน้ำจืด หนอนสมอตัวเมียมักพบเกาะอยู่ตาม ผิวหนังของปลาโดยเฉพาะบริเวณโคนครีบ ตัวเมียที่โตเต็มวัย มีลักษณะลำตัว ยาวคล้ายหนอน ที่ส่วนหัวมีอวัยวะสำหรับยืดเกาะกับผิวหนังปลาซื่งมีรูปร่างคล้าย สมอเรือ เราจะเห็นเฉพาะส่วนลำตัวที่มีลักษณะคล้ายหนอนซึ่งตอนปลายมีถุงไข่อยู่ 1 คู่โผล่ออกมาจากผิวหนังของปลา ส่วนที่เป็นอวัยวะยืดเกาะคล้ายสมอจะแตกแขนง และแทงทะลุลงไปใต้ผิวหนังลึกถืงชั้นกล้ามเนื้อ พยาธิชนิดนี้จะดูดกินเนื้อเยื่อของ ปลาทำใหัเกิดเป็นแผลขนาดใหญ่ได้ ปลาที่มีหนอนสมอเกาะอยู่มักมีแผลตกเลือด เต็มตัว และมีอาการระคายเคือง ปลาที่เป็นโรดมักผอมลงจนผิดปกติ ถ้าเกิดโรคนี้ ในปลาขนาดเล็กอาจทำให้ปลาตายได้ ปลาที่เป็นโรคนี้มีหลายชนิด ได้แก่ ปลาแรด กะพงขาว บู่ ตะเพียนขาว ปลาคาร์ฟ ปลาซ่ง ปลาทอง ปลามิดไนท์ เป็นต้น
การป้องกันและรักษา
1. ควรย้ายปลาที่มีหนอนสมอเกาะอยู่ไปไว้ในถังอื่นประมาณ 3- 4 สัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อกันไม่ให้ตัวอ่อนของหนอนสมอที่เพิ่งออกเป็นตัวมีที่ยืดเกาะก็จะ ทำให้มัน ตายไปเองไค้
2. แช่ปลาที่มีพยาธิในสารละลายดิพเทอเร็กซ์ ในอัตราส่วน 0.5 กรัม ต่อนำ 1,000 ลิตร แช่นานประมาณ 24 ชั่วโมง แล้วเปลื่ยนน้ำ เว้นระยะไป 5-7 วัน จึงทำการแช่ยาซ้ำอีก 2-3 ครั้ง
3. การกำจัดหนอนสมอในบ่อทื่ใม่มีปลาอยู่แลัว สามารถกำจัดให้หมด ไปได้โดยการละลายดิพเทอเร็กซ์ 2 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แล้วสาดลงไปในบ่อ ให้ทั่วทิ้งไว้ 1-2 อาทิตย์ แลัวจึงนำปลากลับมาเลื้ยงตามเดิมได้
1.4   อิ๊ก
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/)  อธิบายว่า  อิ๊ก (Ich)  เป็นโปรโตซัวที่ก่อให้เกิดโรคจุดขาว (White spot) จะเกาะบริเวณผิวหนังหรือภายในเหงือกเป็นจุดขาว ๆ โดยจะเป็นอันตรายต่อปลาขนาดเล็ก ทำให้ตายได้อย่างรวดเร็ว Ich สามารถแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสำหรับอุณหภูมิในบ้านเรา
การรักษา ให้นำปลาแฟนซีคาร์พมาแช่ในน้ำเกลือความเข้มข้น 0.3-0.6% นานประมาณ10 วัน หรืออาจใช้ มาลาไคท์กรีนเจือจางในน้ำให้มีความเข้มข้น 1-2 ppm แช่ปลานานประมาณ 1 ชั่วโมง ทุกวัน จนกว่าปลาจะหาย
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  ได้กล่าวถึง  ปลาที่เป็นโรคจุดขาวว่า  จะมีจุดสีขาวขุ่น ขนาดเท่าหัวเข็มหมุดเล็ก ๆ กระจาย อยู่ทั่วลำตัวและครีบ สาเหตุของโรคนี้คือโปรโตซัว ชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็น อาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลา และ สร้างเกราะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากภายในเกราะ นั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสมเกราะหุ้มตัวจะแตกออกและตัวอ่อนของพยาธิจะ ว่ายน้ำเข้าเกาะตามผิวหนังของปลาต่อไป พบโรคนี้กับปลาหลายชนิด เช่น ปลาสวาย ปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาหมู ปลาทรงเครื่อง ฯลฯ
การป้องกันและรักษา ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่ แต่วิธีการที่ควร ทำคือการทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้สารเคมี ดังต่อไปนี้
1)  ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง สำหรับ ปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง
2)  หรือมาลาไค้ทกรีน 1.0-1.25 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1/2 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 0.15 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง หรือ เมททิลีนบลู 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3)  หรือมาลาไค้ทกรีน และฟอร์มาลินในอัตราส่วน 0.15 กรัม และ 25 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยน น้ำใหม่ทุกวันและทำการแช่ยาวันเว้นวัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น วิธีนี้จะให้ ผลดีมากโดยเฉพาะเมื่อน้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28-30 องศาเซลเซียส
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปรสิตชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว ดังนั้นวิธีการป้องกันเป็นวิธีที่ดื่ที่สุด เพื่อไม่ให้ปลาที่นำมาเลี้ยงติดเชื้อมาด้วย ควรดำเนินการดังนี้
1)   ก่อนที่จะนำปลามาเลี้ยง ควรนำมาขังไว้ในที่กักกันก่อน ประมาณ 7-10 วัน เพื่อตรวจดูว่ามีเชื้อพยาธิติดมาหรือเปล่า เมื่อแน่ใจว่าไม่เป็นโรดแล้วจึง นำไปเลี้ยงต่อ
2)  ป้องกันการลุกลามของโรคนี้โดยวิธีง่าย ๆ คือเมื่อปลาเป็นโรคควร ย้ายปลาออกจากตู้แล้วนำไปรักษาในทื่อื่น ใส่ฟอร์มาลิน 100-150 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร ลงในตู้เดิมเพื่อกำจัดปรสิตให้หมด แลัวจึงถ่ายน้ำทิ้งไป

2.  โรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/) ได้กล่าวถึง โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียว่า มีสาเหตุต่างจาก
1)  Aeromonas salmonicida  เป็นต้นเหตุของการเกิดโรค ฟูรังคูโลซิส มักจะเกิดแก่ปลาที่อยู่ในน้ำที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้ปลามีความต้านทานต่อเชื้อโรคน้อย เมื่อปลาได้รับเชื้อจะเกิดแผลที่ผิวหนังภายนอก หรืออาจเกิดแผลภายในระบบทางเดินอาหาร ปลามีอาการเซื่องซึมเชื่องช้า ไม่กินอาหาร สีผิวตามลำตัวเข้มขึ้น มีอาการตกเลือดตามลำตัว โคนคีบ และภายในร่างกาย โรคนี้สามารถแพร่จากปลาที่เป็นโรคไปสู่ปลาตัวอื่นได้
การรักษาโรค ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ Oxytetracycline โดยผสมในอาหาร 3-5 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมหรือตามคำแนะนำในฉลากบรรจุ เป็นระยะเวลา 5-7 วัน
2)  Aeromonas hydrophila ปลาที่ได้รับเชื้อประเภทนี้ จะมีอาการคั่งของของเหลว ภายในช่องท้อง จนเกิดอาการบวม ตาโปน ผิวหนังมีสีเข้มขึ้น มีเกล็ดตั้งขึ้นหรือที่เรียกว่า Dropsy เนื่องจากไตไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ โดยไม่สามารถขับน้ำออกสู่ภายนอกได้ ปลาบางตัวเมื่อได้รับเชื้ออาจเกิดแผลฝีลึก แหว่งเป็นรูได้
การรักษา กระทำเช่นเดียวกับ การติดเชื้อ Aeromonas salmonicida และผู้เลี้ยงต้องรักษาคุณภาพน้ำให้สะอาด
3)  Pseudomonas fluorescens และ Pseudomonas anguilliseptica เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในปลาโดยมีอาการ เช่นเดียวกับ Aeromonas hydrophila ไม่ว่าจะเป็นโรคเกล็ดตั้ง หรือเกล็ดพอง และ โรคแผลฝีลึก เป็นรูแหว่ง (Ulcer Disease)
การรักษาโรค มีวิธีการเช่นเดียวกับ Aeromonas salmonicida
2.1   โรคแผลตามลำตัว
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  เป็นโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ในระยะเริ่มแรกจะทำให้ปลาที่มีเกล็ด เกล็ดหลุดออก ส่วนบริเวณรอบ ๆ เกล็ดที่หลุดออกนั้นจะตั้งขึ้น ถ้าเป็นปลาไม่มีเกล็ด บริเวณนั้นจะบวมขึ้นเละมีสีแดง ต่อมาผิวหนังจะเริ่มเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจนเห็น กล้ามเนื้อ โดยแผลที่เกิดจะกระจายทั่วตัวและเป็นสาเหตุให้ปลาติดโรคเชื้อราต่อ ไปได้ ปลาสวยงามทุกชนิดพบว่าเป็นโรคนี้
การป้องกันและรักษา โรคนี้รักษาได้ยากมาก ในกรณีปลาตู้ควรแยกปลาที่เป็นโรคออกจากตู้ให้หมด
1)  ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนโตรฟูราโชน ในอัตราส่วน 1 -2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2)  แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าชัยคลีน หรือเตตร้าชัยคลีน ในอัตราส่วน 10- 20 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3 -4 ครั้ง
3)  ถ้าเป็นปลาที่เลี้ยงในบ่อ และเริ่มมีอาการของโรค อาจผสม ยา ปฏิชีวนะ เหมือนดังกล่าวข้างต้นกับอาหาร ในอัตราส่วน 60- 70 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ให้นานติดต่อกัน 3-5 วัน
4)  การฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงอาจทำได้โดยใช้ปูนขาว ในอัตรา 50-60 กิโลกรัม/ไร่
2.2  โรควัณโรคปลา
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html )  กล่าวว่า  เป็นโรคที่พบเสมอโดย เฉพาะกับปลาที่กินเนื้อเป็นอาหารทั้งที่เลี้ยงในตู้กระจก และในบ่อซึ่งได้แก่ ปลากัด เทวดา ออสก้า ปอมปาดัวร์ และช่อนสาเหตุ ของโรคนี้มาจากเชื้อแบคทีเรีย ปลาบางชนิดอาจจะไม่แสดงอาการภายนอกให้เห็น แต่บางชนิดก็จะแสดงอาการต่าง ๆ ต่อไปนี้  น้ำหนักลดลง ไม่กินอาหาร สีซีดลง เกล็ดหลุด ผิวหนังเป็นแผล ครีบเปื่อย ขากรรไกรหรือกระดูกสันหลังบิดเบี้ยวหรือผิดรูปไป ตาโปนหรือตาอาจจะหลุดออกมาได้ ว่ายน้ำโดยหงายขึ้น บางทีก็ไปนอนอยู่ตามพื้น ตัวบิด หรือว่ายน้ำเปะปะโดยไม่มีทิศทางที่แน่นอน เกิดจุดขาวตามอวัยวะภายใน
การป้องกันและรักษา   การรักษาโรคนี้ยังไม่มีวิธีที่ได้ผลแน่นอน สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดการระบาด ของโรคคือ
1)  ควรแยกปลาที่เป็นโรคนี้ออก และทำลายให้หมดแล้วฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยง โดยการตากบ่อให้แห้ง   และสาดสารละลายด่างทับทิม (1 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร) ให้ทั่วบ่อ
2)  สำหรับการป้องกันวัณโรคนั้น ต้องพยายามอย่า เลี้ยงปลาแน่นเกินไป ไม่ว่าจะเป็นลูกปลาหรือ ปลาใ หญ่ และจะต้องรักษาบ่อเลี้ยงให้สะอาดอยู่เสมอ
3)  โรคนี้อาจทำให้เกิดโรควัณโรคที่ผิวหนังของคนได้ จึงควรหลีกเลี่ยง การสัมผัสปลาที่เป็นโรคโดยตรง

3.   โรคจากเชื้อรา

กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  กล่าวว่า  โรคที่เกิดจากเชื้อรามักจะเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ หลังจากที่ปลา เกิดเป็นแผลแบบเรื้อรังแล้วมักพบเชื้อราเข้ามาร่วมทำให้แผลลุกลามไป โดยจะเห็น บริเวณแผลมีเชื้อราเกิดเป็นปุยขาวๆ ปนเทาคล้ายสำลีปกคลุมอยู่ ในการเพาะปลา ถ้าหากมีไข่เสียมากก็จะพบราเข้าเกาะกินไข่เสียเหล่านั้นก่อน และลุกลามไปทำลาย ไข่ดีต่อไป ถ้าหากไม่ได้ทำการรักษาอย่างทันท่วงที
การป้องกันและรักษา
1.  สำหรับปลาป่วยในโรงเพาะฟัก  ใช้มาลาไคร์ทกรีน จำนวน 0.1- 0.15 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
2.  กรณีของปลาป่วย ในบ่อดินมักพบต้นเหตุที่ทำให้ปลาป่วยเป็นเชื้อรา เนื่องมาจากคุณภาพของน้ำในบ่อไม่ดี ให้ปรับด้วยปูนขาวในอัตรา 60 กิโลกรัม/ไร่
ชมรมคนรักปลาคาร์พ  (ม.ป.ป. : http://www.fancycarp.com/) ได้กล่าวถึงโรคที่เกิดจากเชื้อรา ไว้ดังนี้  Branchiomyces sanquinis เป็นเชื้อรา ที่ตรงเข้าทำลายเหงือกปลาโดยตรง มักจะมีการระบาดในบ่อเลี้ยงที่มีสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม คุณภาพน้ำต่ำ มีปริมาณอินทรีย์สารและอุณหภูมิสูง เชื้อราประเภทนี้จะทำให้เหงือกปลากร่อนได้ ปลาจะขาดอากาศเนื่องจากเหงือกถูกทำลาย เกิดการตกเลือดในเหงือก
การรักษาโรค กระทำโดยแช่ปลาในยา มาลาไคท์กรีน เข้มข้น 0.3 PPM หรือ 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตร นาน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ ผู้เลี้ยงต้องรักษาคุณภาพน้ำให้ได้มาตรฐาน ไม่ให้มีอินทรีย์สารภายในบ่อเลี้ยงมากเกินไป โดยการถ่ายน้ำอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมจำนวนปลาเลี้ยง และให้อาหารที่สมดุลยกับปริมาณปลาในบ่อ อีกทั้งต้องตรวจสอบประสิทธิภาพของบ่อกรองให้ทำงานได้ดีอยู่เสมอ

4.   โรคติดเชื้อจากไวรัส

4.1  โรคฝีเม็ดใหญ่
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  ได้กล่าวถึง โรคฝีเม็ดใหญ่ว่า เป็นโรคที่พบเสมอในพวกปลาตระกูลคาร์ฟที่เลี้ยงในบ่อ  สาเหตุเชื่อกันว่า เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะของโรคนี้คือจะเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาวขุ่นคล้ายฝีใน ระยะแรก ต่อมาตุ่มนี้จะขยายใหญ่ขึ้นจนรวมกับตุ่มอื่นเป็นตุ่มขนาดใหญ่พบได้ทั่วตัว ตุ่มนี้จะโปนออกเหนือผิวหนังอย่างเห็นได้ชัด แต่โดยทั่วไปการเกิดโรคนี้ไม่ทำให้ ปลาได้รับอันตรายถึงตาย และอัตราการระบาดของโรคต่ำ
การป้องกันและะรักษา โรคนี้อาจรักษาได้ง่ายโดยการดูแลเลี้ยงปลาให้อยู่ภายใต้สภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม เช่น อยู่ในอุณหภูมิไม่สูงเกินไป น้ำสะอาดและมีปริมาณออกซิเจน อย่างเพียงพอ ถ้าเลี้ยงไว้ในบริเวณที่มีน้ำไหลจะช่วยให้ปลาหายโรคได้เร็วขึ้น

4.2   หูดปลาหรือโรคแสนปม
กมลพร ทองอุไทย และ สุปราณี ชินบุตร  (2539 : http://web.ku.ac.th/agri/ fishdec/ index.html)  อธิบายว่า หูดปลาเป็นโรคที่พบเสมอในปลาทะเลเกิดจากเชื้อไวรัส โรคนี้อาจพบได้บ้าง ในปลาน้ำจืดบางชนิด อาการของโรคนี้คือเกิดเป็นตุ่มสีขาวคล้ายหูดมีขนาดต่าง ๆ กัน มักจะพบตามบริเวณหลังและครีบหลังของปล ตุ่มเหล่านี้มักอยู่รวมกันเป็นกระจุก ปลาที่พบว่าเป็นโรคนี้ได้แก่ ปลากะพงขาว ตะกรับ
การป้องกันและะรักษา โรคนี้เมื่อเป็นมากแล้วไม่อาจรักษาให้หายได้ ดังนั้นจึงควรแยกปลาที่ เป็นโรคออกให้หมดและทำลายเสีย ส่วนปลาที่ไม่เป็นโรคก็ควรจะย้ายไปไว้ใน บ่อใหม่และกักไว้ประมาณ 2 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าเชื้อโรคนั้นหมดไปแล้ว ส่วน บ่อปลาที่เกิดโรคนี้ระบาดต้องมีการถ่ายน้ำออกให้หมดพร้อมทั้งทำการฆ่าเชื้อ ด้วยปูนขาว หรือสารละลายด่างทับทิม

4.3   KHV Koi Herpes Virus
นันทริกา ซันซื่อ  (2548? : http://www.fancycarp.com/koidoctor/khv/index.html)  ปัจจุบันโรคที่ทำให้เกิดความเสียหายในการเลี้ยงและส่งออกปลาคาร์พของประเทศ ญี่ปุ่นมากที่สุดคือ Koi Herpes Virus (KHV)
โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส Herpes เป็นชนิดของ DNA virus ที่ทำให้เกิดโรคกับปลาได้มากที่สุดโรคแผลพุพองที่เกิดกับปลาคาร์พ (Carp Pox) ที่เป็นสาเหตุให้เกิดก้อนเนื้อใส ๆ ไม่น่าดูในอากาศที่เย็นขึ้น มีชื่อว่า Cyprinid Herpes Virus (CHV) ไม่ควรสับสนกับ KHV ชื่อของ KHV ไม่ได้ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย และผู้ที่เชื่อว่าโรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส Herpes ชอบที่จะใช้ KV เรียกแทนมากกว่า  เชื้อจะสามารถก่อโรคที่อุณหภูมิต่ำได้ดีกว่าที่อุณหภูมิสูง (ไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดระยะห่างระหว่าง exposure กับ onset โดยที่อุณหภูมิต่ำทำให้เชื้อไวรัส Herpes virus ดำรงชีวิตได้ยาวขึ้น โรคมักเกิดที่อุณหภูมิระหว่าง 18 – 28 องศาเซลเซียส
การรักษา   ไม่มีทางรักษาโรคนี้ได้โดยตรงเนื่องจากเป็นเชื้อไวรัส มีเพียงการรักษาภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆที่อาจจะเกิดขึ้น เช่น การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อปรสิต ยาดังกล่าวได้แก่
-   คลอรามีนที (Chloramin T) หรืออาจจะใช้ด่างทับทิม ในการรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่เหงือก ในอัตรา 2 ppm (ส่วนในล้านส่วน) หากใช้เกินขนาด จะกลายเป็นพิษต่อปลา เพื่อควบคุมเชื้อราและปรสิต มีรายงานว่า คลอรามีนที และ ด่างทับทิม จะช่วยลดจำนวนของเชื้อไวรัสที่มีอยู่ในน้ำบ้าง
-   ยาปฏิชีวนะ สำหรับรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียภายใน
-   เกลือ ช่วยลดภาวะบวมน้ำ
-   วิตามินซี ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโร
———————————————————————————————————————-
ทรงศักดิ์ วงศ์กาฬสินธุ์  (2551) “โรคที่เกิดกับปลาสวยงามและการรักษา”  เรื่อง การผลิตและ
การตลาดปลาสวยงาม ของ เกษตรกร ผู้ทำการค้าใน เขตจตุจักร วิทยานิพนธ์
ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิขาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริม
การเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Comments are closed.